ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าสุภานุวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mekanourak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
|}}
[[ไฟล์:The_Red_Prince_Souphanouvong.jpg|thumb|150px|right|เจ้าสุภานุวงศ์ ขณะร่วมขบวนการปฏิวัติลาวสู่ระบอบสังคมนิยม]]
'''สาธุเจ้าชายอุดทอง สุภานุวงศ์''' ({{lang-lo|ສຸພານຸວົງ}}) หรือ '''เจ้าสุภานุวงศ์''' หรือ '''ประธานสุภานุวงศ์''' ({{lang-lo|ສຸພານຸວົງ}}) เกิดเมื่อวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2452]] ที่[[เมืองหลวงพระบาง]] เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง เป็น[[ประธานประเทศลาว|ประธานประเทศ]] (ประธานาธิบดี) [[สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว]] คนแรกหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก[[ราชอาณาจักรลาว|ราชอาณาจักร]]มาเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] ทั่วโลกรู้จักในสมญานาม "เจ้าชายแดง" หรือ "The Red Prince"
 
== ประวัติ ==
เจ้าสุภานุวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2452]] เป็นโอรส 1 ใน 23 พระองค์ ของสมเด็จเจ้ามหาอุปราชบุญคงแห่งหลวงพระบาง กับหม่อมคำอ้วน หม่อมห้ามลำดับที่ 11 เป็นพระอนุชาต่างชนนีกับ[[เจ้าเพชรราช]] และ[[เจ้าสุวรรณภูมา]]โอรสที่ประสูติจากพระชายาเอก และเจ้าสุวรรณราชโอรสที่ประสูติจากหม่อมห้ามลำดับที่ 9
 
เจ้าสุภานุวงศ์ได้รับการศึกษาจากพระอาจารย์ชาวฝรั่งเศสในหลวงพระบาง แล้วเสด็จไปศึกษาต่อที่สถาบันลีเซอัลแบร์ซาโร ที่[[ฮานอย]] ทำให้พระองค์มีความสัมพันธ์อย่างแน้นแฟ้นกับเวียดนามไปตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ตรัส[[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษาเวียดนาม]] และ[[ภาษาอังกฤษ]]ได้ดีเยี่ยม หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมการก่อสร้างทางและสะพานที่[[ปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]] ได้เสด็จกลับมาลาว และได้อภิเษกกับสตรีชาวเวียดนามชื่อ เหวียนธิ ซึ่งเป็นหลานสาวของ [[โฮจิมินห์]] ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น[[ภาษาลาว]]ว่า เวียงคำ สุภานุวงศ์ ({{lang-lo|ວຽງຄຳ ສຸພານຸວົງ}}) มีบุตรธิดารวม 10 คน เป็นชาย 8 คน และหญิง 2 คน
 
พระองค์ทรงเข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อเอกราช จนได้รับบาดเจ็บในการต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เมือง[[ท่าแขก]] ระหว่างหนีข้าม[[แม่น้ำโขง]]เข้ามายังฝั่งไทย ในปี [[พ.ศ. 2489]] ทรงก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวในพื้นที่ซำเหนือ ในปี [[พ.ศ. 2492]]ภายใต้การสนับสนุนของโฮจิมินห์ ซึ่งต่อมาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ต่อมาอีกสองปี ขบวนการประเทศลาวก็สามารถครองพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศได้ และตั้งฐานที่มั่นที่ยากแก่การทำลายในถ้ำหินปูนที่[[แขวงหัวพัน]]กับ[[พงสาลี]]
บรรทัด 31:
[[พ.ศ. 2496]] ฝรั่งเศสได้จัดตั้งรัฐบาลลาวขึ้น อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหลายท่านที่เป็นพวกอนุรักษนิยม ได้แก่เจ้าสุวรรณราช และเจ้าสุวรรณภูมา ส่วนพระองค์นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จนได้สมญานามว่า "เจ้าชายแดง"
 
ในปี พ.ศ. 2517 พระองค์เสด็จคืนเวียงจันทน์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาแห่งชาติอยู่ 18 เดือน จนสถาปนาประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" พระองค์ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศ และประธานสภาประชาชนสูงสุดคนแรก พร้อมกันนั้น พระองค์ได้สละฐานันดรศักดิ์ทั้งปวงในสมัยระบอบเก่า เจ้าสุภานุวงศ์เป็นที่รักของประชาชนชาวลาว จนเรียกขานกันว่า "ลุงประธาน" ทรงดำรงตำแหน่งประธานประเทศมาจนถึง [[พ.ศ. 2529]] จึงลาออกเพราะประชวร พระองค์ทรงปรากฏต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายในสมัยประชุมพรรคครั้งที่ 5 เมื่อเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2534]]
 
== บั้นปลายพระชนม์ชีพ ==
พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2538]] ที่นคร[[เวียงจันทน์]]
 
เจ้าสุภานุวงศ์ ดำรงตำแหน่งประธานประเทศมาจนถึง [[พ.ศ. 2529]] จึงได้วางมือจากการเมือง เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องกองทหารเวียดนามในประเทศ หลังจากนั้นปี [[พ.ศ. 2534]] จึงได้ออกจากตำแหน่งประธานประเทศ ในเวลาต่อมา คริสโตเฟอร์ เกรมเมอร์ (Christopher Kremmer) ผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลีย ได้ขอสัมภาษณ์พระองค์ในปี [[พ.ศ. 2536]] และได้ทำการตีพิมพ์คำพูดของเจ้าสุภานุวงศ์ในหนังสือ ''ตามรอยกษัตริย์แห่งช้าง (Stalking the Elephant king)'' ความว่า
 
{{คำพูด|เพราะข้าพเจ้า บูชาความสวยงามของแม่หญิง จึงกลายเป็นคนหูหนวกตาบอดในชีวิต มาบัดนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้ว่า เป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงในชีวิตข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่คิดว่า พวกเวียดมินห์ จะมีพฤติกรรมโหดร้ายถึงขนาดนี้ ต่อประเทศชาติและประชาชนลาวของพวกข้าพเจ้า ในช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าไปร่วมมือกับพวกเวียดมินห์ เพื่อทำการกู้ชาตินั้น ได้สัญญาว่า "เมื่อได้สงครามยุติลง คนเวียดนามก็ต้องกลับไปอยู่ประเทศเวียดนาม คนลาวก็ต้องกลับไปอยู่ประเทศลาว" ถึงว่า สัญญามิตรภาพ ลาว-เวียด เป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน ยังใช้ได้อยู่ก็ตาม ข้าพเจ้าไม่รู้ว่า เมื่อได้พวกเขาจะเอาร่างกายของข้าพเจ้าไปจุดเผา แต่พฤติกรรมที่พวกเขากระทำต่อประเทศชาติของพวกข้าพเจ้านั้นลบไม่ลงไปกับการหยุดลมหายใจและการเผาศพของข้าพเจ้า
 
ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถพูดออกมา มีแต่หนีมันไว้อยู่เบื้องหลังที่นั้น ดังนั้น ต่อหน้าสภาพการอันร้ายแรงของประเทศชาติบ้านเมืองลาวนี้ ข้าพเจ้าขอเรียกร้องมายังพี่น้องร่วมชาติทั้งหญิงชาย ลูกหลานทุกชนชาติชนเผ่าและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายที่สุขภาพเข้มแข็ง จึงมาร่วมจิตร่วมใจกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียว เพื่อชำระล้างโทษกรรมของข้าพเจ้าที่มีต่อประเทศชาติและประชาชนพลเมืองลาวเดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นผู้รักชาติ และเรือเพื่อผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนอีกแล้ว "เพราะถูกพวกเขาต้ม" เมื่อพวกลูกหลานได้ยิน ได้ฟัง หรือได้อ่านคำเรียกร้องนี้แล้ว จงรีบหันเปลี่ยนแนวคิดจิตใจไปสู่ทิศทางใหม่ เพื่อปกปักรักษาประเทศชาติ และทรัพย์สมบัติของชาติ ของประชาชน สำคัญที่สุด คือ ชีวิตของความเป็นลาวไว้ให้มั่นคง
 
พี้น้องร่วมชาติที่เคารพทั้งหลาย โดยเฉพาะพวกพี่น้องและลูกหลานที่อยู่ต่างประเทศเป็นผู้รักชาติอย่างแท้จริง พวกเจ้าเห็นการณ์ไกลและมีความรู้ ความฉลาดส่อง ความรักชาติของพวกเจ้านั้น มีมากมาย พวกเจ้าอย่าปล่อยให้ประเทศชาติตาย สำหรับพี่น้องลูกหลานที่อยู่ภายในประเทศ ต้องรีบปฏิรูปตัวเอง แล้วกอดรัดเข้ากันให้แน่น ก้าวเดินไปสู่ทิศทางใหม่ พิเศษสุดคือต้องเดินไปตามแนวคิดของพวกลูกหลานที่อยู่ต่างประเทศ ถ้าพวกเจ้าเข้าใจสภาพการบ้านเมืองดี และปฏิบัติตามคำเรียกร้องดังกล่าว พวกเจ้าต้องอยู่อย่างมั่นคงและมีเกียรติ ก่อนข้าพเจ้าจะสิ้นชีวิตได้ ขอฝาก ความเรียกร้องนี้ไว้ให้พี่น้องร่วมชาติทั้งหลายจงเอาใจใส่ สู้ชน ปฏิบัติ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ประเทศของพวกเรา จะต้องอยู่อย่างมั่นคง เป็นประเทศลาวต่อไป <ref>Stalking the elephant kings หน้า 96</ref>}}
 
พระองค์จึงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[9 มกราคม]] [[พ.ศ. 2538]] ที่นคร[[เวียงจันทน์]]
 
== ประวัติการศึกษา ==
เส้น 48 ⟶ 58:
* หอคอยน้ำเมืองฟานเทียต จังหวัดบิ่ญถ่วน ประเทศเวียดนาม เป็นหอคอยน้ำที่ออกแบบโดยเจ้าสุภานุวงศ์
* [http://thesis.swu.ac.th/swuarticle/Soc/Soc2541p55.pdf สัญญา ชีวะประเสริฐ. บทบาททางการเมืองของเจ้าสุพานุวง (ค.ศ.1945-1975). '''วารสารสังคมศาสตร์ มศว''' (2541), หน้า 55-80.]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{เริ่มกล่อง}}