ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nomedizas (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: File:Raw egg.jpg|thumb|ศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุลศึกษาว่าอุณหภูมิ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:44, 17 พฤษภาคม 2563

ศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุล (อังกฤษ: molecular gastronomy) เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การอาหารที่มุ่งค้นคว้าวิจัยการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์และทางเคมีของส่วนผสมที่เกิดขึ้นระหว่างการทำอาหาร แผนงานของศาสตร์นี้ประกอบไปด้วยสามด้านเนื่องจากการทำอาหารได้รับการยอมรับว่ามีองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ สังคม ศิลปะ และเทคนิค[4] อาหารเชิงโมเลกุลเป็นรูปแบบการทำอาหารสมัยใหม่อย่างหนึ่ง และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคนิคมากมายจากวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ

ศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุลศึกษาว่าอุณหภูมิในการปรุงอาหารมีผลต่อไข่[1][2] ความหนืด และความตึงผิวของมันอย่างไร และยังศึกษาวิธีการต่าง ๆ ในการเติมอากาศเข้าไป[3]
การขึ้นรูปน้ำผลไม้และของเหลวอื่น ๆ ให้เป็นทรงกลม คือเทคนิคอย่างหนึ่งของศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุล

ศัพท์ [Molecular and Physical Gastronomy] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ("ศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุลและเชิงฟิสิกส์") ได้รับการบัญญัติขึ้นใน พ.ศ. 2531 โดยนิโคลัส เคอร์ตี นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และแอร์เว ติส นักเคมีจากสถาบันวิจัยการเกษตรแห่งชาติฝรั่งเศส[5] ศัพท์นี้แต่เดิมบัญญัติขึ้นเพื่อใช้หมายถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของการทำอาหารเท่านั้น[6] แต่ต่อมาหลายคนได้นำไปใช้เรียกวิธีการปรุงอาหารหรืออธิบายรูปแบบของอาหารโดยตรง อย่างไรก็ตาม หัวหน้าคนครัวบางคนที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์นี้ก็ปฏิเสธการใช้ศัพท์ดังกล่าว[7] เช่น ฟาร์รัน อาดริอา หัวหน้าคนครัวชาวกาตาลา ไม่ชอบศัพท์ [molecular gastronomy] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)[8] และพอใจที่จะใช้ศัพท์ [deconstructivist] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ("แยกส่วนแล้วประกอบขึ้นใหม่") เพื่ออธิบายรูปแบบการทำอาหารของเขามากกว่า[8]

อ้างอิง

  1. Gadsby, Patricia (2006-02-20). "Cooking For Eggheads". Discover Magazine. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  2. "Eggs". Khymos.org. 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  3. Kuh, Patric (January 1, 2005). "Proving It: Taking kitchen science to a whole new (molecular) level, Hervé This is changing the way France—and the world—cooks". gourmet.com.
  4. This, Hervé (November 2006), "Food for tomorrow? How the scientific discipline of molecular gastronomy could change the way we eat", EMBO Reports, 7 (11): 1062–6, doi:10.1038/sj.embor.7400850, PMC 1679779, PMID 17077859
  5. "Harold McGee, Curious Cook: Modern Cooking, Science, and the Erice Workshops on Molecular and Physical Gastronomy". Curiouscook.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  6. "Food Technology Magazine Article by Herve This 12/2008" (PDF). Members.ift.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  7. Heston Blumenthal (2006-12-10). "Statement on the New Cookery - Guardian Observer". London: Observer.guardian.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  8. 8.0 8.1 Toomey, Christine (28 March 2010). "What Ferran Adrià is cooking up after El Bulli". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.