ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัลกุรอาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Maqivi (คุย | ส่วนร่วม)
- dead link
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{อิสลาม}}
 
'''อัลกุรอาน''' บ้างเรียก '''โกหร่าน''' หรือ '''โก้หร่าน'''<ref>ส.พลายน้อย. ''เกร็ดภาษา หนังสือไทย ฉบับปรับปรุง''. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2560, หน้า 150</ref> ({{lang-ar|الْقُرآن}}) เป็น[[คัมภีร์]]ใน[[ศาสนาอิสลาม]] ชาว[[มุสลิม]]เชื่อว่าเป็นพระวจนะของ[[อัลลอฮ์]]ที่ประทานผ่านทางเทวทูต[[กาเบรียล|ญิบรีล]] มาสู่[[นบี]][[มุฮัมมัด]] คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ใน[[ภาษาอาหรับ]]แปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน
 
[[อัลลอฮ์]]ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาว[[มุสลิม]]ถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์[[โทราห์|เตารอต]] ที่เคยทรงประทานมาแก่นบี[[มูซา]] คัมภีร์[[หนังสือสดุดี|ซะบูร]] ที่เคยทรงประทานมาแก่นบี[[ดาวิด|ดาวูด]] (ดาวิด) และคัมภีร์[[พระวรสาร|อินญีล]]ที่เคยทรงประทานมาแก่นบี[[อีซา]] (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือ[[ภาษาอาหรับ]] ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน