ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาเบอร์นี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จากเนื้อหาแล้วเป็นสนธิสัญญาด้านการค้าระหว่างประเทศจริง ถ้าลืมอาจในเกิดปัญหาการข้อสอบ
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 118.172.180.61 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 28:
}}
 
'''สนธิสัญญาเบอร์นี''' ({{lang-en|Burney Treaty}}) คือ [[สนธิสัญญา]]ทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ รวมถึงการค้าระหว่างประเทศฉบับแรกที่[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|กรุงรัตนโกสินทร์]] (ต่อมาคือประเทศไทย) ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[เฮนรี เบอร์นี]]ได้เป็นทูตอังกฤษเดินทางเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2368 เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้า ในด้านการค้า [[รัฐบาลอังกฤษ]]ประสงค์ขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวกในการในการค้าได้โดยเสรี การเจรจาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 และมีการลงนามในสนธิสัญญากัน
บรรทัด 107:
 
=== การขอแก้ไขสนธิสัญญา ===
หลังจากที่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไปแล้ว พ่อค้าฝรั่งยังรู้สึกไม่พอใจเพราะรู้สึกเสียค่าธรรมเนียมแพงเกินควร ( ต่อมามีสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในรัชกาลที่ 4 ) ต้องอยู่ใต้บังคับกฎหมายและธรรมเนียมไทย อีกทั้งยังไม่พอใจที่รัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาต่าง ๆ<ref name="ชัย164"/> ฝ่ายรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงส่งทูตชื่อ โจเซฟ บัสเลสเตีย มาเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา โดยจะขอตั้งกงสุลอเมริกัน และขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมเหมา แต่การแก้ไขสนธิสัญญาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะบัลเลสเตียปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับฐานะทูต ที่สำคัญคือเป็นเพียงพ่อค้ามิใช่ขุนนาง ทำให้คนไทยที่เห่อยศศักดิ์มีปฏิกิริยาชิงชังฝรั่ง ว่าไม่เคารพพระเจ้าแผ่นดินไทย บัสเลสเตรียก็เดินทางออกจากประเทศเมื่อปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2393<ref name="ชัย166">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 166.</ref>
 
ในเวลาไล่เลี่ยกันน้น สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษก็ได้ทรงส่งทูตมายังกรุงเทพ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2393 โดยมีจุดประสงค์อย่างเดียวกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่การเจรจาคราวนี้ล้มเหลวอีกเช่นกัน เพราะราชทูต เซอร์[[เจมส์ บรุค]] ถือหนังสืออัครมหาเสนาบดีมาให้เสนาบดีกรมท่า จึงทำให้ไม่ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ<ref name="ชัย166"/> ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงรู้สึกไม่ได้รับเกียรติจากทูตอังกฤษ เพราะไม่ได้เชิญพระราชสาส์นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษมาถวายด้วย<ref name="ชัย166"/>