ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสามเสน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎การก่อสร้างถนน: ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
บรรทัด 11:
โดยชื่อ "สามเสน" นั้น ยังไม่ทราบถึงความหมายและที่มาที่ไปแน่ชัด มีตำนานเล่าว่า [[หลวงพ่อโต (บางพลี)|หลวงพ่อโต]] พระพุทธรูปมาจาก[[วัดบางพลีใหญ่ใน]] (ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ) ได้ลอยน้ำลงมาจากทางเหนือ มาปรากฏอยู่แถบนี้ ผู้คนได้มาช่วยกันฉุดลากขึ้นจากน้ำ แต่ก็ไม่ขึ้น เพราะเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 3 คืบ จนมีคนผู้มาช่วยกันถึงสามแสนคนก็ยังไม่สำเร็จ แต่ผลุบจมหายไป เลยเรียกตำบลนั้นว่า "สามแสน" ต่อมาก็เพี้ยนเป็น "สามเสน" ซึ่งสามเสนก็ยังปรากฏอยู่ใน[[นิราศพระบาท]]ของ[[สุนทรภู่]] เมื่อปลายปี พ.ศ. 2350 ด้วย<ref name=พิ>{{cite web|url=https://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075929|title=เหตุที่มี “บ้านเขมร” และ “บ้านญวน” อยู่ที่ทุ่งสามเสน! ก่อนจะถูกบุกเบิกเป็นย่านสร้างวังจนเต็มทุ่ง!!|first=โรม|last=บุนนาค|date=2017-07-26|accessdate=2018-02-17|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]}}</ref>
 
แต่จากหลักฐานแผนที่ในจดหมายเหตุหมอแกมป์เฟอร์ (เอนเยลเบิร์ต[[เอ็งเงิลแบร์ท แกมป์เฟอร์เค็มพ์เฟอร์]]) นายแพทย์ชาวเยอรมันที่ได้เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 2233 ได้ระบุตำแหน่งที่ชื่อว่า Ban Samsel ซึ่งชื่อดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับคำว่า "บ้านสามเสน" อีกทั้งตำแหน่ง Ban Samsel ก็ตั้งอยู่ระหว่างป้อมที่บางกอก (ฝั่งธนบุรี) กับตลาดแก้ว ตลาดขวัญ (จังหวัดนนทบุรี)
 
มีการสันนิษฐานไปต่าง ๆ นานา เช่น คำว่า "เสน" เป็น[[ภาษาบาลี]]หมายถึง โคตรวงศ์, เหล่า แต่เดิมบริเวณพื้นที่แถบนี้น่าจะมีชาวอินเดียที่ชื่อว่า "สาม" อาศัยอยู่ หรืออธิบายว่า โบสถ์ทอมาสเดอะเซนต์ ที่เคยอยู่แถบนี้ ซึ่งสร้างขึ้นโดย นายทอมาส นับถือกันว่าเป็นนักบุญ หรือ[[เซนต์]] จึงมีคำว่า เซนต์ ต่อท้ายนาม แต่คนทั่วไปมักเรียกว่า "ทามเสน" ต่อมาจึงกลายเป็น "สามเสน" หรือมีนักภาษาศาสตร์เสนอไว้ว่า น่ามาจะจาก[[ภาษามลายู]]ว่า "สุไหงซัมซัม" (Su–ngai Samsam) หมายถึง "คลองชาวมุสลิม" หรืออาจจะมาจากคำว่า "สุไหงซามซิง" (Su–ngai Samsing) หมายถึง "คลองคนดุร้าย" เป็นต้น<ref>{{cite web|url=https://www.facebook.com/DamrongJournal/photos/a.795332103839866.1073741835.605432619496483/799694556736954/?type=1&theater|title=สามเสนเรียกกันมาแต่สมัยอยุธยา|work=วารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|date=2014-07-24|accessdate=2018-02-17}}</ref>