ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาลีรัตน์ แก้วก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ มังกรคาบแก้ว (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่...
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
หลังจากนั้น ได้ลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคชาติพัฒนาอีกครั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2538]] กระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สกลนคร มีผลงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน และสตรี โดยเฉพาะการจัดตั้งชมรมผู้นำสตรีท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันคือ สมาคมผู้นำสตรีท้องถิ่น สกลนคร)
 
ต่อมานาย[[บรรหาร ศิลปอาชา]] นายกรัฐมนตรีประกาศ[[ยุบสภา]]อีกครั้ง ได้ลงสมัคร ส.ส.อีกครั้งแต่ไม่ได้รับเลือก ซึ่งต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง [[เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ]] ทำหน้าที่ประสานงานองค์กรสตรีทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเผยแพร่ความรู้ตามรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับสิทธิและกลไกในการคุ้มครองสิทธิของตนและชุมชน และได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกวุฒิสภา]] (ส.ว.) จ.สกลนคร เมื่อปี [[พ.ศ. 2543]] และได้รับเลือกตั้ง<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00018901.PDF ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนคร (นางมาลีรัตน์ แก้วก่า)]</ref> โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภา คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นกรรมาธิการตรวจสอบประวัติและความประพฤติของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เช่น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฯลฯ
 
ระหว่างที่ทำหน้าที่ ได้รับรางวัล ผู้หญิงเก่ง สาขานักการเมือง จาก[[สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2545]] และได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส. และ ส.ว.หญิง เลือกให้ดำรงตำแหน่งประธาน[[ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย]] เมื่อปี พ.ศ. 2546-2548 บทบาทที่สำคัญ คือ การส่งเสริมให้สตรีเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยจัดการฝึกอบรมให้ , การนำร่างพระราชัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำจากความรุนแรงในครอบครัว ออกรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ใน 4 ภูมิภาค, การร่วมมือกับกรรมกาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการยกร่าง พระราชบัญญัติอนามัยการเจริญพันธุ์ ฯลฯ