ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
ให้ความสนใจส่วนหัว เชิงอรรถและส่วนจัดรูปแบบอื่นที่อาจสนับสนุนมุมมองหนึ่งเกินไป และระวังแง่มุมโครงสร้างหรือลีลาที่อาจทำให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของมุมมองทั้งหมดที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างยุติธรรมและเสมอภาคได้ยาก
 
=== น้ำหนักที่น้อยเกินไปเหมาะสมและไม่เหมาะสม ===
ความเป็นกลางกำหนดให้แต่ละบทความหรือหน้าอื่นในเนมสเปซบทความนำเสนอทุกมุมมองสำคัญที่แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือจัดพิมพ์ เป็นสัดส่วนกับความโดดเด่นของแต่ละมุมมองในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือตีพิมพ์ การให้น้ำหนักที่เหมาะสมและเลี่ยงการให้น้ำหนักที่ไม่เหมาะสม หมายความว่า บทความไม่ควรให้มุมมองหรือความเชื่อข้างน้อยมีคำอธิบายละเอียดหรือมากเท่ามุมมองที่ยึดถือกันอย่างกว้างขวางหรือความเชื่อที่ได้รับการสนับสนุนเป็นวงกว้าง โดยทั่วไป มุมมองฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่งไม่ควรรวมอยู่โดยสิ้นเชิง ยกเว้น อาจใน "ดูเพิ่ม" ไปยังบทความเกี่ยวกับมุมมองเฉพาะเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น บทความ[[โลก]] ไม่ควรกล่าวถึงการสนับสนุนมโนทัศน์โลกแบนสมัยใหม่ อันเป็นมุมมองฝ่ายข้างน้อยที่โดดเด่น การทำเช่นนั้นจะให้น้ำหนักไม่เหมาะสมแก่มุมมองนั้น
'''ต่อไปจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่สำคัญ''' บทความที่เปรียบเทียบมุมมองหลายๆ มุม ไม่จำเป็นจะต้องอธิบายหรือให้รายละเอียดกับกลุ่มของมุมมองส่วนน้อยเท่ากับมุมมองอื่นๆ ที่มีผู้เชื่อถือมากกว่า เราไม่จำเป็นต้องพยายามนำเสนอการโต้แย้งราวกับว่ามุมมองที่มีผู้เชื่อถือน้อยนั้น ควรได้รับความสนใจเท่าๆ กับมุมมองอื่นๆ ที่มีผู้เชื่อถือมากกว่า ถ้าเราจะนำเสนอข้อโต้เถียงอย่างเป็นธรรม เราควรจะเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันในสัดส่วนตามจำนวนตัวแทนของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือสัดส่วนของกลุ่มที่สนใจ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การกล่าวว่ามุมมองข้างน้อยจะไม่ควรได้รับความสนใจมากเท่าที่เราจะทำได้ ในบทความที่กล่าวถึงมุมมองนั้นๆ โดยเฉพาะ เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดในวิกิพีเดีย แต่กระทั่งในบทความนั้น แม้ว่ามุมมองดังกล่าวจะเขียนออกมาอย่างละเอียด เราจะต้องระวังไม่ให้เกิดการนำเสนอว่ามุมมองดังกล่าวเป็น ''ความจริงแท้'' ด้วยเช่นกัน
 
น้ำหนักไม่เหมาะสมสามารถให้ได้หลายทาง เช่น ความลึกของรายละเอียด คุณภาพข้อความ ความเด่นของการจัดวาง และการวางถ้อยแถลงเทียบเคียง ในบทความที่เกี่ยวข้องกับมุมมองฝ่ายข้างน้อยอย่างเจาะจง มุมมองดังกล่าวอาจได้รับความสนใจและพื้นที่มากขึ้น ทว่า หน้าเหล่านั้นยังควรอ้างอิงอย่างเหมาะสมถึงมุมมองฝ่ายข้างมากเมื่อมีความสัมพันธ์และต้องไม่นำเสนอเนื้อหาจากทัศนะฝ่ายข้างน้อยโดยเคร่งครัด ควรให้ชัดเจนเจาะจงว่าขอความส่วนใดอธิบายมุมมองฝ่ายข้างน้อย นอกเหนือจากนี้ มุมมองฝ่ายข้างมากควรอธิบายในรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจว่ามุมมองฝ่ายข้างน้อยแตกต่างจากมุมมองนั้นอย่างไร และข้อโต้เถียงเกี่ยวกับมุมมองของฝ่ายข้างน้อยควรระบุและอธิบายให้ชัดเจน ต้องการรายละเอียดมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง ตัวอย่างเช่น บทความว่าด้วยมุมมองในอดีต เช่น โลกแบน ซึ่งมีผู้สนับสนุนสมัยใหม่น้อยหรือไม่มีเลย อาจระบุฐานะสมัยใหม่โดยย่อ แล้วค่อยอภิปรายประวัติศาสตร์ของความคิดนั้นในรายละเอียด ซึ่งนำเสนอประวัติศาสตร์ของความเชื่อที่ปัจจุบันเสื่อมความน่าเชื่อถือแล้วอย่างเป็นกลาง มุมมองฝ่ายข้างน้อยอื่นอาจต้องการการพรรณนามุมมองฝ่ายข้างมากอย่างกว้างขวางเพื่อเลี่ยงการชี้นำผู้อ่านให้เข้าใจผิด
 
:จาก [[จิมโบ เวลส์]], กรกฎาคม 2003 ในกลุ่มจดหมาย