ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{Infobox Person
| name = อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ
| image = อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ.jpg
| caption = ภาพตั้งหน้าโลงศพของ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือ น้องโบว์
| birth_date = [[พ.ศ. 2523]]
| birth_place = [[กรุงเทพมหานคร]]
เส้น 10 ⟶ 9:
| residence =
| nationality = [[ไทย]]
| known_for = ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
| employer =
| occupation =
| height =
| term =
| parents = นายจินดา ระดับปัญญาวุฒิ <br> นางวิชชุดา ระดับปัญญาวุฒิ
| spouse =
| children =
เส้น 24 ⟶ 23:
}}
 
'''อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ''' หรือที่นิยมเรียกกันในมี[[ชื่อเล่น]]ว่า '''น้องโบว์''' เกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2523]] เป็นบุตรของ นายจินดา และนางวิชชุดา ระดับปัญญาวุฒิ มีน้องสาวอีก 2 คน คือนางสาว ดารณี (แบต) และนางสาวสุภาพร ระดับปัญญาวุฒิ (นุ่น) น.ส.อังคณาเป็นผู้เสียชีวิตจาก[[การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551|การสลายการชุมนุม]]เมื่อวันที่ [[7 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2551]] เมื่อขณะมีอายุได้ 28 ปี
 
===การศึกษา===
* จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนสายปัญญา]]
* จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ [[มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ]]
 
===เข้าร่วมชุมนุม===
จากการเปิดเผยของนายจินดา ผู้เป็นบิดา กล่าวว่า น.ส.อังคณามิได้เป็นผู้ที่ชื่นชอบหรือสนใจ[[การเมืองไทย|การเมือง]]แต่ประการใด แต่เป็นคนที่ทนไม่ได้กับการโกงชาติและหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงมาร่วมชุมนุมกับทาง[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]ทั้งครอบครัว ในวันที่เสียชีวิต เมื่อได้ทราบข่าวการสลายการชุมนุมที่หน้าอาคารรัฐสภา ทั้งครอบครัวก็ได้ออกเดินทางบ้านมาที่ชุมนุมทันที โดยที่นายจินดาบอกให้ น.ส.อังคณากลับบ้านไป[[อาบน้ำ]] เปลี่ยนเสื้อผ้าเสียก่อน แต่น.ส.อังคณาได้ปฏิเสธ และเป็นหนึ่งในผู้ที่ไปชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล [[วังปารุสกวัน]] ในเวลาหัวค่ำ และถูกสลายการชุมนุมด้วย[[แก๊สน้ำตา]] น.ส.อังคณาได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยที่ซีกซ้ายของลำตัวตั้งแต่หน้าอกลงไปเหวอะหวะ ซึ่งเกิดจากแก๊สน้ำตาคุณภาพต่ำระเบิด โดยแกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน|นปช.]] มักนำมากล่าวอ้างภายหลังว่าน.ส.ว่าอังคณามีระเบิดสะพายคล้องแขนอยู่ในกระเป๋า<ref>[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000020773 ไอ้ตู่สุดเลว ใส่ร้ายน้องโบว์ตายเพราะพกระเบิดพันธมิตร]</ref>{{อ้างอิง}} แต่ต่อมาได้ปรากฏหลักฐานเป็นภาพถ่ายการขนศพ น.ส.อังคณา จะเห็นได้ว่ากระเป๋าของ น.ส.อังคณาที่คล้องแขนยังอยู่ในสภาพดี ไม่ได้มีระเบิดดังที่กล่าวอ้าง<ref>[http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2009/03/29/entry-1 หยุดย่ำยีศพน้องโบว์ : หยุดมโนธรรมอันถ่อยทรามของคนเสื้อแดง]</ref>{{อ้างอิง}} หลังจากนั้น น.ส.อังคณาถูกนำส่งโรงพยาบาลรามาธิบดีแต่ได้เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล ซึ่งญาติ ๆ ได้ตามหาจนพบศพและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง
 
ในส่วนของนางวิชชุดาผู้เป็นมารดา และ น.ส.สุภาพร หรือ นุ่น น้องสาวคนเล็กก็ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมด้วย โดยต้องพักรักษาตัวกันที่[[โรงพยาบาล]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/livepop/2008/10/13/entry-1 คำไว้อาลัย แด่ “น้องโบว์” อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ จาก พ่อ แม่ น้อง ญาติและเพื่อนๆ ]</ref>
 
ตามรายงานข่าวของเว็บหนังสือพิมพ์[[มติชน]] [[วิกิลีคส์ลีกส์]]ได้เผยแพร่เอกสารรายงานของนายอีริค จี. จอห์น อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ว่า เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 นายจอห์นรายงานถึงการสนทนากับสมาชิกตระกูลมหาเศรษฐีของไทยคนหนึ่งที่มีเส้นสายกว้างขวาง ซึ่งวิกิลีกส์ลบชื่อออก (ใช้ชื่อ สมมุติว่า นาย ก.) มีการสนทนากันหลายเรื่อง และในตอนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 โดยระบุถึงการวางแผนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังหวังจะสร้างสถานการณ์ปะทะขึ้นใหม่เพื่อให้คนตายอีกสักกว่า 20 ศพ อันจะทำให้การที่ทหารออกมายึดอำนาจสมเหตุผล" <ref> [http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1293178053&grpid=00&catid&subcatid "วิกิลีกส์"เผยความจริงอีกด้านของพธม.ในเหตุการณ์ 7 ตุลา เอกสารรายงานอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ ]</ref>
 
[[ไฟล์:Thai military leaders in tv.3.jpg|thumb|right|ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นำโดย พล.อ.[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ผบ.ทบ. ออกรายการ[[เรื่องเด่นเย็นนี้]] ทาง[[ช่อง 3]] เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและแสดงความรับผิดชอบ]]
 
===ปฏิกิริยาของสังคม===
หลังจากการเสียชีวิตของ น.ส.อังคณาแล้ว สังคมต่าง ๆ มีปฏิกิริยาต่อกรณีนี้อย่างรุนแรง เช่น กัปตัน[[การบินไทย]]คนหนึ่งปฏิเสธที่จะไม่ให้ ส.ส.[[พรรคพลังประชาชน]]โดยสารไปในเที่ยวบินที่ตนขับด้วย<ref>[http://talk.mthai.com/topic/29849 สส.พปช. ไชยา พรหมา ที่ถูกปฏิเสธให้ขึ้นเครื่อง มาตั้งกระทู้ชี้แจงที่รดน.พันทิป ]</ref>{{อ้างอิง}} หรือ [[แพทย์]]ขึ้นป้ายว่าปฏิเสธที่จะรักษาตำรวจ เป็นต้น<ref>[http://news.hunsa.com/detail.php?id=12163 แพทยสภายันหมอปฏิเสธไม่รักษา ตร.ได้ ไม่ผิดจริยธรรมเหตุมิใช่กรณีฉุกเฉิน]</ref> เป็นต้น และในส่วนที่กล่าวขานกันถึงมากที่สุด คือ การที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่นำโดย พล.อ.[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ผู้บัญชาการ[[กองทัพทหารบกไทย|กองทัพบก]] ได้ออกแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในรายการ ''[[เรื่องเด่นเย็นนี้]]'' ทาง[[ช่อง 3]] สัมภาษณ์โดย นาย[[สรยุทธ สุทัศนะจินดา]] เมื่อวันที่ [[16 ตุลาคม]] ปีเดียวกัน โดยมีเนื้อหาเรียกร้องให้[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย|รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์]] ลาออก
 
และต่อมาทางกลุ่มพันธมิตร ก็ได้เปิด[[สะพาน]][[ไม้ไผ่]]ข้ามระหว่างทางเดินด้าน[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร]] กับ[[ทำเนียบรัฐบาล]] โดยให้ชื่อว่า ''สะพานอังคณา-เมธี'' เพื่อเป็นการระลึกถึง น.ส.อังคณา และ พ.ต.ท.พันตำรวจโท[[เมธี ชาติมนตรี]] หรือสารวัตรจ๊าบ อีกหนึ่งผู้เสียชีวิตในวันที่ 7 ตุลาคม นี้ด้วย{{อ้างอิง}}
 
=== พิธีพระราชทานเพลิงศพ===
[[ไฟล์:Queen_Sirikit_&_Princess_Chulabhorn.gif|thumb|right|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เพื่อพระราชทานเพลิงศพ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ]]
[[ไฟล์:Angkana Radabpanyawut s funeral 3.jpg|thumb|ประชาชนจำนวนมากที่เข้าเฝ้ารับเสด็จ และร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพ]]
 
วันที่ [[13 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2551]] [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] ไปยังเมรุวัดศรีประวัติ [[อำเภอบางกรวย]] [[จังหวัดนนทบุรี]] เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือโบว์ อายุ 28 ปี ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีพลเอก[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ผู้บัญชาการทหารบก นาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] ผู้นำฝ่ายค้านใน[[สภาผู้แทนราษฎร]] และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่าง ๆ เฝ้ารับเสด็จ แต่ไม่ปรากฏบุคลากรจากฝ่ายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นอกจากที่ทรงได้รับการต้อนรับอย่างปีติยินดีจากผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ หลายหมื่นคน ณ ที่นั้นแล้ว การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ยังส่งผลให้ฝ่ายพันธมิตรฯ ประกาศเลื่อนการชุมนุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งกำหนดให้มีในวันนี้ออกไปเป็นอีกสองวันถัดไป<ref name = Sirikit01 >กรุงเทพธุรกิจ. (2551, 13 ตุลาคม). ''พระราชินีรับสั่งน้องโบว์เป็นเด็กดี 'ช่วยชาติ-รักษาสถาบัน'.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: < http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/13/news_302910.php >. (เข้าถึงเมื่อ: 13 ตุลาคม 2551).</ref><ref name = Sirikit02 >Reuters. (2008, 13 October). ''Thai queen weighs in with anti-govt protesters.'' [Online]. Available: < http://in.reuters.com/article/worldNews/idINIndia-35930920081013 >. (Accessed: 13 October 2008).</ref>
 
สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีพระราชปฏิสันถารกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งนายจินดา ระดับปัญญาวุฒิ บิดาของนางสาวอังคณา เปิดเผยว่าทรงแสดงความกังวลในสวัสดิภาพของผู้ชุมนุม และทรงรับสั่งว่าจะจัดดอกไม้มาให้ภายหลังด้วย<ref name = Sirikit02 /> กับทั้งมีพระราชปฏิสันถารกับ[[สนธิ ลิ้มทองกุล|นายสนธิ ลิ้มทองกุล]] แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งนายสนธิมิได้เปิดเผยรายละเอียด กล่าวเพียงว่าเป็นแต่เรื่องส่วนตัวที่ไม่สำคัญนัก<ref name = Sirikit01 />
 
ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระราชอุทิศเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บในการจลาจลดังกล่าวทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯ กล่าวว่าเป็นสัญญาณแห่งการสนับสนุนฝ่ายตน อย่างไรก็ดี เงินดังกล่าวได้เวียนไปสู่ทั้งฝ่ายตำรวจและพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บโดยเท่าเทียมกัน<ref>BBC News. (2008, 13 October). ''Thailand's queen mourns protester.'' [Online]. Available: < http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7666839.stm >. (Accessed: 13 October 2008).</ref>