ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Siripornhui (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41:
แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงเอกราชและความมั่นคงของประเทศ ทรงพยายามแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น มีพระราชกระแสที่จะส่งพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษในฐานะองค์ทายาทของพระมหากษัตริย์สยาม<ref name="วิลัย">สัจธรรม. ''อาทิตย์อุไทย''. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 35</ref> ในการตั้งพระราชธิดาองค์โปรดให้ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศครั้งนี้ ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้[[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] ได้เสด็จไปด้วยในฐานะพี่เลี้ยง และได้ทาบทาม[[เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)|เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์]] ผู้เป็นตาของพระองค์ศรีวิลัยลักษณ์ด้วยพระองค์เอง<ref name="วิลัย"/> ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ลงวัน {{จันทรคติ|วัน=๒|ขึ้น=๑๒|เดือน=๑๒}} ค่ำ ปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่ง[[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)]] ได้บันทึกไว้ ความว่า<ref>สัจธรรม. ''อาทิตย์อุไทย''. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 35-36</ref>
 
<blockquote>"...กรมพระราชวังบวรฯ ([[กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]]) มิสเตอร์น๊อกซ์ ([[โทมัส ยอร์ช น็อกซ์]]) กงสุลอังกฤษ คิดจะเอาพระโอรสองค์ใหญ่มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวิลัย ([[พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิลัยวรวิลาศ]]) ส่งไปประเทศอังกฤษ เพื่อมิสเตอร์น๊อกซ์จะเปิดเผยที่เมืองอังกฤษว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่มีพระบรมราชโอรสมีแต่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่คือ กรมขุนสุพรรณฯ ส่วนกรมพระราชวังบวรฯ มีพระโอรส พระโอรสนี้จะเป็นรัชทายาทต่อไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบดังนี้แล้ว จึงทรงพระวิตก คิดจะให้สมเด็จวังบูรพากำชับให้กรมขุนสุพรรณฯ ออกไปเรียนวิชา ณ ประเทศอังกฤษ ความที่ทรงหวังในเวลานั้นจะโปรดเกล้าให้กรมขุนสุพรรณฯ เป็น[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|ควีนวิคตอเรีย]] สมเด็จวังบูรพาเป็น ปรินซ์อารเบิด ([[เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี]]) เวลานั้นได้จัดผู้ที่จะตามเสด็จไปประเทศยุโรปไว้พร้อมถึงกับได้กำหนดวันที่จะเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เวลานี้ข้าราชการทั่วไปพากันตื่นเต้นเข้าไปเฝ้าอยู่ทั่วทุกชั้น เวลานั้นจะมีอุปสรรคอันใดเกิดขึ้นจึงได้ระงับเหตุดังกล่าวนี้ในเวลาไม่กี่เดือนก็รับทราบว่า สมเด็จพระพรรวษามาตุจฉาเจ้าพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ([[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]]) ทรงพระครรภ์ในไม่ช้าก็ประสูติ [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร|สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ]] พระราชดำริดังกล่าวนี้จึงเป็นอันระงับไป"</blockquote>
 
=== พระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ===
บรรทัด 85:
 
== พระกรณียกิจ ==
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระองค์มีหน้าที่ดูแลพระเจ้าน้องที่ยังทรงพระเยาว์ ถึงแม้พระองค์จะประสูตินอก[[เศวตฉัตร]]แต่พระองค์ก็ทรงเป็นที่เคารพและรักใคร่ของพระเจ้าน้องที่ประสูติในพระเศวตฉัตรทุกพระองค์ ในการดูแลพระกนิษฐานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเกียรติให้พระองค์เป็นผู้สั่งพระเจ้าน้องทั้งหลายให้เป็นสาว ซึ่งตามธรรมเนียมการเป็นสาวของสตรีในพระราชสำนักฝ่ายในนั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน เมื่อพระเจ้าลูกเธอหลายพระองค์ทรงโสกันต์แล้ว ยังคงแต่งพระองค์ด้วยเสื้อคอกระเช้ามีริบบิ้นร้อยรอบพระศออยู่ สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงรับสั่งว่า "''เจ้าหนูเมื่อไหร่จะมีพระบรมราชโองการให้น้อง ๆ เป็นสาวเสียที เป้งเล้งเป็นเมียฝรั่งไปตาม ๆ กัน''" ซึ่งพระองค์ก็จะทรงสั่งให้พระกนิษฐาเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นทรงสะบักสะพัก<ref name="ลูกแก้ว"/>
 
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้รับตำแหน่งให้เป็นอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง ([[สภากาชาดไทย]]ในปัจจุบัน) ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์<ref>[http://www.redcross.or.th/aboutus/patron/upanayika.htm อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง] จาก เว็บไซต์สภากาชาดไทย</ref>