ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณกรรมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus ย้ายหน้า วรรณคดีไทย ไปยัง วรรณกรรมไทย
เพิ่มเติมรายละเอียด ตัวอย่าง ความรู้เพิ่มเติม และความหมายที่ถูกต้อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
วรรณคดี'''วรรณกรรมไทย''' คือ วรรณกรรมทุกประเภทไม่ว่าในลักษณะร้อยแก้วงานเขียนที่เกิดจาก หรือภาษา ความคิด จินตนาการ และสภาพสังคม สื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองที่ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาไทย โดยมีเอกลักษณ์ของการใช้ภาษาแบบไทย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์สร้างสรรค์วรรณคดี และเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ลักษณะวรรณคดีของชาติในแต่ละยุคแตกต่างกัน วรรณคดีไทยที่ปรากฎขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 มีลักษณะที่สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตอนที่ชาวไทย หรือชาวสยาม ได้เริ่มพัฒนาภาษาของตนขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากภาษาของชนที่พูด[[ตระกูลภาษาไท-กะได|ภาษาไท-กะได]]เผ่าอื่น โดยเริ่มมีหลักฐานปรากฎชัดราวสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเริ่มการปกครองโดยกษัตริย์[[ราชวงศ์พระร่วง]] คนไทยกำลังแสวงหาลักษณะเฉพาะของชาติ วรรณคดีสุโขทัยก็ได้สะท้อนความจริงนี้ และได้บันทึกถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นต้นเค้าของลักษณะไทย เช่น การบันทึกในศิลาจารึกเรื่องการประดิษฐ์ตัว[[อักษรไทย]] โดยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่สาม เมื่อ พ.ศ. 1826 การประกาศใช้กฎหมายมรดก กฎหมายการค้าระเบียบและสิทธิการฟ้องร้องคดีศาล การนำพุทธศาสนามาอบรมปลูกฝัง เพื่อให้เป็นศาสนาประจำชาติ การประพฤติธรรมอย่างเคร่งครัดอันเป็นต้นเค้าของประเพณีต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ดังนี้เป็นต้น
 
เมื่อชาติไทยมีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างดีแล้ว ลักษณะของวรรณคดีไทยก็เปลี่ยนจากรูปแบบการบันทึกและจากวรรณคดีศาสนา เป็นวรรณคดีสะเทือนอารมณ์ พร้อมด้วยศิลปะการแต่งที่ประณีตลึกซึ้งขึ้น และเมื่อคนไทยติดต่อกับชนชาติยุโรป ก็สามารถรับความคิดทางวรรณคดีของยุโรปได้โดยคงลักษณะความเป็นไทยไว้เป็นอย่างดี
 
'''ความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมและวรรณคดี'''
 
วรรณกรรม คือ งานเขียน งานหนังสือ บทประพันธ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ เหล่านี้ล้วนเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น
 
วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่า มีกลวิธีการแต่งที่ดี มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ เช่น [[เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน]] [[พระอภัยมณี]] เป็นต้น
 
'''การแบ่งยุควรรณกรรม'''
 
วรรณคดีไทยมีประวัติยาวนานนับได้ตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น ซึ่งมีอยู่ในรูปแบบแห่งวรรณกรรม[[มุขปาฐะ]] (คือวรรณกรรมที่เล่าสืบต่อกันมา) และวรรณกรรมลายลักษณ์ (คือวรรณกรรมที่เขียนไว้เป็นตัวอักษร) ในที่นี้สมควรกล่าวถึงเฉพาะวรรณกรรมลายลักษณ์ ที่นักวรรณคดีไทยยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นของไทยแท้ ๆ โดยแบ่งได้เป็น 5 สมัย ดังนี้
เส้น 16 ⟶ 24:
วรรณคดีสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1920) สร้างขึ้นในระหว่างสมัยที่มี[[กรุงสุโขทัย]]เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศ ตั้งขึ้นราว พ.ศ. 1781 โดยนับจากปีครองราชย์ของ[[พ่อขุนศรีอินทราทิตย์]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์พระร่วง]] จนถึง พ.ศ. 1920 อันเป็นปีที่กรุงสุโขทัยเสียอิสรภาพแก่[[กรุงศรีอยุธยา]] ในระยะที่คนไทยเริ่มตั้งตัวใหม่นี้ ได้เกิดวรรณกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทั้งทางความมั่นคงด้านการเมืองและด้านจิตใจ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในทุกด้าน ได้ทรงศึกษาวิชาการทางอักษรศาสตร์ ศาสนา และรัฐศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และศิลาจาริกหลักอื่น ๆ ซึ่งเล่าเรื่องราวการดำเนินชีวิตและกฎหมายของสังคม อันมีลักษณะเป็นสังคมเกษตร ประชาชนมีชีวิตอยู่ร่วมกันในฐานะเครือญาติ
 
วรรณคดีสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ [[ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] ศิลาจารึกวัดศรีชุม ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง สุภาษิตพระร่วง และ[[ไตรภูมิกถา]] [[เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์|ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์]] เป็นต้น
 
[[ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง]] นับได้ถือว่า เป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของประเทศไทยที่ตกมาถึงมือคนไทยในสมัยปัจจุบัน เป็นศิลาจารึกที่เขียนด้วยอักษรไทยพ่อขุนราม เขียนเป็นภาษาไทย คงแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1826 - 1917 มีเนื้อความกล่าวถึงชีวประวัติของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ชีวิตคนไทย กฎหมาย ศาสนา และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง
 
[[ไตรภูมิพระร่วง]] เป็นวรรณคดีที่ดีที่สุดในประวัติวรรณคดีไทยยุคสุโขทัย แต่งเมื่อ พ.ศ. 1888 โดย[[พระมหาธรรมราชาที่ 1|พญาลิไทย]] กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย เป็นวรรณกรรม[[ปรัชญา]] แห่งศาสนาพุทธ ซึ่งเขียนขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยอาศัยเอกสารอ้างอิงเป็นจำนวนมากในการนิพนธ์ขึ้น (เป็นคัมภีร์ต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 30 คัมภีร์) นับเป็นวิทยานิพนธ์ชิ้นแรกของไทย เขียนเป็นความเรียงด้วยถ้อยคำภาษาที่ประณีตงดงามด้วยลีลาการพรรณนาและเปรียบเทียบและการใช้ภาพพจน์ มีเนื้อความกล่าวถึง [[จักรวาลวิทยา]] [[ปรัชญา]] [[จริยศาสตร์]] [[ชีววิทยา]] และความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นแจ้งถึงวิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยที่แรกเริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน และวิถีชีวิตดังกล่าวได้เป็นรากฐานสืบทอดลักษณะไทยต่อมาจนถึงปัจจุบัน