ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การทับศัพท์ชื่อภาษาญี่ปุ่นกรณีคำประสม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
 
::{{ความเห็น}} ยากเหมือนกันนะครับ อันนี้คงต้องสืบหาตัวอย่างการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับสถานที่จากราชบัณฑิตฉบับใหม่ (อาจมีตัวอย่างแสดงในวันข้างหน้า กรณีปรับปรุงใหม่ หรือในฉบับล่าสุดหากมี) และอีกทางเลือกหนึ่ง ผมเสนอให้อาจารย์ทวีธรรม (อดีตผู้ดูแลระบบ) มาร่วมพิจารณา เพราะเขาพอที่จะคุ้นเคยกับวิถีชาวญี่ปุ่นพอประมาณ (แต่ระยะหลัง นาน ๆ เขาจะเข้ามาครับ) --[[ผู้ใช้:B20180|B20180]] ([[คุยกับผู้ใช้:B20180|คุย]]) 01:05, 21 มกราคม 2563 (+07)
 
::ที่ผู้เปิดประเด็นอ้างว่า "ทั้งที่จริงออกเสียงเป็น" "-ะ" "โ-ะ" ฯลฯ นั้น ตามหลักเกณฑ์ พ.ศ. 2561 ก็บอกอยู่แล้วในข้อ 4. ว่า "เสียงสั้นในภาษาญี่ปุ่นโดยปรกติไม่ปิดเส้นเสียง [ʔ] ข้างท้าย" ดังนั้นจึงต่างจากเสียงสั้นในภาษาไทยที่มีปิดเส้นเสียงข้างท้าย เช่น ก<u>'''ะ'''</u> /k'''àʔ'''/ แม้ว่าจะใช้รูปสระสั้นจากชุดอักษรไทยในการถอดเสียงก็ไม่ตรงกับเสียงสระสั้นในภาษาญี่ปุ่นอยู่ดี เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์จึงไม่คำนึงถึงความสั้น-ยาวของเสียงสระในภาษาญี่ปุ่น และไม่ได้คำนึงถึงว่ามาจากคำประสมหรือไม่ ดูได้จากข้อ 14. ที่ทับศัพท์ Arakawa ว่า อารากาวะ ไม่ใช่ อาระคาวะ หรือ Kinkakuji ที่ทับศัพท์ว่า คิงกากูจิ ไม่ใช่ คิงกากุจิ ถ้าต้องการแสดงว่าพยางค์ไหนเป็นเสียงสระสั้นในภาษาญี่ปุ่น ก็ควรย้อนกลับไปใช้หลักเกณฑ์ พ.ศ. 2535 ทั้งหมดเสียเลย จะได้ไม่ต้องมาอ้างว่า "บางจุดมันก็พอจะถูไถด้วยเกณฑ์ของราชบัณฑิตได้ แต่บางจุดมันก็ไม่ได้เด็ดขาด" ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นขึ้นอยู่กับความรู้สึกของปัจเจกบุคคล แทนที่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่ง --[[ผู้ใช้:Potapt|Potapt]] ([[คุยกับผู้ใช้:Potapt|คุย]]) 04:20, 21 มกราคม 2563 (+07)