ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ล็อก "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย": การก่อกวนจำนวนมาก ([แก้ไข=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (หมดอายุ 15:28, 8 เมษายน 2561 (UTC)) [ย้าย=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (หมดอายุ 15:28, 8 เมษายน 2561 (UTC)))
ประติมากรรม
บรรทัด 48:
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมี[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว|กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3)]] [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส]] [[สุนทรภู่]] [[พระยาตรัง]] และ[[นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)]] เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น [[รามเกียรติ์]] [[อุณรุท]] และ[[อิเหนา]] โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ [[วรรณคดีสโมสร]]ในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น [[ไกรทอง]] [[สังข์ทอง]] [[ไชยเชษฐ์]] [[หลวิชัยคาวี]] [[มณีพิชัย]] [[สังข์ศิลป์ชัย]] ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้....
 
=== ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม ===
นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของ[[พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก]] พระประธานในพระอุโบสถ[[วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร]] อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี [[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]] คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย