ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เซปักตะกร้อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{ความหมายอื่น|เปลี่ยนทาง=ตะกร้อ|เกี่ยวกับ=กีฬา|สำหรับ=สิ่งของ|ดูที่=ตะกร้อ (สิ่งของ)}}
[[ไฟล์:Sepak takraw.jpg|upright|thumb|เด็กกับการสาธิตการเล่นตะกร้อ]]
'''ตะกร้อ''' เป็นการละเล่นของ[[ไทย]]มาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]] หลายประเทศในแถบเอเชียที่เล่นกีฬาประเภทนี้คล้ายกัน คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช้[[หวาย]]ถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน สร้างการสังเกตและไหวพริบ
 
== ศัพทมูลวิทยา ==
เซปักตะกร้อ มาจากคำสองคำ คำแรก "เซปัก" ({{lang-ms|sepak}}) เป็น[[ภาษามลายู|คำมลายู]]แปลว่า "เตะ" กับคำว่า "ตะกร้อ" เป็น[[ภาษาไทย|คำไทย]]แปลว่า "ของเล่นสานด้วยหวาย ใช้เตะเล่น"<ref>{{Cite web|url=https://en.oxforddictionaries.com/definition/us/sepak_takraw|title=sepak takraw {{!}} Definition of sepak takraw in US English by Oxford Dictionaries|website=Oxford Dictionaries {{!}} English|access-date=2018-09-18}}</ref>
 
[[ส.พลายน้อย]]อธิบายที่มาของคำว่า "ตะกร้อ" ว่าอาจเป็นคำ[[ภาษาจีน|จีนเก่า]]คือคำว่า "ทาก้อ" ใช้เรียกกีฬาที่คล้ายกัน ใน[[ภาษาไทยถิ่นเหนือ]]เรียก "มะต้อ" [[ภาษาไทยถิ่นอีสาน|ถิ่นอีสาน]]เรียก "กะต้อ" และ[[ภาษาไทยถิ่นใต้|ถิ่นใต้]]เรียก "ตร่อ" และอธิบายอีกว่า ต้อ ตร่อ และกร้อ เป็นคำเดียวกันแต่เพี้ยนเสียง<ref name="พลายน้อย">ส. พลายน้อย. ''เกร็ดภาษา หนังสือไทย ฉบับปรับปรุง''. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2560, หน้า 314-316</ref> ส่วน[[ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)]] ให้ความเห็นว่า แต่เดิมคงเรียก "ตากล้อ" แปลว่า "ของที่สานเป็นตากลม ๆ" กรณีเดียวกันกับคำว่า "ผมหยิกหน้ากล้อคอสั้นฟันขาว" ซึ่งคำว่า "กล้อ" แปลว่า "กลม"<ref name="พลายน้อย"/>
 
ใน[[ภาษามลายู]]จะเรียกกีฬานี้ว่า '''เซปักรากา''' ({{lang-ms|sepak raga}})
 
== ประวัติ ==
ในการค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก) มีหลายประเทศในแถบเอเชียที่เล่นกีฬาประเภทนี้คล้ายกัน
 
* ตะกร้อได้ถูกค้นพบโดย [https://en.wikipedia.org/wiki/Malacca_sultanate Malacca Sultanate[รัฐสุลต่านมะละกา]]ในศตวรรษที่ 15 (สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้า [https://en.wikipedia.org/wiki/Sepak_takraw ภาษาอังกฤษ])
* พม่ามีการเล่นเป็นกีฬาที่มีมายาวนาน ซึ่งเรียกว่า "[[ชีนโลน]]"
* มาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของแถบมาลายู เดิมเรียกว่า เซปะกร้ากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
* ฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกว่า ซิปะก์
* ประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อ แต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งปรากฏในภาพเขียนและพงศาวดารจีน