ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสืองานศพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 119.76.32.86 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
ต่อมาถือเป็นธรรมเนียมแพร่หลายในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางชั้นสูง นิยมนำงานนิพนธ์ วรรณคดี และบทสวดมนต์มาพิมพ์แจกในงานพระราชพิธี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสนับสนุนให้ประชาชนคนทั่วไปพิมพ์หนังสือเป็นที่ระลึกในงานศพของบุคคลที่นับถือ โดยหอพระสมุดวชิรญาณ (หอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน) ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกต้นฉบับให้แก่ผู้สนใจจัดพิมพ์หนังสืองานศพสำหรับผู้มาติดต่อ โดยมีหลักเกณฑ์ว่า เป็นเรื่องที่มีแก่นสารในทางวิชาความรู้ ต้องมีการตรวจชำระต้นฉบับให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด และอนุญาตให้เจ้าของโรงพิมพ์พิมพ์หนังสือต้นฉบับของหอพระสมุดฯ จำหน่ายได้ด้วย ดังนั้นหนังสืองานศพในยุคแรก จึงมีเนื้อหาเรื่องทางพระพุทธศาสนาแล้วยังมีเรื่องทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรม การท่องเที่ยวและตำราต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับประวัติของผู้วายชนม์<ref>[https://www.kwanruen.com/column/lifestyle.php?id=387 หนังสืองานศพ นิทรรศการไฮไลท์ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ]</ref> และในช่วงรัชกาลที่ 5 และ 6 นี้เอง ที่เริ่มมีการรวบรวมหนังสืองานศพไว้ที่[[หอสมุดแห่งชาติ]]ด้วย<ref>[https://www.amarinbooks.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%9E/ หนังสือที่ระลึกงานศพ]</ref> หนังสืออนุสรณ์งานศพที่ลงอัตชีวประวัติของผู้ตายล้วน ๆ เล่มแรก คือ ''ศรีสุนทราณุประวัติ'' ซึ่งเป็นชีวประวัติของ[[พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)]] เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 จนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื้อหาหนังสืองานศพเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์ ตำราเรียน ศาสนา กฎหมาย วรรณกรรม จนถึงเบ็ดเตล็ด<ref>[https://www.posttoday.com/politic/report/385790 หนังสือที่ระลึกงานศพ ขุมทรัพย์ของนักสะสม]</ref>
 
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]จนถึงประมาณทศวรรษ 2520 เศรษฐกิจเติบโต มีการขยายตัวของชนชั้นกลางและระบบราชการ พ่อค้าจีนที่อาศัยในประเทศไทย เนื้อหาในหนังสืองานศพจะเน้นประวัติผู้ตายมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับข้าราชกาลข้าราชการจะเน้นความสำเร็จในงานราชการ ส่วนหนังสืองานศพนักธุรกิจ จะเน้นความสำเร็จของผู้ตายในการทำธุรกิจ การเขียนประวัติผู้ตายในช่วงนี้ เริ่มมีการแบ่งเนื้อหาให้แก่การเขียนคำไว้อาลัยให้แก่ผู้ตายมากขึ้น<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/535670 ความตาย ความหมายตัวตน : หนังสือแจกงานศพ (2)]</ref> ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 จนถึงพุทธทศวรรษ 2550 เกิดความหลากหลายทางสังคม ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในการให้ความหมายแก่ชีวิต รวมไปถึงความหมายในการสร้างความทรงจำต่อผู้ตายด้วย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ ความสำคัญแก่ คำไว้อาลัย เข้ามาแทนที่เนื้อหาการเขียนประวัติของผู้วายชนม์ในแบบเดิม และการเรียงลำดับคำไว้อาลัยให้พื้นที่แก่ข้าราชการระดับสูงก่อนเครือญาติเสียอีก ด้วยเหตุที่สังคมชนชั้นกลางขยาย ซึ่งได้ยอมรับแบบแผนหนังสืองานศพจะต้องเป็นหนังสือพุทธศาสนา ยังก่อให้เกิดธุรกิจการเตรียมหนังสือเกี่ยวกับหนังสือทางพุทธศาสนาแบบที่เข้าใจง่ายหรือสำเร็จรูป เพื่อรองรับความต้องการในการพิมพ์แบบเร่งด่วน<ref name="หนังสือแจกงานศพ (จบ)">ไสว บุญมา, [http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/537002 ความตาย ความหมายตัวตน : หนังสือแจกงานศพ (จบ)] กรุงเทพธุรกิจ</ref>
 
แบบแผนในหนังสืองานศพปัจจุบัน มีการขยายตัว มีการเลือกเนื้อหาด้านการแพทย์ เช่น เรื่อง การแพทย์ ซึ่งนายแพทย์ประเวศ วสี เป็นบรรณาธิการ เรื่อง "ไข้" และเรื่อง "ไข้เลือดออก" ของนายแพทย์เกษม วัฒนชัย เรื่อง "โรคความดันโลหิตสูง (มากที่สุด)" เป็นต้น<ref name="หนังสือแจกงานศพ (จบ)"/> สำหรับหนังสือที่นิยมจัดพิมพ์มากที่สุดในปัจจุบัน คือ หนังสือ[[โคลงโลกนิติ]]<ref name="parliament"/>