ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาพุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 171.96.184.240 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
เคยได้ยินว่า ศาสนาคือการขายตรง ท่าจะจริง
บรรทัด 144:
== ศาสนสถาน ==
[[วัด]]อันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระ[[ภิกษุ]] [[สามเณร]]ตลอดจน [[แม่ชี]] เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น [[การทำวัตร]]เช้าและเย็น และ[[สังฆกรรม]]ในพระ[[อุโบสถ]] อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมเช่นการ[[เวียนเทียน]]เป็นต้นในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมในทางช่วยกันส่งเสริมพุทธศาสนาเช่นการมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของ[[พุทธศาสนิกชน]] อีกด้วย
สำหรับประเทศไทย [[วัด]]จะมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ พระ[[อุโบสถ]] หรือ โบสถ์ ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมต่างๆ [[กุฏิ]] ใช้เป็นที่จำวัดของ[[ภิกษุ]]/[[สามเณร]] บางวัดอาจมี [[ศาลาการเปรียญ]] เพิ่มเติม สำหรับใช้เป็นที่ทำบุญในวันพระและโรงเรียนพระปริยัติธรรมไว้ใช้ศึกษาธรรมะของภิกษุ/สามเณร [[วิหาร]] สถานที่เก็บพระพุทธรูปสำคัญ [[มณฑป]] สถานที่เปิดให้แสดงการสักการะต่อรูปเหมือนพระสงฆ์ที่น่านับถือ หอสวดมนต์ สถานที่ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น [[เมรุ]] ที่กระทำการฌาปนกิจศพ (เผาศพ) ศาลาธรรมสังเวช สถานที่ประกอบพิธีกรรมแก่ผู้ล่างลับ หอไตร ที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและหนังสือทางพุทธศาสนาและหอระฆัง เป็นต้น
 
[[เจดีย์]]/[[สถูป]] เป็น [[สังเวชนียสถาน]] เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือบรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]] ในประเทศไทย มีเจดีย์สำคัญๆ หลายๆ แห่ง อาทิ [[พระปฐมเจดีย์]] ที่จังหวัดนครปฐม
 
== พิธีกรรม ==
{{โครงส่วน}}
[[พิธีกรรม]]ต่างๆในทางศาสนาพุทธรวมเรียกว่า[[ศาสนพิธี]]ในทางพุทธศาสนาพิธีกรรมที่มี[[บัญญัติ_(พุทธศาสนา)|บัญญัติ]]ไว้เป็นอย่างเป็นหลักการคือสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ และพิธีกรรมที่มีมาตาม[[วัฒนธรรม]]คือ[[อัญชลี]] (การประนมมือ) [[วันทา]] (การไหว้) และ[[อภิวาท]] (การกราบ) รวมถึงการเวียนประทักษิณ (เดินวนขวาสามรอบหรือการ[[เวียนเทียน]]) และการพรมน้ำมนต์ เนื่องจากศาสนาพุทธถือว่าพิธีกรรมเป็นเพียงอุบายในการช่วยให้เข้าสู่ความดีในผู้ที่ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ทางศาสนา จึงไม่จำกัดหรือเจาะจงแน่ชัดลงไป ดังนั้นพิธีกรรมของชาวพุทธจึงมีความยืดหยุ่นและเป็นไปตามวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆตามความชอบของสังคมนั้น ทำให้[[ประเพณี]]ชาวพุทธทั่วโลกจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน อันเนื่องจากพุทธไม่ถือว่าวัฒนธรรมตนเป็นวัฒนธรรมเอกและเห็นวัฒนธรรมอื่นเป็นวัฒนธรรมรองจนต้องทำลายหรือดูดกลืนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ใจกว้างในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยินดีในความหลากหลายทางประเพณี ยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างของกันและกันได้ดี
 
== ลักษณะเด่น ==
[[ไฟล์:Student pays respect to the Buddha.jpg|thumb|left|150px|ลักษณะเด่นของพุทธศาสนาที่สำคัญคือ ไม่มี[[พระผู้เป็นเจ้า]]และไม่มีการบังคับศรัทธา แต่พุทธศาสนิกชนบางคนยังไม่เข้าใจในศาสนาพุทธอย่างถ่องแท้ เอาแต่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์]]
 
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เกิดในยุคที่สังคมอินเดียมีสภาพการณ์หลายอย่างที่วุ่นวาย เช่น มีการแบ่งแยกกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของ[[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน ถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด มีความแตกต่างกันทางฐานะอย่างมากมาย (มีทั้งเศรษฐีมหาศาลและคนยากขาดแคลน) และลัทธิ ความเชื่อ ศาสดา อาจารย์เกิดขึ้นมากมาย ที่สอนหลักการยึดถือปฏิบัติอย่างผิดพลาด หรือสุดโต่ง เช่น การใช้[[สัตว์]]เป็นจำนวนมากเพื่อบวงสรวง[[บูชายัญ]] การบำเพ็ญทุกรกิริยาของนักบวชบางพวก การปล่อยชีวิตให้เป็นไปโดยไม่แก้ไขถือว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า รวมถึงการกีดกันไม่ให้คนบางพวก บางกลุ่มเข้าถึงหลักการ หลักคำสอนของตนได้ เนื่องจากข้อจำกัดของชาติกำเนิด ฐานะ เพศ เป็นต้น แต่พุทธศาสนาเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดได้เสมอกัน โดยไม่แบ่งแยกตามชั้นวรรณะ จึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคม[[อินเดีย]]โบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น
 
=== ศาสนาแห่งเหตุผล ===
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ ให้เสรีภาพในการพิจารณา ให้ใช้ปัญญาเหนือศรัทธา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการศึกษา และการแสวงหาความจริง และส่งเสริมให้ศาสนิกชน พิสูจน์ หลักธรรมนั้นด้วยปัญญาของตนเอง ไม่สอนให้เชื่อง่ายโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน เช่น หลัก[[กาลามสูตร]]
 
=== ศาสนาแห่งอิสรภาพและเสรีภาพ ===
พุทธศาสนาไม่มีการบังคับ ให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่ท้าทายให้เข้ามาเรียนรู้ และพิสูจน์หลักธรรม ด้วยตนเอง ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ทำให้ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา ทั้งจุดมุ่งหมายเป็นอิสระจากกิเลสตัณหาและมายาสิ่งสมมุติทั้งปวง
 
ในอีกนัยหนึ่ง พุทธศาสนา สอนว่าทุกคนมีอิสระ และเสรีที่จะเลือกทำ เลือกเป็น เลือกสร้าง โลก ได้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง โดยการสร้างเหตุ และเตรียมปัจจัยให้พร้อม ที่จะทำให้เกิดผลอย่างที่ต้องการ (เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม ผลก็จะเกิดขึ้น) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ การดลบันดาลของใคร หรือกรรมเก่า (ที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง หรือเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น)
 
=== ศาสนาอเทวนิยม ===
เพราะเหตุว่าศาสนาพุทธไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ไม่ยอมรับในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีจริง จึงจัดอยู่ในศาสนาประเภท อเทวนิยม ในความหมายที่ว่าไม่เชื่อว่า พระเจ้าบันดาลทุกสรรพสิ่ง ไม่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือ[[พระเป็นเจ้า|พระเจ้า]] ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล และพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน ทรงบากบั่นละกิเลสโดยพระองค์เอง บริสุทธิ์ด้วยความเพียรของพระองค์เอง และไม่อ้างว่าเป็นทูตของพระเจ้าใดๆ
แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าผู้สร้างของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ดังคำพุทธพจน์ที่ว่า '''ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน '''
 
=== ศาสนาแห่งสันติภาพ ===
ในกระบวนการนักคิดของโลก ศาสนาพุทธได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของพุทธศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ สอนให้มีความรักต่อสรรพชีวิตใดๆไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหมด ที่ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย รักสุข-เกลียดทุกข์เช่นเดียวกับเรา สอนให้เมตตาทั้งผู้อื่นและตัวเอง สอนให้รักษาปกป้องสิทธิของตนเองและไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สหประชาชาติจึงยกย่องให้วัน[[วิสาขบูชา]]เป็นวันสันติภาพโลก
 
== นิกาย ==