ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
}}
'''โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย''' ({{lang-en|Thailand High-speed Rail Project}}) เป็นโครงการ[[เมกะโปรเจกต์]]ของประเทศไทยในการก่อสร้างระบบ[[รถไฟความเร็วสูง]] มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของ[[อินโดจีน]] มีเป้าหมายในการก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
*ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ไต่สวนคำร้องพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
== ประวัติ ==
เส้น 53 ⟶ 52:
[[พ.ศ. 2555]] ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ 1 ในพื้นที่[[จังหวัดเชียงใหม่]] วันที่ 14-15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณส่วนหนึ่งให้สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ 2 ในพื้นที่[[จังหวัดอุดรธานี]] วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย
 
[[พ.ศ. 2556]] รัฐบาลไทยได้ยกร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินราวเงินฯ จำนวน 2 ล้านล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาระบบ[[โครงสร้างพื้นฐาน]]ของประเทศ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของพรบ. โดยมีแนวทางที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของระบบรางและให้[[สัมปทาน]]การดำเนินงานแก่เอกชน วางแผนให้สามารถทำการประกวดราคาได้ภายในไตรมาส 1/2557 ซึ่งพ.ร.บ. ได้ผ่านรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม [[พรรคประชาธิปัตย์]]ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการออกพ.ร.บ. นี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในวันที่ 12 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
 
[[มกราคม]] [[พ.ศ. 2557]] [[คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2550|ศาลรัฐธรรมนูญ]] ได้ไต่สวนคำร้องพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อเงินกู้ตามร่างพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นเงินแผ่นดิน การใช้จ่ายจึงต้องขึ้นอยู่ในบังคับแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณ หรือ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติและต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติม หรือ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนสงของประเทศตามที่ร่างพ.ร.บ.นี้มุ่งประสงค์ ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
 
การใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง เพื่อรักษาเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้น การที่ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน บัญญัติให้เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และบัญญัติให้คณะรัฐมนตรี รายงานการกู้เงิน ผลการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินการตามแผนงานในแต่ละยุทธศาสตร์ต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อรับทราบเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากที่พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณพ.ศ.2502อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินแผ่นดินบัญญัติไว้ ทำให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยกรอบวินัยการเงินการคลังดังที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ร่างพ.ร.บ.ในส่วนดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีผลให้ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านเป็นอันตกไป ในวันที่ 12 มีนาคม 2557
 
== สายเหนือ (กรุงเทพ - เชียงใหม่)==