ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใบแดง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
format +wwv
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 5:
== ใบแดง - ใบเหลืองในกีฬาฟุตบอล ==
'''เกณฑ์การแจกใบเหลือง - ใบแดง'''
ใบแดงในกีฬา[[ฟุตบอล]]นั้น จะแสดงโดย[[ผู้ตัดสิน]]ต่อผู้เล่น ไม่ว่าจะอยู่ในสนามหรือผู้เล่นสำรองก็ดี, (หรือแม้กระทั่ง[[ผู้จัดการทีม]]) ที่ทำผิดกฏกฎ กติกาการแข่งขัน โดยใบแดงเป็นสัญลักษณ์ของการไล่ออกจากสนาม ใบแดงนั้นมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่ใหญ่นัก (ประมาณว่าสามารถใส่ในกระเป๋าเสื้อได้) ใบแดงจะเป็นกระดาษที่มีสีแดงทั้ง 2 ด้านตามชื่อ เช่นเดียวกับใบเหลืองที่เป็นกระดาษสีเหลืองทั้งสองด้าน
 
วิธีแจกใบแดงของกรรมการคือ ในระหว่างการแข่งขัน ถ้ามีการฟาวล์เกิดขึ้น กรรมการจะเป่านกหวีดหยุดเกมชั่วคราว ถ้ากรรมการเห็นว่าการฟาวล์นั้นเป็นการทำผิดกติกาอย่างจงใจหรือทำฟาวล์อย่างรุนแรง กรรมการจะเรียกนักเตะคนนั้นมาหาตน จากนั้นกรรมการจะชูใบแดงขึ้น ถือว่าผู้เล่นนั้นได้รับใบแดงแล้ว และจะต้องออกจากสนามแข่งขัน ซึ่ง การได้รับใบแดงนั้น ส่วนมากจะเกิดจากการกระทำผิดรุนแรง เช่น ทำร้ายผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยเจตนา, พยายามเข้าสไลด์หรือสกัดบอลแล้วไม่ถูกลูกบอลแต่ถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามแทน และการสกัดนั้นอาจส่งผลทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามบาดเจ็บอย่างรุนแรง (โดยส่วนมากจะเป็นการสกัดบอลโดยการสไลด์เข้าทางด้านหลังของคู่แข่ง), แต่ถ้าการฟาล์วไม่รุนแรงมากนักกรรมการจะแจกใบเหลืองเป็นการตักเตือน ถ้าผู้เล่นคนเดิมได้ใบเหลือง 2 ครั้งก็ต้องออกจากสนาม (2 ใบเหลืองมีค่าเท่ากับ 1 ใบแดง)
บรรทัด 23:
== ใบแดง - ใบเหลือง ที่ไม่ใช่ในวงการกีฬา ==
{{มุมมองสากล}}
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฏหมายกฎหมายเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ทำผิดกฏกฎกติกา เช่น มีการซื้อเสียง จะได้รับใบแดง - ใบเหลือง จาก กกต.
 
ผู้สมัครที่รับใบแดง จะได้รับเนื่องจากกระทำผิดกติกาการเลือกตั้ง "ที่มีหลักฐานชัดเจน" จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้นๆ ได้ หากได้รับเลือกตั้งแล้ว การเลือกตั้งในเขตที่ผู้สมัครคนนั้นลงสมัครรับเลือกตั้งจะเป็นอันโมฆะ และมีการเลือกตั้งใหม่โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งคนที่ถูกใบแดงดังกล่าวจะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองแล้วถูกใบแดง อาจส่งผลถึงการตัดสินยุบพรรคด้วย ซึ่งการยุบพรรคคือ พรรคการเมืองดังกล่าวต้องยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด และกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดจะต้องถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง คือ ไม่สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือลงสมัครรับเลือกตั้งใดๆ ได้ เป็นเวลา 5 ปี
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ใบแดง"