ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมขุนวิมลพัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Arty1562549 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
กรมขุนวิมลพัตรมีพระนามเดิมว่า'''พระองค์เจ้าแมงเม่า''' บางแห่งออกพระนามว่า '''เม้า''' หรือ'''เมาฬี'''<ref name="พม่า"/> "''บัญชีพระนามเจ้านาย''" ใน[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]ระบุว่าพระองค์เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี มีพระเชษฐาและพระภคินีร่วมพระชนกชนนีคือ พระองค์เจ้าหญิงผอบ, พระองค์เจ้าชายสถิต, พระองค์เจ้าชายพงศ์ และพระองค์เจ้าชายแตง<ref>''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 176</ref>
 
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ระบุว่า หลัง[[สงครามพระเจ้าอลองพญา]]ในรัชสมัย[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์]] [[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร|สมเด็จพระอนุชาธิราช]]ให้สึกพระองค์เจ้าแมงเม่าจาก[[แม่ชี|ชี]] นำมาถวายเป็นบาทบริจาริกาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 374</ref> ดังปรากฎใน[[พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน]]ความว่า ''"..แลสมเดจ์พระราชอนุชาเสดจ์ขึ้นเฝ้าพระเชษฐ์าอยู่เนือง ๆ ดำหรัสให้พระองค์จ้าวแมงเม่า ซึ่งทรงผนวดเปนชีอยู่นั้นลาผนวดออกมาเปนพระอัคะมเหษีพระเชษฐ์าธิราช"''<ref>''พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากฉบับตัวเขียน'', หน้า 340</ref> ต่อมาจึงทรงยกเจ้าแมงเม่าเป็นพระอัครมเหสี<ref name="กรุงเก่า1">''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 129</ref> ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น'''กรมขุนวิมลพัตร'''<ref name="กรุงเก่า"/> และทรงให้มเหสีอื่น ๆ มียศถาบรรดาศักดิ์เสมอกัน<ref name="หาวัด">''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 494</ref> ส่วนบันทึกของบาทหลวง[[ปีแยร์ บรีโก]] (Pierre Brigot) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ระบุว่า ''"...ตั้งแต่สมัยก่อน ๆ มา พระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับเป็นกฎหมายในเมืองนี้ ครั้งมาในบัดนี้ เจ้านายผู้หญิงทุกองค์ก็มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินและข้าราชการก็ต้องเปลี่ยนกันอยู่เสมอ..."''<ref name="บรีโก">{{cite web |url= https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_4226 |title= บาทหลวงฝรั่งเศสอ้าง “เจ้านายผู้หญิง” มีอำนาจเทียบเท่า “กษัตริย์” ก่อนสิ้นแผ่นดินอยุธยา |author= ผิน ทุ่งคา |date= 19 เมษายน 2561 |work= ศิลปวัฒนธรรม |publisher=|accessdate= 21 เมษายน 2561}}</ref>
 
กรมขุนวิมลพัตรมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี บางแห่งออกพระนามเป็นศรีจันทเทวี ([[คำให้การขุนหลวงหาวัด]])<ref name="หาวัด"/> หรือเจ้าฟ้าน้อย ([[คำให้การชาวกรุงเก่า]])<ref name="กรุงเก่า"/> หลังประสูติกาลมีการประโคมดนตรีสามครั้งตามโบราณราชประเพณี<ref name="กรุงเก่า1"/>
บรรทัด 39:
{{เริ่มอ้างอิง}}
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง = [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์|นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ]] | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารพม่า | URL =| พิมพ์ที่ = ศรีปัญญา | จังหวัด = นนทบุรี | ปี = 2550 | ISBN = 978-974-7088-10-6| จำนวนหน้า = 1136}}
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = ศานติ ภักดีคำ. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน| ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = [[อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง]]| ปี = 2558| ISBN = 978-616-92351-0-1| จำนวนหน้า = 558| หน้า = (35)-(50)}} [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง =| ชื่อหนังสือ = ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง | URL =| พิมพ์ที่ = แสงดาว | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ปี = 2553 | ISBN = 978-616-508-073-6| จำนวนหน้า =536}}
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น| จังหวัด = นนทบุรี| พิมพ์ที่ = ศรีปัญญา| ปี = 2553| ISBN = 978-616-7146-08-9| จำนวนหน้า = 800}}