ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ประวัติ: ละเมิดเนื้อหา http://buca.bu.ac.th/about.html
ไม่เป็นสารานุกรมและละเมิดเนื้อหา https://m.facebook.com/notes/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E
บรรทัด 17:
}}
'''คณะนิเทศศาสตร์''' [[มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]] เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์
 
== หน่วยงานและหลักสูตร<ref>เว็บไซค์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://buca.bu.ac.th/undergrad.html#</ref> ==
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดสอน 12 สาขาวิชา ใน 7 ภาควิชา ได้แก่
 
<br clear="all"/>
{| class="toccolours" width = 100%
|-
! style="background: darkblue; color: white; "| หน่วยงาน
! style="background: darkblue; color: white; "| ระดับปริญญาตรี
|-
| valign = "top" style="background: #E0FFFF" | '''ภาควิชาการประชาสัมพันธ์'''
| valign = "top" style="background: #E0FFFF" | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
|-
| valign = "top" style="background: #ADD8E6" | '''ภาควิชาวารสารศาสตร์'''
| valign = "top" style="background: #ADD8E6" | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาวิชาสาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Journalism)
* สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ (Broadcast Journalism)
|-
| valign = "top" style="background: #E0FFFF" | '''ภาควิชาการโฆษณา'''
| valign = "top" style="background: #E0FFFF" | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาวิชาการสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative Advertising)
* สาขาวิชาการโฆษณาเชิงกลยุทธ์ (Strategic Advertising)
|-
| valign = "top" style="background: #ADD8E6" | '''ภาควิชาศิลปะการแสดง'''
| valign = "top" style="background: #ADD8E6" | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาทักษะสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง
» กลุ่มเน้นทักษะการแสดงและการกำกับการแสดง/ขับร้องและดนตรี/นาฏลีลา/การบริหารจัดการศิลปะการแสดง
» กลุ่มเน้นทักษะการเขียนบท
» กลุ่มเน้นทักษะการออกแบบเพื่อการแสดง
» กลุ่มเน้นทักษะศิลปะการละครเพื่อการพัฒนา
* สาขาศิลปะการแสดงนานาชาติ
» กลุ่มเน้นความชำนาญศิลปะการแสดงศึกษา
» กลุ่มเน้นความชำนาญวรรณกรรมการละครและนาฏกรรมพินิจ
|-
| valign = "top" style="background: #E0FFFF" | '''ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ '''
| valign = "top" style="background: #E0FFFF" | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting)
|-
| valign = "top" style="background: #ADD8E6" | '''ภาควิชาการสื่อสารแบรนด์'''
| valign = "top" style="background: #ADD8E6" | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์ (Brand Communications)
|-
| valign = "top" style="background: #E0FFFF " | '''ภาควิชาภาพยนตร์'''
| valign = "top" style="background: #E0FFFF " | '''นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) / Bachelor of Arts (B.A.)(Communication Arts)'''
* สาขาวิชาการผลิตภาพยนตร์ (Film Production)
* สาขาวิชาการบริหารงานภาพยนตร์ (Film Administration)
* สาขาวิชาภาพยนตร์ศึกษา (Film Studies)
|-
|}
 
=== ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations) ===
ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จัดการเรียนการสอน '''สาขาการประชาสัมพันธ์''' โดยเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบสนองความหลากหลายของสังคมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแบบบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง สังคม และวัฒนธรรม
 
จากการที่ภาควิชาการประชาสัมพันธได้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความสามารถอันหลากหลายเพื่อตอบสนอง ความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน หลักสูตรของภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จึงประกอบด้วยรายวิชาต่าง ๆ ดังเช่น หลักการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่และการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ การวางแผนการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ การผลิตสื่อและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด การจัดกิจกรรมพิเศษ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ การสื่อสารเพื่อสร้างเอกลักษณะและภาพลักษณะขององค์กร การบริหารประเด็นและการสื่อสารในภาวะวิกฤต การประชาสัมพันธ์เพื่อการเมือง การบริหารความสัมพันธ์แบบบูรณาการ การประชาสัมพันธ์ระดับสากล เป็นต้น
 
=== ภาควิชาวารสารศาสตร์ (Journalism) ===
เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ '''สาขาวิชาวารสารศาตร์สื่อสิ่งพิมพ์''' และ '''สาขาวิชาวารสารศาสตร์สื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์''' มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ฝึกฝนพัฒนาทักษะและความชำนาญเพื่อพร้อมที่จะก้าวออกไปประกอบอาชีพร่รสนองต่อตลาดแรงงานในสาขาวิชาชีพด้านวารสาร โดยผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์สิ่งพิมพ์ ที่มีรายวิชาที่เน้นหนักไปทางด้านงานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทั้งในรูปแบบของการผลิตเนื้อหา เช่น งานข่าว งานบทความและสารคดี ไปจนถึงการผลิตและออกแบบจัดทำหนังสือพิมพ์และนิตยสาร หรือจะเลือกศึกษาทางวารสารศาสตร์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำงานวารสารศาสตร์ในรูปของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ อันเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากนั้นนักศึกษายังมีโอกาสที่จะเลือกศึกษาในรายวิชาต่างๆ อาทิ วารสารศาสตร์ออนไลน์ การรายงานข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง การบริหารสื่อวารสารศาสตร์ การถ่ายภาพวารสารศาสตร์ การจัดการข้อมูลดิจิตอลก่อนการพิมพ์ ฯลฯ
0100
 
=== ภาควิชาการโฆษณา (Advertising) ===
เปิดสอนใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ '''สาขาวิชาการสร้างสรรค์งานโฆษณา''' และ '''สาขาวิชาการโฆษณาเชิงกลยุทธ์''' หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเน้นหนักด้านการสร้างสรรค์ หรือด้านการจัดการ รวมถึงกิจกรรมวิชาการประจำปี อาทิ งานนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 (MADD Awards) โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Creative Workshop และ Client Service Workshop สาขาวิชาโฆษณาจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการวิเคราะห์ วิจัย วางแผน บริหาร สร้างสรรค์และผลิตผลงานโฆษณาอันทรงประสิทธิภาพภายใต้กรอบจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆษณา
 
=== ภาควิชาศิลปะการแสดง(Performing Arts) ===
มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่บุกเบิกการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงในระดับปริญญาตรี เอกลักษณ์สำคัญของสาขาวิชาศิลปะการแสดง คือ การเรียนที่เน้นทักษะปฏิบัติของนักศึกษา ผสมผสานทฤษฎีและสุนทรียะ มุ่งสร้างบุคลากรที่รอบรู้และเชี่ยว ชาญในสายงานการแสดงด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของวงการศิลปะบันเทิง เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละวิชาได้รับการพัฒนาเพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์สูงสุด ด้วยการจัดการเรียนการสอนและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ อีกทั้งยังจัดให้มีโครงการการแสดงต่าง ๆ เพื่อเสริมหลักสูตรโดยมีศิลปินรับเชิญทั้งในและต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์และกระบวนการผลิตอย่างเต็มที่
 
=== ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting) ===
เปิดสอนสาขา '''สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์''' ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการเป็นผู้ผลิตรายการในยุคของการพัฒนาสื่อด้วยความรู้ภาคทฤษฎีและประสบการณ์ภาคปฏิบัติอย่างครบถ้วน นักศึกษามีโอกาสฝึกนำทฤษฎีไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตรายการ เช่น รายการข่าว รายการสารคดี รายการละคร และรายการบันเทิงอื่น ๆ โดยอยู่บนพื้นฐานแห่งจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนสทั้งยังเป็นผู้มีความรู้เท่าทันเหตุการณ์และสภาวะความเคลื่อนไหวในโลกซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของนักสื่อสารมวลชนที่ดี
 
=== ภาควิชาการสื่อสารแบรนด์(Brand Communications) ===
ปัจจุบันการสร้างและสื่อสารแบรนด์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในแวดวงธุรกิจ ด้วยเหตุที่ว่า สินค้าสามารถถูกพัฒนาเลียนแบบขึ้นมาได้อย่างเท่าเทียมกัน ทางเลือกในการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคมีมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจแทบทุกธุรกิจจึงต้องสร้างทรัพย์สินที่มีคุณค่าของตนเองขึ้นมา และทรัพย์สินดังกล่าวก็คือ แบรนด์หรือแบรนด์ สาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อมุ่งเตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎี แนวคิด หลักการและวิชาชีพด้านการสื่อสารแบรนด์ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงกลยุทธ์ในการทำให้ผู้บริโภคเกิดความรัก ชื่นชม ศรัทธาในแบรนด์จนนำมาซึ่งการซื้ออีกทั้งเกิดความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว การเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อแบรนด์เกิดวิกฤติขึ้น วิธีการชุบชีวิตใหม่ให้กับแบรนด์ที่ประสบปัญหาด้านยอดขายและภาพลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ถึงวิธีการทำความเข้าใจเชิงลึก (Insight) ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ที่เรียนในสาขาวิชานี้จะได้เรียนรู้เครื่องมือการสื่อสารแบรนด์แบบ 360 องศา อาทิ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมการตลาด การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรง การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง การออกแบบเอกลักษณ์ (อาทิ การออกแบบ โลโก้ สโลแกน ชุดพนักงาน บรรยากาศภายในสำนักงานหรือร้านค้า การกำหนดเอกลักษณ์ด้านสี) เพื่อให้แบรนด์มีความโดดเด่น เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือการสื่อสารเหล่านี้จะมีส่วนผลักดันให้ธุรกิจและแบรนด์นั้นๆ ประสบความสำเร็จได้ โดยเนื้อหาที่กล่าวมาได้ถูกบรรจุไว้ในรายวิชาต่างๆ ที่มีการปรับให้ทันสมัยและทันต่อความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน สาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์ จึงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการทำงานในแวดวงธุรกิจ การตลาด ด้วยการนำศาสตร์ทางด้านการสื่อสารแบรนด์ การนำเครื่องมือการสื่อสารต่างๆ ที่ครบวงจรไปผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้นสามารถนำหลักการ ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า (Product Branding) สร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจบริการ (Service Branding) สร้างแบรนด์ให้กับบุคคล (Personal Branding) สร้างแบรนด์ให้กับสถานที่ (Place Branding) สร้างแบรนด์ให้กับกิจกรรม (Event Branding) ได้อีกด้วย
 
=== ภาควิชาภาพยนตร์ (Film) ===
เปิดสอนใน '''สาขาวิชาการผลิตภาพยนตร์ สาขาวิชาการบริหารงานภาพยนตร์ และสาขาวิชาภาพยนตร์ศึกษา''' ผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีไฟในการสร้างสรรค์ พร้อมที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้ก้าวไปสู่เวทีสากล ภาควิชาภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นความเชี่ยวชาญใน 3 ด้าน
# การผลิตภาพยนตร์ มุ่งเน้นกระบวนการผลิต การเขียนบท การกำกับภาพ การกำกับนักแสดง การกำกับศิลป์ และกระบวนการหลังการถ่ายทำ เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยทั้งในกระแส และนอกกระแส
# การบริหารงานภาพยนตร์ มุ่งเน้นการประกอบอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในภาพกว้าง ทั้งการดำเนินงานสร้างภาพยนตร์ การบริหารจัดการกองถ่ายภาพยนตร์ การจัดเทศกาลภาพยนตร์นักเรียนนักศึกษานานาชาติประจำปี (Bangkok International Student Film Festival: BISFF) ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดฉายภาพยนตร์สั้นจากสถาบันสอนภาพยนตร์หลากหลายประเทศ การสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ
# ภาพยนตร์ศึกษา มุ่งเน้นการวิเคราะห์วิจารณ์ภาพยนตร์ การศึกษาภาพยนตร์ในฐานะสื่อที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลก ตลอดจนผลิตนิตยสารภาพยนตร์ประจำปี
นอกจากนี้ภาควิชาฯ มุ่งสร้างผลงานภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์และคุณภาพด้านบทภาพยนตร์ การแสดง การกำกับการแสดง เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะทั้งด้านการผลิต การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์วิจารณ์ เพื่อรองรับความต้องการระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมภาพยนตร์
 
== อ้างอิง ==