ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
 
หลายสัปดาห์ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มขึ้น สหประชาชาติไม่ได้ตอบสนองต่อรายงานเกี่ยวกับการสะสมอาวุธของทหารบ้านชาวฮูตู อีกทั้งยังปฏิเสธข้อเสนอให้ออกคำสั่งห้ามดักล่วงหน้า แม้ว่า พ.ท. ดาลแลร์จะทำการเตือนสหประชาชาติหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในช่วงเวลาก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นมาจนถึงตอนที่เหตุการณ์กำลังดำเนินอยู่ แต่ทางสหประชาชาติก็ยังคงยืนกรานให้ยึดตาม[[กฎการปะทะ]]แบบเดิม ซึ่งทำให้กองกำลังรักษาความสงบของสหประชาชาติไม่สามารถที่จะทำการขัดขวางทหารบ้านฮูตูไม่ว่าในทางใด ๆ แม้กระทั่งปลดอาวุธ ยกเว้นเป็นเหตุให้ทหารสหประชาชาติต้องป้องกันตัวเอง ความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของสหประชาชาติที่ไม่สามารถทำการขัดขวางและยับยั้งการฆ่าได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพพอได้นำไปสู่การถกประเด็นว่าใครเป็นฝ่ายผิดกันแน่ในเวทีสากล ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส (ในฐานะที่มีสัมพันธ์กับรวันดาผ่านทางองค์กรชุมชนผู้พูด[[ภาษาฝรั่งเศส]]สากลหรือ[[ลาฟรังโคโฟนี]] - La Francophonie), ประเทศเบลเยียม (ในฐานะประเทศอดีตจ้าว[[อาณานิคม]]ของรวันดา) และประเทศสหรัฐอเมริกา (ในฐานะตำรวจโลก) ซึ่งรวมไปถึงระดับบุคคลที่ทำการร่างนโยบายขึ้นมาได้แก่[[ชาค-โรเจอร์ส บูห์-บูห์]] (Jacques-Roger Booh-Booh) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่ง[[ประเทศแคเมอรูน]]และหนึ่งในผู้นำภารกิจ UNAMIR และ[[ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา|ประธานาธิบดีสหรัฐฯ]] [[บิล คลินตัน]] ที่กล่าวถึงการเพิกเฉยของสหรัฐฯ ว่า "เป็นสิ่งที่น่าสลดที่สุดภายใต้การบริหารของผม"
 
เหตุผลใด ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่โหดเหี้ยมอย่างนั้นขึ้นได้ ไม่มีสิ่งใด นอกจาก "ความเกลียดชัง" และ "ความมัวเมาอำนาจ"ในช่วงที่ชาวรวันดารอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ แต่ความช่วยเหลือต่าง ๆ ชักช้า ไม่ทันการ อืดอาด มีแต่ช่วยกันระดมคนของชาติตนออกจากรวันดา ปล่อยให้ชาวรวันดาฆ่าฟันกันเอง เลือดนองแผ่นดิน
 
เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้จบลงในที่สุดเมื่อกลุ่มกบฏชาวเผ่าตุดซีชื่อว่าแนวร่วมผู้รักชาติชาวรวันดา (Rwandan Patriotic Front - RPF) ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้ง [[พอล คากาเม]] ได้ทำการล้มล้างรัฐบาลชาวฮูตูและเข้ายึดอำนาจ หลังจากนั้นในเวลาต่อมาก็มีผู้อพยพ และทหารบ้านฮูตูผู้พ่ายแพ้เป็นแสน ๆ คนก็ได้หลบหนีเข้าไปในประเทศซาอีร์ (Zaire ซึ่งก็คือ[[สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]]ในปัจจุบัน) ในภูมิภาคตะวันออกเนื่องจากกลัวการถูกล้างแค้นโดยชาวตุดซี หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความเกลียดชังและความรุนแรงระหว่างสองชนเผ่านี้ก็ลุกลามไปยังประเทศในภูมิภาค โดยเป็นเหตุให้เกิด[[สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง|สงครามคองโก]]ถึง[[สงครามคองโกครั้งที่สอง|สองครั้ง]] ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตั้งแต่ [[พ.ศ. 2539]] มาจนถึง [[พ.ศ. 2546]] (1996-2003) ความชิงชังและโกรธแค้นระหว่างสองชนเผ่ายังมีส่วนสำคัญในการเติมเชื้อปะทุความรุนแรงที่พัฒนามาเป็น[[สงครามกลางเมืองบุรุนดี|สงครามกลางเมือง]]ในประเทศบุรุนดีตั้งแต่ [[พ.ศ. 2536]] (1993) มาจนถึงเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2548]] (2005) อีกด้วย