ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อเล็กซานเดอร์มหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
โยงไปหน้าที่มี
บรรทัด 60:
 
[[ภาพ:Hephaestion Cropped.jpg|180px|thumb|รูปสลักของ[[เฮฟีสเทียน]] ผู้ที่[[อริสโตเติล]]เปรียบว่าเป็นเสมือนวิญญาณครึ่งหนึ่งของอเล็กซานเดอร์]]
มีเอซา เป็นเหมือนโรงเรียนประจำสำหรับอเล็กซานเดอร์และบรรดาบุตรขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์ของมาเกโดนีอา เช่น [[ทอเลมีที่ 1 แห่งซอเตอร์|ทอเลมี]] และ [[แคสแซนเดอร์]] นักเรียนที่เรียนพร้อมกับอเล็กซานเดอร์กลายเป็นเพื่อนของเขาและต่อมาได้เป็นแม่ทัพนายทหารประจำตัว มักถูกกล่าวถึงด้วยคำว่า "สหาย" อริสโตเติลสอนอเล็กซานเดอร์กับบรรดาสหายในเรื่องการแพทย์ ปรัชญา ศีลธรรม ศาสนา ตรรกศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ด้วยการสอนของอริสโตเติลทำให้อเล็กซานเดอร์เติบโตขึ้นมาด้วยแรงบันดาลใจอย่างสูงในงานเขียนของ[[โฮเมอร์]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง [[อีเลียด]] อริสโตเติลมอบงานเขียนฉบับคัดลอกของเรื่องนี้ให้เขาชุดหนึ่ง ซึ่งอเล็กซานเดอร์เอาติดตัวไปด้วยยามที่ออกรบ<ref name=R65-66-F>Fox, ''The Search For Alexander'', pp. 65–66.</ref><ref name=PA8>Plutarch, [http://www.perseus.tufts.edu/cgi-bin/ptext?lookup=Plut.+Caes.+8.1 ''Alexander'', 8]</ref><ref>Renault, pp. 45–47.</ref><ref>McCarty, ''Alexander the Great'', p. 16.</ref>
 
== ทายาทของพีลิปโปส ==
บรรทัด 72:
พีลิปโปสยกทัพลงใต้ แต่ถูกสกัดเอาไว้บริเวณใกล้เมืองไคโรเนียของโบโอเทีย โดยกองกำลังของเอเธนส์และธีบส์ ระหว่าง[[การสัประยุทธ์แห่งไคโรเนีย]] พีลิปโปสบังคับบัญชากองทัพปีกขวา ส่วนอเล็กซานเดอร์บังคับบัญชากองทัพปีกซ้าย ร่วมกับกลุ่มนายพลซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของพีลิปโปส ตามแหล่งข้อมูลโบราณ ทั้งสองฟากของกองทัพต้องต่อสู้อย่างหนักเป็นเวลายาวนาน พีลิปโปสจงใจสั่งให้กองทัพปีกขวาของตนถอยทัพเพื่อให้ทหาร[[ฮอพไลท์]]ของเอเธนส์ติดตามมา ทำลายแถวทหารของฝ่ายตรงข้าม ส่วนปีกซ้ายนั้นอเล็กซานเดอร์เป็นคนนำหน้าบุกเข้าตีแถวทหารของธีบส์แตกกระจาย โดยมีนายพลของพีลิปโปสตามมาติด ๆ เมื่อสามารถทำลายสามัคคีของกองทัพฝ่ายศัตรูได้แล้ว พีลิปโปสสั่งให้กองทหารของตนเดินหน้ากดดันเข้าตีทัพศัตรู ทัพเอเธนส์ถูกตีพ่ายไป เหลือเพียงทัพธีบส์ต่อสู้เพียงลำพัง และถูกบดขยี้ลงอย่างราบคาบ<ref name="DiodXVI">Diodorus Siculus, [http://www.perseus.tufts.edu/cgi-bin/ptext?lookup=Diod.+16.86.1 ''Library XVI, 86'']</ref>
 
หลังจากได้ชัยชนะที่ไคโรเนีย พีลิปโปสกับอเล็กซานเดอร์เดินทัพต่อไปโดยไม่มีผู้ขัดขวางมุ่งสู่เพโลพอนนีส (Peloponnese) โดยได้รับการต้อนรับจากทุกเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึง[[สปาร์ตา]] กลับถูกปฏิเสธ ทว่าพวกเขาก็เพียงจากไปเฉย ๆ<ref>{{cite web|url=http://www.sikyon.com/sparta/history_eg.html |title=History of Ancient Sparta |publisher=Sikyon.com |accessdate=14 November 2009}}</ref> ที่เมือง[[โครินธ์]] พีลิปโปสได้ริเริ่ม "พันธมิตรเฮเลนนิก" (Hellenic Alliance) (ซึ่งจำลองมาจากกองทัพพันธมิตรต่อต้านเปอร์เซียในอดีต เมื่อครั้ง[[สงครามเกรโคกรีก-เปอร์เซียนเปอร์เซีย]]) โดยไม่นับรวมสปาร์ตา พีลิปโปสได้ชื่อเรียกว่า ''เฮเกมอน'' (Hegemon) (ซึ่งมักแปลเป็น "ผู้บัญชาการสูงสุด") ของคณะพันธมิตรนี้ นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เรียกคณะพันธมิตรนี้ว่า สันนิบาตแห่งโครินธ์ (League of Corinth) ครั้นแล้วพีลิปโปสประกาศแผนของตนในการทำสงครามต่อต้านอาณาจักรเปอร์เซีย โดยเขาจะเป็นผู้บัญชาการเอง<ref name=M54-R>Renault, p. 54.</ref><ref>McCarty, p. 26.</ref>
 
=== การลี้ภัยและหวนกลับคืน ===
บรรทัด 96:
[[ไฟล์:Napoli BW 2013-05-16 16-24-01.jpg|thumb|240px|right|ภาพโมเสคที่ค้นพบที่ซากเมืองปอมเปอีย์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์รบ กับ กษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ณ สมรภูมิกัวกาเมล่า ในศึกแห่งอิสซัส (รูปนี้ถ้าเป็นรูปเต็ม จะมีรูปกษัตริย์ดาไรอุสตกพระทัยจากหอกที่พุ่งใส่ อยู่บนรถม้าอยู่ทางขวามือ โดยรูปนี้แสดงถึงความกล้าหาญของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ และความอ่อนแอของกษัตริย์ดาไรอุส โดยรูปนี้นับเป็นรูปที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ด้วย)]]
 
เมื่อต้นเดือน[[ตุลาคม]][[พ.ศ. 212]] หรือ เมื่อ 333 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ยกตราทัพสู่อาณาจักรเปอร์เซีย เพื่อท้ารบกับกษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ที่เชื่อว่าเป็นผู้จ้างคนลอบสังหารพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระบิดาของพระองค์ ในศึกแห่งอิสซัส ทัพของทั้งคู่เผชิญหน้ากันที่[[ยุทธการที่กอกามีลา|กอกามีลา]] (ในตะวันออกกลาง หรือพื้นที่ส่วนมากของ[[ประเทศอิรัก]]ในปัจจุบัน) โดยที่กองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชมีเพียง 20,000 เท่านั้น ขณะที่กองทัพเปอร์เซียมีนับแสน แต่ด้วยความกล้าหาญของทหารมาเกโดนีอาทุกคน กับการวางแผนการรบที่ชาญฉลาดอเล็กซานเดอร์มหาราช ทำให้พระองค์ได้รับชัยชนะแม้จะสูญเสียเป็นจำนวนมากก็ตาม ในการรบครั้งนี้นับเป็นการรบที่มีชื่อของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่สุด เนื่องจากพระองค์ทรงควบบูซาเฟลัสบุกเดี่ยวฝ่ากองป้องกันของทหารเปอร์เซียขว้างหอกใส่กษัตริย์ดาไรอุส ทำให้กษัตริย์ดาไรอุสตกพระทัย และหลบหนีขึ้นเขาไปในที่สุด ผลจากการรบครั้งนี้ทำให้อเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้าสู่นคร[[เปอร์ซีโปลิสแพร์ซโพลิส]] ([[Persepolis]]) ศูนย์กลางอาณาจักรเปอร์เซีย และได้เป็นพระราชาแห่งเอเชีย
 
== การรบครั้งสุดท้าย ==
บรรทัด 127:
{{fnb|1}} ในเวลาที่อเล็กซานเดอร์สวรรคต พระองค์สามารถพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียทั้งหมด ผนวกดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาเกโดนีอา หากพิจารณาตามนักเขียนยุคใหม่บางคน นั่นคือดินแดนเกือบทั้งหมดของโลกเท่าที่ชาวกรีกโบราณรู้จัก<ref name="danforth">{{cite book|last=Danforth|first=Loring M.|title=The Macedonian Conflict: Ethnic Nationalism in a Transnational World |publisher=Princeton University Press|isbn=0691043566|year=1997}}</ref><ref name="stoneman">{{cite book|last=Stoneman|first=Richard|title=Alexander the Great |publisher=Routledge |isbn=0415319323 |year=2004}}</ref> (ภาพทางด้านขวา)
 
{{fnb|2}} ตัวอย่างเช่น [[ฮันนิบาล]] ยกย่องอเล็กซานเดอร์ว่าเป็นแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด<ref>{{cite book |last=Goldsworthy |first=A. |title=The Fall of Carthage |publisher=Cassel |date=2003 |isbn=0304366420}}</ref> [[จูเลียส ซีซาร์]] ร่ำไห้เมื่อเห็นอนุสาวรีย์ของอเล็กซานเดอร์ เพราะพระองค์ประสบความสำเร็จได้เพียงน้อยนิดขณะเมื่ออายุเท่ากัน<ref name="Plutarch, Caesar, 11">Plutarch, Caesar, 11</ref> [[พอมพีปอมปีย์]] แสดงตัวว่าเป็น "อเล็กซานเดอร์คนใหม่"<ref>{{cite book|author=Holland, T.|title=Rubicon: Triumph and Tragedy in the Roman Republic |year=2003 |publisher=Abacus|isbn=9780349115634}}</ref> [[นโปเลียน โบนาปาร์ต]] ก็เปรียบเทียบตนเองกับอเล็กซานเดอร์<ref>{{cite book|author=Barnett, C. |title=Bonaparte |publisher=Wordsworth Editions |year=1997 |isbn=1853266787}}</ref>
 
{{fnb|7}} นับตั้งแต่ยุคสมัยนั้นก็มีข้อสงสัยมากมายอยู่ว่า เพาซานิอัสถูกว่าจ้างให้มาสังหารพีลิปโปส ผู้ต้องสงสัยว่าจ้างวานได้แก่อเล็กซานเดอร์ โอลิมเพียส รวมไปถึงจักรพรรดิเปอร์เซียที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ คือ [[พระเจ้าพระเจ้าดาไรอัสที่ 3]] ทั้งสามคนนี้ล้วนมีแรงจูงใจที่ต้องการให้พีลิปโปสสวรรคต<ref name=Fox72-73>Fox, ''The Search For Alexander'', pp. 72–73.</ref>
 
== อ้างอิง ==