ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{Issues|ต้นฉบับ=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
'''ประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึง 2516''' เป็นสมัยที่ถูกครอบงำโดยระบอบ[[เผด็จการทหาร]] กองทัพเข้ามาครองอำนาจการเมืองไทยหลังจาก[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] โดยกลุ่มที่เรียกตนเองว่า [[คณะราษฎร]] ความแตกแยกภายในคณะราษฎรสุดท้ายฝ่ายทหารหนุ่มเป็นฝ่ายชนะ ในช่วงแรก [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]] เป็นนายกรัฐมนตรีที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราษฎรกลุ่มต่าง ๆ แต่รัฐบาลยังขาดเสถียรภาพ จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]] เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2481 เขาหันไปส่งเสริมลัทธิ[[ชาตินิยม]]และ[[แสนยนิยม]]แทน[[ลัทธิรัฐธรรมนูญ]] ประกาศ[[รัฐนิยม]] เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ลดบทบาททางสังคมของพระมหากษัตริย์ และนำพาประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยถือข้างญี่ปุ่น หลังสงคราม ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงครามจากความสัมพันธ์กับรัฐบาลสหรัฐ มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีหลายคน จนในปี 2490 จอมพล ป. พิบูลสงครามชิงอำนาจกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง นับเป็นการปิดฉากกลุ่มการเมืองสายปรีดี พนมยงค์และคณะราษฎร ในช่วง[[สงครามเย็น]] ไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอย่างเต็มตัว [[ประเทศไทยในสงครามเกาหลี|เข้าร่วมสงครามเกาหลี]] เข้าร่วม[[องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] (SEATO) แต่ในปี 2500 เขาถูกจอมพล [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] รัฐประหาร นับเป็นการปิดฉากยุคผู้นำสามเส้า
 
หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเฉียบขาดและดำเนินนโยบายพัฒนาชนบท นโยบายให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อใช้ทำ[[สงครามเวียดนาม]]ทำให้เกิดการกลายเป็นตะวันตกและการทำให้ทันสมัยของประเทศอย่างรวดเร็ว หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506 จอมพล[[ถนอม กิตติขจร]]ปกครองประเทศสืบต่อมา ในช่วงนี้ เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่มีความเหลื่อมล้ำสูง ประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมและทำให้มีการกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการรับค่านิยมเสรีภาพแบบตะวันตกทำให้เกิดสำนึกทางการเมืองจนนำไปสู่การเดินขบวนและการสิ้นสุดของระบอบถนอมในปี 2516
 
== ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับ "คณะชาติ" (พ.ศ. 2475–81) ==
 
=== รัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา ===