ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง'''เริ่มขึ้นใน[[ประเทศเวเนซุเอลา]]ในปี 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอูโก ชาเบสและดำเนินต่อมาจนประธานาธิบดี[[นิโกลัส มาดูโร]]คนปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา และนับเป็นวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในทวีปอเมริกา โดยมีภาวะเงินเฟ้อเกิน ความอดอยากสูง โรค อาชญากรรมและอัตราตาย และการย้ายออกนอกประเทศขนานใหญ่ ผู้สังเกตการณ์และนักเศรษฐกิจแถลงว่า วิกฤตดังกล่าวมิใช่ผลลัพธ์แห่งความขัดแย้งหรือภัยธรรมชาติแต่เป็นผลพวงจากนโยบาย[[ประชานิยม]]ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติโบลิวาร์ของรัฐบาลชาเบส โดยสถาบันบรุกคิงส์แถลงว่า "ประเทศเวเนซุเอลากลายเป็นตัวแทนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง การบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด และการปกครองซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยสามารถนำไปสู่ความทรมานอย่างกว้างขวางได้อย่างไรโดยแท้"
{{เก็บกวาด}}
'''วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา''' เป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ใน[[ประเทศเวเนซุเอลา]] โดยก่อนหน้านี้ประเทศเวเนซุเอนาได้เกิด[[วิกฤตการเมือง]]ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 120 ราย<ref>https://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-42473773</ref> และประเทศเวเนซุเอลา ประสบ[[ปัญหาเศรษฐกิจ]]นับตั้งแต่ราคาน้ำมันโลกตกต่ำลง จนใน พ.ศ. 2561 วิกฤตเงินตรา[[เงินเฟ้อ]]และราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการปล้นอาหารในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561 มีผู้เสียชีวิต 4 ราย<ref>http://fortune.com/2018/01/11/venezuela-food-riots/</ref> ต่อมาในวันที่ 28 มีนาคม [[รัฐการาโบโบ]]มีผู้เสียชีวิตที่สถานีตำรวจบริเวณเรือนจำ จำนวน 68 ราย<ref>https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_900886</ref> ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตที่เรือนจำ มากที่สุดในรอบ 4 ปี <ref>https://www.bbc.com/thai/international-43581589</ref> ธนาคารกลางของประเทศเวเนซุเอลาประกาศใช้ธนบัตรแบบใหม่ที่ตัดเลขศูนย์ออกไปถึง 5 หลัก<ref>https://thestandard.co/sovereign-bolivar/</ref> อันเนื่องมาจากเงินเฟ้ออย่างมากที่เกิดขึ้นกับสกุลเงิน ประชาชนจำนวนหนึ่งอพยพไปประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ อพยพไปประเทศโคลอมเบียกว่า 870,000 คน<ref>https://www.bbc.com/thai/international-45308458</ref> ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ได้เกิดเหตุวางเพลิงที่ค่ายอพยพชาวเวเนซุเอลาที่ประเทศบราซิล<ref>https://www.bbc.com/news/world-latin-america-45242786</ref>
 
วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ประธานาธิบดีชาเบสประกาศ "สงครามเศรษฐกิจ" เนื่องจากความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ วิกฤตดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นภายใต้รัฐบาลมาดูโร และผลจากราคาน้ำมันที่ถูกในต้นปี 2558 และปริมาณการผลิตน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและการลงทุน รัฐบาลไม่สามารถตัดรายจ่ายเมื่อเผชิญกับรายได้จากน้ำมันที่ลดลงและรับมือกับปัญหาโดยปฏิเสธการมีอยู่ของปัญหา และปราบปรามการคัดค้านอย่างรุนแรง การฉ้อราษฎร์บังหลวงทางการเมือง การขาดแคลนอาหารและยาอย่างเรื้อรัง การปิดบริษัท การว่างงาน การลดลงของผลิตภาพ เผด็จการ การละเมิดสิทธิมนุษยชน การบริหารเศรษฐกิจมวลรวมที่ผิดพลาด และการพึ่งพาน้ำมันอย่างสูงล้วนส่งเสริมให้วิกฤตนี้เลวร้ายลง
ต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม ได้เกิดแผ่นดินไหว ความรุนแรง 7.3 ริกเตอร์ รุนแรงที่สุดในรอบ 206 ปี เจ้าหน้าที่ต้องทำการปิดสนามบิน<ref>https://www.tnamcot.com/view/5b7d1336e3f8e40ad7f4dccb</ref> และมีผู้เสียชีวิตจากหัวใจวายในเหตุการณ์นี้ 5 ราย<ref>https://www.caribbeannewsnow.com/2018/08/22/venezuela-earthquake-and-aftershocks-rock-trinidad-and-other-caribbean-islands/</ref>มีอาคารจำนวนหนึ่งได้รับความเสียหาย ใน พ.ศ. 2561 ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมีดังต่อไปนี้<ref>https://thestandard.co/venezuelan-economic-crisis/</ref> วิกฤตค่าเงินได้ส่งผลกระทบกับ[[ประเทศอาร์เจนตินา]] โดยในวันที่ 31 สิงหาคม ประเทศอาร์เจนตินาปรับอัตราดอกเบี้ยเป็น 60% ซึ่งสูงที่สุดของโลก โดยค่าเงิน[[เปโซอาร์เจนตินา]] ในวันที่ 4 กันยายน ปิดที่ 39.8 เปโรต่อ 1.02 [[ดอลลาร์สหรัฐ]] หากนับจากต้นปี ค่าเงินเปโซอาร์เจนตินาสูญเสียมูลค่ากว่า 53%<ref>https://www.prachachat.net/world-news/news-212373</ref>สำนักข่าว[[บีบีซีไทย]] รายงานว่ามีการขายเนื้อวัวเน่าให้กับประชาชนเพื่อยังชีพ<ref>https://www.bbc.com/thai/features-45879926</ref>
 
# เศรษฐกิจเวเนซุเอลาเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นปีที่ 4
# นักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งแตะ 1,000,000%
# ประชาชนขาดแคลนอาหาร ยา และของใช้จำเป็น
# ระบบบริการสาธารณะหลายส่วนหยุดให้บริการ
# เงินโบลิบาร์ด้อยค่า ซื้อไก่ 1 ตัวต้องใช้เงิน 14.6 ล้านโบลิบาร์
# หนี้ต่างประเทศพุ่งแตะ 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
# รัฐบาลขาดดุลงบประมาณเกือบ 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
# มีรายได้ 96% จากน้ำมัน แต่ปัจจุบันผลิตน้ำมันได้เพียง 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน ต่ำสุดในรอบ 30 ปี จากที่เคยผลิตได้ 3.2 ล้านบาร์เรล/วันเมื่อ 10 ปีก่อน
# ประชาชนอพยพหนีไปเอกวาดอร์แล้ว 400,000 คนในปีนี้ และมีอีกส่วนไหลทะลักเข้าบราซิลจนเกิดปัญหาความไม่สงบ
# รัฐบาลหันมาใช้สกุลเงินใหม่ โบลิบาร์โซเบราโน ที่ผูกติดมูลค่ากับเปโตร ซึ่งเป็นสกุลเงินเข้ารหัส (cryptocurrency) ของเวเนซุเอลาที่อิงกับราคาน้ำมันในประเทศ
# 1 เปโตร มีค่า 60 เหรียญสหรัฐ หรือ 3,600 โบลิบาร์โซเบราโน
# อัตราแลกเปลี่ยนจากเดิม 250,000 โบลิบาร์/1 เหรียญสหรัฐ เป็น 6,000,000 โบลิบาร์/1 เหรียญสหรัฐ เทียบเท่าการลดค่าเงินเดิมลง 96%
# รัฐบาลปรับเพิ่มฐานค่าแรงขั้นต่ำ 3,000% เป็น 1,800 โบลิบาร์โซเบราโน/เดือน หรือ 30 เหรียญสหรัฐ/เดือน จากเดิมเดือนละ 1.8 ล้านโบลิบาร์
 
==อ้างอิง==