ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{กล่องข้อมูล โรงเรียน
| name = โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
| native_language =
| native_name =
| en_name = Bungsamphan Wittayakom
| image = [[ไฟล์:Bwitlogo.jpg]]|โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม]]<br>โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
| caption =
| address = 800 หมู่ 7 [[ต.ซับสมอทอด]] [[อ.บึงสามพัน]] [[จ.เพชรบูรณ์]] {{flagicon|Thailand}} [[ประเทศไทย]] [[รหัสไปรษณีย์ทั่วประเทศไทยเรียงตามจังหวัด|67160]]
| นักเรียน = 1,567 คน
| longitude =
| abbr = บ.ว.
| code =
| establish_date = [[6 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2519]]
| founder =
| type =
| group = [[สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน|สพฐ.]]
| class_range =
| type_headman = ผู้อำนวยการ
| headman = นายจีระ ทัศนศิริ
| motto = อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ (กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย)
| song = [[เพลงมาร์ชบึงสามพันวิทยาคม]]
| color = [[สีเทา|เทา]]-[[สีเหลือง|เหลือง]]
| campus =
| branch =
| website = [http://www.bwit.ac.th/ http://www.bwit.ac.th/]
| footnote =
}}
 
'''โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม''' (อังกฤษ : Bungsamphan Wittayakom School; อักษรย่อ : บ.ว.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประเภทสหศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอบึงสามพัน ตั้งอยู่เลขที่ 800 หมู่ 7 ต.ซับสมอทอด อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ติดถนนสระบุรี - หล่มสัก ห่างตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ 80 กิโลเมตร มีพื้นที่ 50 ไร่ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.1-ม.3)และตอนปลาย(ม.4-ม.6) ปัจจุบันมีครู-อาจารย์ที่ทำการสอนอยู่จำนวน 56 คน มีนักเรียนกำลังศึกษาอยู่จำนวน 1,580 คน
 
==ประวัติโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม==
 
พ.ศ. 2519 โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแต่งตั้งโรงเรียนรัฐบาล ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งมีคำสั่งแต่งตั้งนายนิโรธ ป้อมเมฆี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหนองไผ่ มารักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม โดยอาศัยเรียนในอาคารชั่วคราวของโรงเรียนชุมชนบ้านซับสมอทอด ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาเรียนในศูนย์สภาตำบลซับสมอทอด ในปีเดียวกันนั้นยังได้งบประมาณให้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง บ้านพักครู 202 จำนวน 2 หลัง และห้องน้ำนักเรียน 1 หลัง จำนวน 8 ท สำหรับที่ดินของโรงเรียนนั้น ส่วนหนึ่งได้รับบริจาคจากนางสงวน คมวิริยะวุฒ และ นายแก้ว ศิลประเสริฐ อีกส่วนหนึ่งประชาชนบึงสามพัน บริจาคให้เป็นเงิน เพื่อซื้อที่ดินในส่วนที่เหลือ
 
พ.ศ. 2520 ได้ย้ายที่ทำการจากศูนย์สภาตำบลซับสมอทอด มาเรียนในที่ตั้งโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคมในปัจจุบัน คือ เลขที่ 800 หมู่ 7ตำบลซับสมอทอด อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ 50 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา จากถนน สระบุรี - หล่มสัก ถึงสถานที่ตั้งของโรงเรียนมีระยะทางประมาณ 1.8 กิโลเมตร ในปีเดียวกันนั้นยังได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง บ้านพักครู 202 จำนวน 1 หลัง
 
พ.ศ. 2521 นายนิโรธ ป้อมเมฆี ครูใหญ่โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ได้มีคำสั่งให้แต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ในปีเดียวกันนั้นยังได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนต่อเติม 1 หลัง อาคารชั่วคราว 4 ห้องเรียน 1 หลัง และห้องน้ำนักเรียน 1 หลัง
 
พ.ศ. 2523 ได้งบประมาณสร้างห้องน้ำนักเรียน 1 หลัง จำนวน 7 ที่
 
พ.ศ. 2524 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน 216 ก.ต่อเติม ซึ่งต่อเติมมาจาก 8 ห้องเรียน เป็น 12 ห้องเรียน สร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง จำนวน 2 หน่วย ห้องน้ำนักเรียน 1 หลัง จำนวน 7 ที่ และบ้านพักครู 1 หลัง
 
พ.ศ. 2526 ได้งบประมาณสร้างตึกวิทยาศาสตร์ CS 213 B 1 หลัง หอประชุม 1 หลัง โรงฝึกงาน 1 หลัง 2 หน่วย และบ้านพักครู 202 จำนวน 1 หลัง
 
พ.ศ. 2529 ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 202 จำนวน 1 หลัง
 
พ.ศ. 2530 ได้งบประมาณสร้างหอกระจายข่าวภายในโรงเรียน 1 ที่
 
พ.ศ. 2532 นายนิโรธ ป้อมเมฆี อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม มีคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ศรีเทพประชาสรรค์ และนายสมพงษ์ สุชาติพงษ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคม ให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียน บึงสามพันวิทยาคม
 
พ.ศ. 2534 นายสมพงษ์ สุชาติพงษ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ได้คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคมและในปีเดียวกันนั้นยังได้งบประมาณสร้างห้องน้ำนักเรียน 1 หลัง จำนวน 6 ที่
 
พ.ศ. 2535 ได้งบประมาณขุดสระน้ำ 1 สระ และหอพระเฉลิมพระเกียรติฯ(งบประมาณบริจาค)
 
พ.ศ. 2537 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน 216 ล (ปรับปรุง) 1 หลัง ห้องประชุม 100/27 จำนวน 1 หลัง บ้านพักนักการภารโรง จำนวน 1 หลัง จัดซื้อรถตู้จำนวน 1 คัน สร้างถนนคอนกรีตหน้าอาคาร 180 เมตร และยังได้เปิดสอนวิชา คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 25 เครื่อง
 
พ.ศ. 2538 ได้งบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน 1 ที่ และยังได้จัดทำสวนหย่อมหน้าอาคารเรียน
 
พ.ศ. 2539 ได้เพิ่มจำนวนห้องเรียนในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ โดยจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 15 เครื่อง
 
พ.ศ. 2541 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งย้าย นายสมพงษ์ สุชาติพงษ์ ให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกรมสามัญศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ และให้นายสุนทร พินิจนัย ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
 
พ.ศ. 2542 ได้งบประมาณสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 200 เมตร ปรับปรุงอาคาร 216 ก และสร้างอาคารเรียน 216 ล หลังคาทรงไทย
 
พ.ศ. 2543 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายสุนทร พินิจนัย ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม และให้นายชยันต์ มัทย์พงษ์ถาวร ผู้อำนวยการโรงเรียนเพชรบูรณ์วิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
 
พ.ศ. 2544 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายชยันต์ มัทย์พงษ์ถาวร ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์และให้นายทรงศักดิ์ ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
 
พ.ศ. 2547 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายทรงศักดิ์ ศรีประเสริฐ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหนองไผ่ และให้นายชนินทร์ สะพรั่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเพชรละครวิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
 
พ.ศ. 2553 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายชนินทร์ สะพรั่ง ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหนองไผ่ และให้นายจีระ ทัศนศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม
พ.ศ. 2558 นายจีระ ทัศนศิริ เกษียณอายุราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๔๐ ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ดร.สุพจน์ ประไพเพชร ผู้อำนวยการโรงเรียนพัชรพิทยาคม มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน
 
== สิ่งปลูกสร้าง ==
 
[[ไฟล์:อาคารหนึ่ง.jpg|thumb|left|อาคาร 1]]
[[ไฟล์:โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย_อาคาร2และสนามหญ้า.jpg‎|thumb|left|อาคาร 2 และสนามหญ้า]]
[[ไฟล์:สระบัว.jpg|thumb|left|สระบัว]]
* '''อาคาร 1''' (ตึกหนึ่ง) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นอาคารแรกและอาคารเดียวที่สร้างพร้อมกับการก่อตั้งโรงเรียน ปัจจุบันได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี อาคารนี้ประกอบด้วย ห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตรกรรม) ห้องรับรอง ห้องประชุม ห้องศูนย์วัฒนธรรม ที่ทำการของสมาคมนักเรียนเก่าสามเสนวิทยาลัย ห้องพยาบาล ห้องแนะแนว สำนักงานงานฝ่ายบริหารการเงินและสินทรัพย์ และสำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน
 
* '''อาคาร 2''' (ตึกวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) เดิมเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้งบประมาณรื้อทิ้ง และสร้างใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2512 ปัจจุบันอาคารนี้เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมต้นและปลายในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และสำนักงานของฝ่ายบริหารวิชาการ และฝ่ายงานทะเบียน-วัดผล หน้าอาคารนี้มีเสาธงอยู่ด้วย
 
* '''อาคาร 3''' (ตึกสาม) เดิมเป็นเรือนไม้แถวยาว สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2497 ต่อมาได้ถูกรื้อและสร้างใหม่ด้วยเงินสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นอาคารสูง 5 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2517 ปัจจุบันประกอบด้วยห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย ห้องโสตทัศนศึกษา (ห้องทวีวิชา,ขจีรัตน์,สามเสนรวมใจและอักษราวลี) ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียน ชั้นล่างมีสหกรณ์โรงเรียน ห้องสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และห้องของคณะกรรมการนักเรียน และเมื่อปีพ.ศ. 2544 ในสมัยที่นายอำนาจ ศรีชัย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ได้สร้างส่วนต่อเติมเป็นสำนักงานผู้อำนวยการ ห้องเรียนรวม ห้องรับรอง และห้องประชุม ให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
 
* '''อาคาร 4''' (ตึกศิลปะ) เดิมเป็นอาคารศิลปศึกษา สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2506 ต่อมาได้ถูกรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารสูง 5 ชั้นเมื่อปีพ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมต้นและปลาย (วิชาศิลปศึกษาทั้งหมดเรียนที่ตึกนี้) สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา ห้องเรียนศิลปะ ห้องเรียนนาฏศิลป์ ห้องเรียนดนตรีสากล และห้องเรียนดนตรีไทย มีทางเดิมเชื่อมติดกับอาคาร 3 และอาคาร 9
 
* '''อาคาร 5''' (ตึกคหกรรม) เป็นอาคาร 2 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรมศาสตร์) และยังใช้ห้องด้านล่างเป็นห้องรับรองแขก และใช้ในการทานอาหารกลางวันของแขกที่มาเยี่ยมชมหรือดูงานที่โรงเรียนอีกด้วย
 
* '''อาคาร 6''' (โรงยิมส์) เป็นโรงพลศึกษา ไว้สำหรับเรียนวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และในปีพ.ศ. 2545 ได้ก่อสร้างสนามเทนนิสขนาดมาตรฐานขึ้นแทนสนามเดิม เพื่อรองรับการเรียนการสอนในวิชาพลศึกษา รวมถึงยังเป็นห้องพักครูหมวดวิชาพลศึกษาและสุขศึกษาอีกด้วย
 
* '''อาคาร 7''' (ตึกอุต) เป็นอาคาร 2 ชั้น สำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (อุตสาหกรรมศึกษา และ ธุรกิจศึกษา) ชั้นแรก เป็นห้องเรียนวิชา งานช่าง งานเหล็ก ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องงานปั้น งานเขียนแบบ และห้องปฏิบัติการของวิชาธุรกิจศึกษา
 
* '''อาคาร 8''' (ตึก ศน./ตึกEP) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2507 เดิมเป็นอาคารของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาโรงเรียนได้รับคืนจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อปีพ.ศ. 2545 และโรงเรียนปรับปรุงภายนอกและภายในอาคารใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเป็นห้องเรียนของโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ (English Program) มีห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) และห้องประชุมใหญ่โครงการ English Program รวมทั้งสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานฝ่ายวิชาการ และฝ่ายธุรการ ของโครงการ English Program ห้องลีลาศ และห้องออกกำลังกาย
 
* '''อาคาร 9''' (ตึกเก้า) เป็นส่วนต่อเติมของอาคาร 4 เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนสายศิลปะ-ภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส,เยอรมัน และ จีน) ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ชั้นที่ 1 และ 2 เป็นส่วนขยายของห้องสมุด ส่วนชั้นที่ 3 และ 4 เป็นห้องเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลปะ-ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทางภาษา กลุ่มภาษาต่างประเทศที่สาม
* '''อาคารอเนกประสงค์''' (อาคารอเนก) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2520 ด้วยเงินงบประมาณ เพื่อเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ (ชั้นบน) และโรงอาหาร (ชั้นล่าง) สำหรับรับประทานอาหาร
* '''ศาลาสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี''' (ห้องประชาสัมพันธ์/ศาลาประชาสัมพันธ์) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2525 สำหรับเป็นห้องประชาสัมพันธ์
* '''อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา''' (ตึกเฉลิม,ตึกใหม่) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2539 เป็นส่วนต่อเติมของอาคาร 2 เป็นศูนย์วิทยบริหาร ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และห้องเรียนคณิตศาสตร์ ห้องเรียนโครงการพิเศษ เช่น ห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ (Math Center หรือ MC) อันทันสมัย
* '''อาคาร3 ส่วนต่อเติม''' (อาคารมัลติมีเดีย,ตึกปีโป้,อาคารใหม่) เดิมเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างอาคาร1และอาคาร3เป็นห้องน้ำชาย ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้เป็นสวนหย่อม สำหรับอ่านหนังสือในสมัย นางอุไรวรรณ สุพรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และต่อมาได้สร้างเป็นอาคาร5ชั้นเชื่อมต่อกับอาคาร3 และชั้นสองสามารถเชื่อมกับอาคาร1 เป็นที่ตั้งห้องผู้อำนวยการ และในชั้น3 4 5 เป็นห้องโสตทัศนศึกษา (ชั้น4 คือ ห้อง ขจีรัตน์ และชั้น5 คือห้อง สามเสนรวมใจ) และห้องประชุมของโรงเรียน
 
 
 
 
=== ข้อมูลจำเพาะ ===
[[ข้อมูลจำเพาะ]]
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธสิริกิตติ์</br>
ศูนย์รวมจิตใจ : หอพระเฉลิมพระเกียรติ</br>
ตราและสัญลักษณ์ : คฑา บัว แสง กนก</br>
คำขวัญ : ปัญญาเป็นแสงสว่างแห่งโลก</br>
ปรัญญา : เลิศวิชา สามัคคี ประพฤติดี กีฬาเก่ง เคร่งวินัย</br>
คติพจน์ : ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน</br>
ต้นไม้ : ต้นตะค้ำ</br></br>
 
 
=== จำนวนห้องที่ทำการเปิดสอน ===
มัธยมศึกษาตอนต้น : 6-6-6</br>
มัธยมศึกษาตอนปลาย : 6-6-6 </br>
 
โดยแบ่งเป็น
ห้อง 1-2-3 เป็นห้องเรียนเน้นการเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
ห้อง 4-5-6-7 เป็นห้องเรียนเน้นการเรียนศิลป์-ภาษา
 
 
== อ้างอิง ==
[http://www.bwit.ac.th โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม]/
 
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในจังหวัดเพชรบูรณ์]]