ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คดีระบายข้าวจีทูจี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 68:
วันที่ 15 มีนาคม 2558 หลังได้รับสำนวนของ[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ป.ป.ช.) ตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด สั่งยื่นฟ้องบุคคล ได้แก่ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว, ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว และอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3 คน, ข้าราชการการเมือง 3 คน นิิติบุคคลและกรรมการบริษัทรวม 21 คน ตามความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 9, 10, 12 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ใช้อำนาจโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่รัฐ และมาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 123 และ 123/1 ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต ศาลให้ประกันจำเลย วงเงินระหว่าง 5–20 ล้านบาท<ref name="คชล">[http://www.komchadluek.net/news/scoop/293066 ลำดับเหตุการณ์คดี'บุญทรง-พวก'ทุจริตระบายข้าวจีทูจี]</ref>
 
คำฟ้องมีว่าว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 21 ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงพาณิชย์ และพ่อค้าข้าว ร่วมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำสัญญาขายข้าวให้แก่บริษัท Guangdong Stationery & Sporting Goods Import & Export Corporation ("บริษัทกวางตุ้ง") และบริษัท ไห่หนาน เกรน แอนด์ ออยล์ อินดัสเทรียล เทรดดิ้ง จำกัด ("บริษัทไห่หนานห่ายหนาน") ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนรวม 4 สัญญา โดยอ้างว่าเป็นการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ และ[[การฮั้ว|ขายในราคาต่ำกว่าท้องตลาด]]ทำให้รัฐเสียหาย ความจริงเป็นการขายข้าวบางส่วนให้แก่พ่อค้าข้าวในประเทศเป็นการเสนอราคาซื้อขายโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ งบประมาณแผ่นดิน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ประเทศชาติ และประชาชน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 86, 91, 151, 157 และว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 9, 10, 12 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 123, 123/1 และปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงินร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญา 2 สัญญา จำนวน 23,498,134,119 บาท และปรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 21 ร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญาทั้ง 4 สัญญา จำนวน 35,274,611,007 บาท<ref>[https://prachatai.com/journal/2017/08/72966 ศาลฎีกาสั่งจำคุกบุญทรง 42 ปี คดีขายข้าวรัฐต่อรัฐ ไม่รอลงอาญา สั่งเอกชนชดใช้ 1.6 หมื่นล้าน]</ref>
 
วันที่ 29 มิถุนายน 2558 จำเลยมาแสดงตัวครั้งแรกต่อองค์คณะผู้พิพากษา ขาดพันตรี นายแพทย์ ดร. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตผู้ช่วยเลขานุการ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำเลยที่ 3 และสุธี เชื่อมไธสง จำเลยที่ 16 ไม่ศาลตามนัดมีพฤติการณ์หลบหนีคดี ศาลจึงให้ออกหมายจับและจำหน่ายคดีชั่วคราวของจำเลยทั้งสองไว้ตั้งแต่นั้น<ref name="คชล"/>
บรรทัด 75:
 
คดีนี้ศาลอนุญาตให้นำพยานโจทก์เข้าไต่สวน 27 ปาก พยานจำเลย 103 ปาก รวมพยาน 130 ปาก กำหนดนัดไต่สวน 20 นัด ไต่สวนพยานนัดแรกได้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ไต่สวนพยานนัดสุดท้ายแล้วเสร็จวันที่ 5 กรกฎาคม 2560
 
== คำพิพากษา ==
วันนัดฟังคำพิพากษา คือ วันที่ 25 สิงหาคม 2560 ตำรวจได้วางมาตรการรักษาความปลอดภัยรอบศาล โดยเปิดให้รถเข้าทางเดียว รถของผู้สื่อข่าวจะต้องแจ้งทะเบียนรถล่วงหน้า ส่วนสื่อมวลชนอนุญาตให้เข้าฟังในห้องพิจารณา 70 คน<ref>[https://www.khaosod.co.th/politics/news_480721 25ส.ค.ชี้ชะตา ‘ปู’ กับพวก-ศาลอ่านคดี ‘จีทูจี’ ก่อน ‘จำนำข้าว’]</ref>
 
ศาลอ่านคำพิพากษา เห็นว่า ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ใช้เกณฑ์ราคาขายแบบหนังคลังสินค้าซึ่งผิดไปจากแนวทางปฏิบัติในกรณีการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ จากนั้นเห็นชอบให้ขายข้าวแก่บริษัทกว่างตง จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีน 2 สัญญา ทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย 11,011 ล้านบาท ต่อมา บุญทรง เตริยาภิรมย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวแทน และเห็นชอบสัญญาซื้อขายข้าวกับบริษัทกว่างตง 1 ฉบับ ทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหาย 5,694 ล้านบาท ทั้งเห็นชอบให้ทำสัญญากับบริษัทห่ายหนาน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย 162 ล้านบาท ภายหลังการซื้อขายทั้งสี่ฉบับปรากฏว่ามีการชำระค่าข้าวด้วยแชเชียร์เช็คภายในประเทศละรับมอบข้าวไปโดยผู้รับมอบอำนาจที่เป็นคนไทยแล้วนำไปขายต่อภายในประเทศ โดยไม่มีการส่งข้าวไปยังประเทศอื่น กระบวนการดังกล่าวกระทำโดยภูมิ, บุญทรง, อภิชาติ จันทร์สกุลพรและวกร่วมกันนำบริษัทกว่างตงและบริษัทห่ายหนานมาขอซื้อข้าวโดยแอบอ้างว่าได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีนมาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐในราคาต่ำกว่าท้องตลาดโดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมอันเป็นการเอาเปรียบแก่กรมการค้าต่างประเทศ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 เมื่อราคาข้าวในท้องตลาดลดลง รัฐวิสาหกิจผู้ซื้อข้าวก็จะไม่ยอมมารับข้าวตามสัญญา แต่มาขอทำสัญญาฉบับใหม่ซื้อข้าวชนิดเดียวกันในคาคาต่ำลงกว่าสัญญาเดิม โดยบุญทรงไม่เปิดประมูลขายข้าวภายในประเทศ ทำให้ข้าวในท้องตลาดขาดแคลน ผู้ประกอบการค้าข้าวไม่สามารถหาซื้อข้าวในท้องตลาดได้ จำต้องไปหาซื้อข้าวจากกลุ่มบริษัทและพนักงานของอภิชาติ ศาลเห็นว่าเป็นการซื้อโดยไม่ทราบว่าเป็นข้าวที่มาจากสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
 
== อ้างอิง ==