ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮนรี อาลาบาศเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
 
นอกจากนี้เฮนรีได้ถวายคำแนะนำในการพัฒนาประเทศด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้งวิชา[[การสำรวจรังวัด]] [[วิชาการทำแผนที่]]และวิชาการทำถนนซึ่งมีความจำเป็นมากในสมัยนั้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้นใน พ.ศ. 2418 โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เป็นหัวหน้ากอง กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วย พร้อมกับคนไทย 4 คน (ม.ร.ว. แดง เทวาธิราช นายทัด ศิริสัมพันธ์ นายสุด และ ม.ร.ว. เฉลิม) โดยเริ่มด้วยการสำรวจทำแผนที่กรุงเทพฯ เพื่อตัด[[ถนนเจริญกรุง]]และถนนอื่นๆ รวมทั้งงานทำแผนที่เพื่อวางสาย[[โทรเลข]]ไปยัง[[พระตะบอง]] แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม เพื่อการเดินเรือและเพื่อเตรียมการป้องกันการรุกรานของข้าศึกที่อาจมาทางทะเล ต่อมา นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในงานแผนที่จึงได้ถวายคำแนะนำให้ว่าจ้างช่างสำรวจรังวัดและทำแผนที่โดยตรงคือ นาย[[เจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี]] ผู้ช่วยช่างทำแผนที่จากกรมแผนที่แห่ง[[อินเดีย]] เข้ามารับราชการในกองทำแผนที่ตั้งแต่วันที่[[ 1 ตุลาคม]][[ พ.ศ. 2424]] (ขยายเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428)
 
  พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) ได้เขียนไว้ในเรื่อง“มูลเหตุจัดการกรม ไปรษณีย์โทรเลข พ.ศ. ๒๔๔๒” กล่าวถึงมิสเตอร์เฮนรี อาลาบาสเตอร์ ไว้ว่า
 
  “ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ ปรากฏว่ามีฝรั่งชาวอังกฤษ ชื่อมิสเตอร์เฮนรี อาละบาสเตอร์ ผู้หนึ่ง ซึ่งเคยรับราชการอังกฤษตำแหน่งราชทูตในราชสำนักไทยแล้วลาออกมารับราชการไทย มาถึงสมัยข้าพเจ้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้เคยเป็นครูข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้จักดีตลอดทั้งครอบครัว แลบุตรของเขาได้รับราชการกระทรวงมหาดไทยถึงเป็นตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลก็มี มิสเตอร์อาละบาสเตอร์นั้นเป็นคนอังกฤษแท้ รูปร่างสันทัด ตาเหล่เล็กน้อย เป็นผู้มีวิชาความรู้ดี เมื่อมีพระราชกิจในรัชกาลที่ ๕ อย่างไร ข้าพเจ้าได้ทราบว่ามีรับสั่งให้หาเขาเข้าไปเฝ้าเนืองๆ เขาชำนาญการกฎหมายนานาประเทศ การเมืองต่างประเทศ โบราณวัตถุ เมื่อเวลาข้าพเจ้ารู้จักเขานั้น ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่หน้าประตูพิมานไชยศรี ตรงที่ศาลาสหทัยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บัดนี้เรียกกันว่ามิวเซียม และเข้าใจกันว่าเป็นมิวเซียมแรกในเมืองไทยเรา ตั้งสำนักงานของเขาที่นั้น ข้าพเจ้าสังเกตดู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดและทรงนับถือมิสเตอร์อาละบาสเตอร์มาก ข้าพเจ้าเคยเห็นในเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปถึงหน้าสำนักงานของเขา เช่นเวลาเสด็จประพาสวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มิสเตอร์อาละบาสเตอร์ลงไปเฝ้าถวายความเคารพ เป็นหยุดกระบวนเสด็จ หยุดพระราชยาน รับสั่งทักทายปราศรัยมิสเตอร์อาละบาสเตอร์ทุกครั้ง เป็นเกียรติยศซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระราชทานแก่ผู้ใด”
 
===ผลงานสำคัญ===
ผลงานสำคัญของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์พอสรุปโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้
* พ.ศ. 2404 รังวัดในการตัดและเป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผัง[[ถนนเจริญกรุง]] ถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตกของประเทศไทย
 
* พ.ศ. 2417 ออกแบบและก่อสร้าง[[สวนสราญรมย์]] นำ[[กล้วยไม้]][[แคทลียา (พรรณไม้)|แคทลียา]] เข้ามาในประเทศไทย
* พ.ศ. 2417 นำ[[ล็อตเตอรี]] เข้ามาออกในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เพื่อระดมทุนช่วยเหลือพ่อค้าต่างชาติที่นำสินค้ามาแสดงในการจัด[[พิพิธภัณฑ์]]ที่ตึกคองคาเดีย พระบรมมหาราชวัง โดยกรมทหารมหาดเล็กเป็นผู้รับผิดชอบ
เส้น 25 ⟶ 31:
เฮนรี อาลาบาศเตอร์ สมรสกับคุณเพิ่ม สุภาพสตรีชาวไทย มีบุตรชาย 2 คนรับราชการในประเทศไทย ได้แก่มหาอำมาตย์ตรี [[พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์]] (ทองคำ เศวตศิลา) (ซึ่งเป็นบิดาของ[[พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา]] [[องคมนตรี]]) และ'''พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง''' (ทองย้อย เศวตศิลา)
 
นายเฮนรี อาลาบาสเตอร์รับราชการไทยได้เพียง ๑๐ ปีเศษ ก็เกิดป่วยเป็นอัมพาตอย่างกะทันหัน ขากรรไกรแข็งพูดไม่ได้ เพียง ๒ วันก็สิ้นใจในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสียพระทัยมาก มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ ตอนหนึ่งมีความว่า
เฮนรี อาลาบาศเตอร์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอายุเพียง 48 ปี แต่โดยที่นายเฮนรีได้ปฏิบัติราชการมีคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินมาก จึงได้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยโปรดปรานใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2427 ถึงภรรยาหม้ายของนายอาลาบาศเตอร์ สรรเสริญเกียรติคุณที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และโปรดให้เจ้าพนักงานจัดงานศพให้เสมอพระยาเอก ให้จัดทำ[[มณฑป]]แบบฝรั่งไว้ ณ ที่ฝังศพด้วย
 
 “ด้วยมิสเตอร์อาลบาสเตอร์ป่วยเป็นลมอำมพาธอย่างแรงที่สุด แต่คืนนี้เวลา ๑๐ ทุ่มไม่มีสติเลย มาจนเวลาวันนี้สองทุ่มตาย เป็นการขาดทุนยิ่งใหญ่ของเรา การทั้งปวงยังอะร้าอร่ามอยู่มาก มิสเตอร์อาลบาสเตอร์ได้รับราชการมาถึงสิบสามสิบสี่ปี ทำการใดซื่อตรงจงรักภักดีต่อไทยจริงๆ การใหญ่ๆ ก็ได้ปลุกมามาก จะหาคนนอกใช้ให้เสมอเหมือนยากนัก จะว่าโดยความชอบก็มีมากให้กินพานทองได้ทีเดียว....”
 
เฮนรี อาลาบาศเตอร์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอายุเพียง 48 ปี แต่โดยที่นายเฮนรีได้ปฏิบัติราชการมีคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินมาก จึงได้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยโปรดปรานใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2427 ถึงภรรยาหม้ายของนายอาลาบาศเตอร์ สรรเสริญเกียรติคุณที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และ สำแดงพระทัยโศกเศร้า พระราชทานเบี้ยเลี้ยงชีพตลอดเวลาที่ยังเป็นหม้ายอยู่ปีละ ๓๐๐ ปอนด์ คือสามสิบชั่ง หรือ ๒,๔๐๐ บาท กับพระราชทานให้เป็นส่วนเลี้ยงบุตรอีกปีละ ๒๐๐ ปอนด์ ทั้งยังมีพระบรมราชโองการโปรดให้เจ้าพนักงานจัดงานศพให้เสมอพระยาเอก ให้จัดทำ[[มณฑป]]แบบฝรั่งไว้ ณ ที่ฝังศพและปั้นรูปนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ด้วยหินปูน ตั้งไว้ในมณฑปนั้นด้วย
 
หลุมฝังศพของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ อยู่ที่[[สุสานโปรเตสแตนต์]] ถนนเจริญกรุง ยานนาวา กรุงเทพฯ