ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีคมุนท์ ฟร็อยท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัย[[โรคสมองพิการ]] [[ภาวะเสียการสื่อความ]] และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับ[[จิตไร้สำนึก]]และกลไกของ[[การกดเก็บ]] และตั้งสาขา[[จิตบำบัด]]ด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษา[[จิตพยาธิวิทยา]]ผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์<ref name="Systems of Psychotherapy">Ford & Urban 1965, p. 109</ref> แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง<ref>Kovel 1991, p. 96.</ref> แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์
 
ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับขบวนการกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้[[ความสัมพันธ์เสรี]] (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบ[[การถ่ายโยงความรู้สึก]] (ขบวนการกระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในขบวนการกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า [[ความฝัน]]ช่วยรักษา[[การนอนหลับ]] โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม
 
จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทาง[[จิตเวชศาสตร์]]<ref>[http://americanmentalhealthfoundation.org/a.php?id=24 Michels, undated]<br />Sadock and Sadock 2007, p. 190: "Certain basic tenets of Freud's thinking have remained central to psychiatric and psychotherapeutic practice."</ref> และต่อ[[มนุษยศาสตร์]]โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลก<ref>Webster 1995, p. 12.</ref>และกีดกันทางเพศ<ref>Mitchell 2000, pp. xxix, 303–356.</ref> การศึกษาเมื่อ ค.ศ. 2008 เสนอว่า จิตวิเคราะห์ถูกลดความสำคัญในสาขาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.nytimes.com/2007/11/25/weekinreview/25cohen.html?_r=3&ref=education&oref&oref=slogin Cohen, 25 November 2007].</ref> แม้ว่าทฤษฎีของฟรอยด์จะมีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์อยู่ก็ตาม แต่ผลงานของเขาได้รับการตีแผ่ในความคิดเชิงปัญญาและวัฒนธรรมสมัยนิยม
บรรทัด 54:
{{บทความหลัก|พัฒนาการความต้องการทางเพศ}}
 
ฟรอยด์เชื่อว่า libido หรือความต้องการทางเพศนี้พัฒนาขึ้นในปัจเจกบุคคลโดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุ ขบวนการกระบวนการซึ่งประมวลโดยมโนทัศน์[[การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ]] (sublimation) เขาแย้งว่า มนุษย์เกิดมา "วิตถารหลายรูปแบบ" หมายความว่า วัตถุใด ๆ ก็เป็นแหล่งความพึงพอใจได้ เขายังแย้งต่อไปว่า เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้น พวกเขาจะติดข้องในวัตถุต่าง ๆ ผ่านขั้นพัฒนาการของเขา ได้แก่ [[ขั้นปาก]] ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของทารกในการเลี้ยงดู [[ขั้นทวารหนัก]] ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของเด็กเล็กในการถ่ายที่กระโถนของตน แล้วมาสู่[[ขั้นอวัยวะเพศ]] ในขั้นอวัยวะเพศนี้ ฟรอยด์ยืนยันว่า ทารกชายจะติดข้องต่อมารดาของตนเป็นวัตถุทางเพศ (รู้จักในชื่อ [[ปมเอดิเพิส]]) ระยะซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการขู่ว่าจะตอน (castration) ซึ่งส่งผลให้เกิด ''ปมการตอน'' อันเป็นแผลที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตวัยเยาว์ของเขา<ref>Freud, S. ''An Outline of Psychoanalysis'' (1940), ''Standard Edition 23'', pp. 189–192.</ref> ในงานเขียนภายหลังของเขา ฟรอยด์ได้ตั้งสมมุติฐานถึงสถานการณ์ที่เทียบเท่ากับปมเอดิปุสในทารกหญิง โดยเป็นการติดข้องทางเพศอยู่กับบิดาของตน<ref>Freud S. ''An Outline of Psychoanalysis'', pp. 193–194.</ref> เรียกว่า "[[ปมอิเล็กตรา]]" ในบริบทนี้ แม้ว่าฟรอยด์จะมิได้เสนอคำดังกล่าวเองก็ตาม พัฒนาการความต้องการทางเพศ[[ขั้นแฝง]]อยู่ก่อนพัฒนาการความต้องการทางเพศ[[ขั้นสนใจเพศตรงข้าม]] เด็กต้องการได้รับความพึงพอใจในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละขั้นเพื่อที่จะก้าวสู่ขั้นพัฒนาการต่อไปอย่างง่ายดาย แต่การได้รับความพึงพอใจน้อยหรือมากเกินไปอาจนำไปสู่การติดข้องในขั้นนั้น และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมถดถอยกลับไปยังขั้นนั้นในชีวิตภายหลังได้<ref name="Hothersall, D 2004. p. 290">Hothersall, D. 2004. "History of Psychology", 4th ed., Mcgraw-Hill:NY p. 290</ref>
 
=== อิด อัตตาและอภิอัตตา ===