ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมก๊กออ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6784351 สร้างโดย 49.48.242.178 (พูดคุย)
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:พระมเหสี-เจ้าจอมในพระพุทธเจ้าหลวง.jpg|thumb|250px|'''แถวบน''' : เจ้าจอมแก้ว เจ้าจอมเอื้อน เจ้าจอมเอี่ยม <br> '''แถวล่าง''' : เจ้าจอมแส พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมมารดาอ่อน พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา]]
'''เจ้าจอมก๊กออ''' หรือ '''เจ้าจอมพงศ์ออ'''<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 200</ref> เป็นชื่อที่ใช้เรียกพระสนมเอกทั้งห้าใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่มีนามขึ้นต้นด้วยอักษร อ. อ่าง อันได้แก่ [[เจ้าจอมมารดาอ่อน]], [[เจ้าจอมเอี่ยม]], [[เจ้าจอมเอิบ]], [[เจ้าจอมอาบ]] และ[[เจ้าจอมเอื้อน]] ซึ่งทั้งหมดเป็นสตรีจากสายราชินิกุลบุนนาค<ref name="ออ">{{cite web |url=http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152551|title=สี่แผ่นดิน - อิฉันรักพระเจ้าแผ่นดิน|author=|date=30 พฤศจิกายน 2554|work= |publisher=ASTVผู้จัดการออนไลน์|accessdate=1 เมษายน 2557}}</ref> เป็นบุตรีของ[[เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)]] กับท่านผู้หญิงอู่ ภริยาเอก
 
== พื้นเพ ==
บรรทัด 14:
== ถวายตัวเป็นฝ่ายใน ==
[[ไฟล์:รัชกาลที่5-เอิบ-เอี่ยม-เอื้อน.jpg|thumb|left|200px|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉายกับเจ้าจอมอาบ, เจ้าจอมเอี่ยม และเจ้าจอมเอื้อน]]
แรกเริ่มมีเจ้าจอมมารดาอ่อน และเจ้าจอมเอี่ยมเริ่มเข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2428-9 ตามมาด้วยเจ้าจอมเอิบในปี พ.ศ. 2429, เจ้าจอมอาบในปี พ.ศ. 2434 และเจ้าจอมเอื้อนในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งเจ้าจอมท่านสุดท้ายนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขอเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และท่านผู้หญิงอู่เพื่อให้มีจำนวนครบห้าคน นอกจากเจ้าจอมก๊กออทั้งห้าแล้ว ยังมีน้องสาวต่างมารดาที่เข้ารับราชการฝ่ายในคือ [[เจ้าจอมแก้ว ในรัชกาลที่ 5|เจ้าจอมแก้ว]] (เกิดแต่หม่อมพวง) และ[[เจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ 5|เจ้าจอมแส]] (เกิดแต่หม่อมทรัพย์)<ref name="อู่"/><ref name="สุสาน">{{cite web |url=http://www.bunnag.in.th/activities_detail.php?id=9|title=ชมรมสายสกุลบุนนาคร่วมงานพระราชพิธีทำบุญประจำปีที่สุสานหลวงวัดราชบพิตร เนื่องในงานทำบุญจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓|author=|date=|work= |publisher=ชมรมสายสกุลบุนนาค|accessdate=1 เมษายน 2557}}</ref> ถวายตัวในปี พ.ศ. 2451
 
โดยเจ้าจอมมารดาอ่อนได้สนองพระเดชพระคุณประสูติกาลพระราชธิดาสองพระองค์คือ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/052/450_1.PDF สมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ], เล่ม ๖, ตอน ๕๒, ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘, หน้า ๔๕๐</ref> ส่วนเจ้าจอมเอี่ยม ตั้งครรภ์พระองค์เจ้าแต่ตกเสียไม่เป็นพระองค์สองครั้ง<ref>กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ ดร. ''ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕''. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2549</ref> ขณะที่เจ้าจอมท่านที่เหลือมิได้ให้ประสูติกาลพระราชบุตรเลย
 
อย่างไรก็ตามเจ้าจอมก๊กออทั้งห้าเป็นพระสนมคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (มีเพียงเจ้าจอมอาบเท่านั้นที่มิได้เป็นพระสนมเอก) ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ผูกพระราชหฤทัยมิเสื่อมคลายและทำให้เจ้าจอมก๊กออเป็นที่โปรดปรานเป็นระยะเวลามากว่า 30 ปี โดยที่บางท่านไม่มีพระเจ้าลูกเธอมาเป็นเครื่องผูกมัด ซึ่งสิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติพิเศษของเจ้าจอมก๊กออในแต่ละท่าน<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 201</ref> อาทิ เจ้าจอมเอี่ยม เป็นผู้ชำนาญงานนวด เพราะได้ศึกษาเกี่ยวกับกายภาพจนทราบดีถึงกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รู้จังหวะหนักเบาในการกดคลึง ทำให้หายขบเมื่อยและรู้สึกเบาสบาย<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''หอมติดกระดาน''. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน. 2553, หน้า 82</ref> ส่วนเจ้าจอมเอิบ เป็นผู้ที่มีไหวพริบและเอกอุในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีหน้าที่ในการแต่งฉลองพระองค์ของพระราชสวามี, มีความสามารถในการถ่ายภาพ และสามารถทำอาหารได้พิถีพิถันต้องพระราชหฤทัยโดยเฉพาะการทอด[[ปลาทู]]<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน. 2555, หน้า 204-6</ref>
 
แต่ด้วยความเป็นกลุ่มคนโปรดของพระปิยมหาราช จึงเป็นเหตุที่ทำให้[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] พระอัครมเหสี ไม่พอพระทัยนัก และปฏิเสธที่จะเสด็จตามพระราชสวามีไปยังเมืองเพชรบุรี ที่ซึ่งระยะหลัง ๆ พระราชสวามีได้เสด็จไปบ่อยดุจราชสำนักประจำ สมเด็จพระพันปีหลวงทรงตรัสกับ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมารว่า ''"จะให้แม่ไปประจบเมียน้อยของพระบิตุรงค์นั้น เหลือกำลังละ"'' แต่กลางปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระพันปีหลวงได้ตามเสด็จพระราชสวามีไปยังเมืองเพชรบุรีด้วย ครั้นหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงทุพพลภาพมากขึ้น และไม่ได้เสด็จเพชรบุรีอีกเลยจนกระทั่งสวรรคต<ref>ไกรฤกษ์ นานา. ''ค้นหารัตนโกสินทร์ 3.'' สมุทรปราการ : ออฟเซ็ทพลัส. (ม.ป.ป.), หน้า 229-231</ref>