ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัญชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24:
สารออกฤทธิ์ของกัญชาอยู่ที่ใบและช่อดอก ชื่อ tetrahydrocannabinol หรือ THC เป็นสารออกฤทธิ์ทางจิตและประสาท กล่าวกันว่าพระนางเจ้าวิคทอเรียแห่งประเทศอังกฤษ ทรงเคยใช้สารสกัดจากกัญชารักษาพระอาการปวดก่อนมีประจำเดือน นอกนั้นสารสกัดยังใช้เป็นยารักษาโรคอีกหลายอย่าง และยังพบว่าสารสกัดจากกัญชาใช้บรรเทาอาการผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งทั้งดีและถูก
จากการศึกษาข้อดีของกัญชา พบว่า การทำสารระเหยจากใบกัญชาแทนที่การเผามัน จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ของกัญชาเกิดประสิทธิภาพได้ โดยการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพิษที่เกิดจากการสูดดมควันของมัน ผลการศึกษาอาจเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ใช้กัญชาในทางการแพทย์ ผลประโยชน์ที่สำคัญของกัญชา รวมถึงการบรรเทาอาการเจ็บปวดจากหลายๆ โรค ใช้รักษาโรคต้อหิน ใช้กระตุ้นความอยากอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ และใช้เป็นยาแก้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด แต่การสูบกัญชาไม่ใช่วิธีที่ดีของการให้ยานี้เพราะว่ามีผลเสียที่อันตราย เช่นโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจ นอกจากการสูบแล้ว บางคนยังใช้ใบกัญชามาใช้ในการทำเป็นชาหรือใส่ในเค้กเพื่อการบริโภค แต่นั่นหมายความว่าสารสำคัญของมันจะถูกเมตาบอไลท์โดยตับมากกว่าที่จะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดโดยตรงโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง วิธีการอื่นๆ ได้เน้นไปที่ การสกัดส่วนประกอบสำคัญเช่น tetrahydrocannabinol หรือ THC และให้โดยตรงโดยทำให้อยู่ในรูปของยาเม็ดหรือสเปรย์ฉีดพ่นเข้าทางปาก อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายคิดว่าการสกัดแยกเอาส่วนประกอบออกมาจะไม่มีฤทธิ์ในทางรักษาได้เท่ากับการใช้พืชทั้งต้นและมันก็เป็นการยากที่จะกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้ด้วยการให้กินยาเม็ด Donald Abrams จาก University of California ซานฟรานซิสโก และทีมของเขาได้ตัดสินใจที่จะทำการศึกษาผลดีของเครื่อง ‘Volcano’ ที่ใช้ทำให้สารระเหยเป็นไอ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เครื่องมือนี้จะทำการให้ความร้อนใบกัญชาที่อุณหภูมิระหว่าง 180-200 องศาเซลเซียส ดังนั้นสาร THC จึงระเหยออกจากน้ำมันบนพื้นผิวของใบที่ยังไม่เกิดกระบวนการเผาใหม่ การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึง อันตรายของสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาขณะที่มีการสูบกัญชา เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอ๊อกไซม์ (carbon monoxide), เบนซีน (benzene) และสารที่เป็นต้นกำเนิดของสารพวก polycyclic aromatic hydrocarbons หรือที่เรียกว่าสารก่อมะเร็ง (carcinogens) สารเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าใช้เครื่องมือดังกล่าว
สเปนพบสารออกฤทธิ์ในกัญชา ต้านเซลล์มะเร็งในสมองได้ ถึงจะเป็นพืชอันตราย ที่ทำให้ผู้เสพเกิดอาการประสาทหลอน แต่นักวิทย์สเปนกลับพบว่า สารสำคัญในกัญชามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง123456789ในสมองได้ดี โดยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งทำลายตัวเอง อนาคตหวังพัฒนายาต้านมะเร็งจากพืชยาเสพติดชนิดดังกล่าว
 
กิลเลอร์โม เวลาสโก (Guillermo Velasco) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอมพลูเทนส์ (Complutense University) ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน และคณะ ค้นพบว่า สารสำคัญในกัญชา (marijuana) มีฤทธิ์ยังยั้งเซลล์มะเร็งสมองได้ ทำให้นักวิจัยมีความหวังในการพัฒนายาต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในอนาคต ซึ่งเอเอฟพีรายงานว่า นักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานดังกล่าวในวารสาร เจอร์นัล ออฟ คลินิคัล อินเวสติเกชัน (Journal of Clinical Investigation) ของสหรัฐฯ ฉบับเดือนเมษายน 2552
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กัญชา"