ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รำมะนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''รำมะนา''' เป็น[[กลอง]]ที่ขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองที่ขึงหนังผายออก ตัวกลองสั้น รูปร่างคล้ายชามกกะละมังกะละมัง มีอยู่ 2 ชนิด คือ '''"รำมะนามโหรี'''" และ '''"รำมะนาลำตัด'''"
 
'''รำมะนามโหรี''' มีขนาดเล็ก หน้ากว้างประมาณ 26 ซม ตัวรำมะนายาว ประมาณ 7 ซม หนังที่ขึ้นหน้าตรึงด้วยหมุดโดยรอบ จะเร่งหรือลดเสียงให้สูงต่ำไม่ได้ แต่มีเชือกเส้นหนึ่งที่เรียกว่า '''สนับ''' สำหรับหนุนข้างในโดยรอบ ช่วยทำให้เสียงสูงได้ บรรเลงใช้ตีด้วยฝ่ามือคู่กับ[[โทน|โทนมโหรี]]
 
ส่วน '''รำมะนาลำตัด''' มีขนาดใหญ่ หน้ากว้างประมาณ 48 [[เซนติเมตร|ซม.]] ตัวรำมะนายาวประมาณ 13 ซม. ขึ้นหนังหน้าเดียว โดยใช้เส้น[[หวาย]]ผ่าซีกโยงระหว่างขอบปน้ากับวงเหล็กซึ่งรองก้นใช้เป็นขอบ ของตัวรำมะนา และใช้ลิ่มหลายๆ อันตอกเร่งเสียงระหว่างวงเหล็กกับก้นรำมะนา รำมะนาชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก[[ประเทศอินโดนีเซีย|ชวา]]และเข้ามาแพร่หลายในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] ใช้ประกอบการเล่น[[ลำตัด]]และ[[ลิเกลำตัด]] ในการประกอบการเล่นลำตัดนั้นจะใช้รำมะนากี่ลูกก็ได้ โดยให้คนตีนั่งล้อมวงและเป็นลูกคู่ร้องไปด้วย
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/รำมะนา"