ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สลิ่ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ AnuwatKhamsri (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=กลุ่มคน|สำหรับ=ขนม|ดูที่=ซ่..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=กลุ่มคน|สำหรับ=ขนม|ดูที่=ซ่าหริ่ม}}สลิ่มคือขนมหวาน ทำด้วยแป้ง มีสีสันหลากหลาย
ในบริบทการเมืองไทยร่วมสมัย '''สลิ่ม''' เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกมองว่าคลางแคลงระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในพื้นที่การเมือง<ref name=":1">จุดติด-ไม่ติด : แฮชแท็กและการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาบอกอะไรเราบ้าง. เดอะโมเมนตัม. 26 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://themomentum.co/students-protest-after-after-future-forward-party-disbanded/</ref><ref name=":2" /> นักรัฐศาสตร์ [[สุรชาติ บำรุงสุข]] มองว่าสลิ่มคือตัวแทนชนชั้นกลางปีกขวา<ref>จับพลังคนรุ่นใหม่ ‘สุรชาติ’ ชี้สูตรล้มอำนาจนิยม-ศึกชนชั้นกลาง 2 ขั้ว ‘ปีกก้าวหน้า-ปีกสลิ่ม’. วอยซ์ออนไลน์. 6 มี.ค. 2563 (เข้าถึง 8 มี.ค. 2563) https://voicetv.co.th/read/NLJokCFeT</ref> คำนี้ในตอนแรกใช้เรียกเฉพาะ "กลุ่มเสื้อหลากสี" หรือ [[กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์]] โดยเรียกตามชื่อขนม[[ซ่าหริ่ม]]ซึ่งมีหลายสี และอาจมีความหมายเชิงดูถูก<ref>บก.ลายจุดเห็นด้วย เลิกใช้คำว่า”สลิ่ม”ชี้เป็นอุปสรรค ไม่นำไปสู่เรียนรู้-เปลี่ยนแปลงใดๆ. มติชนออนไลน์. 18 ก.พ. 2561 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://www.matichon.co.th/politics/news_846599</ref> ต่อมาขอบเขตความหมายได้กินความรวมไปถึงคนกลุ่มอื่นที่อยู่นอกเหนือผู้ชุมนุมในกลุ่มคนเสื้อหลากสีด้วย<ref name=":2">Faris Yothasamuth. "อะไรคือสลิ่ม? ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะเฉพาะ." 20 พ.ย. 2554 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://www.facebook.com/notes/10150458126042090/ สำเนานอกเฟซบุ๊ก https://ssgoat-farm.blogspot.com/2011/12/blog-post_27.html</ref><ref name=":0">"แท้จริงแล้วความหมายของคำว่า “สลิ่ม” คืออะไร ถอดความหมายจากผู้ชุมนุม #BUกูไม่เอาสลิ่ม". Workpoint News. 28 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://workpointnews.com/2020/02/28/political-terms-salim/</ref> คำว่าสลิ่มถูกใช้ในงานเขียนที่เผยแพร่ทางสื่อทั่วไปอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2554<ref>ใบตองแห้ง. "คำท้าทายถึงชนชั้นกลาง." 23 พ.ย. 2554 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://prachatai.com/journal/2011/11/38001</ref> และกลับมาเป็นที่สนใจในบทสนทนาทางการเมืองอีกครั้งเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หลัง[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีคำพิพากษายุบ[[พรรคอนาคตใหม่]] เมื่อนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถานศึกษาได้อ้างอิงถึงคำนี้ใน[[แฮชแท็ก]]ของการชุมนุมประท้วง<ref name=":1" /> เช่น #BUกูไม่เอาสลิ่ม<ref name=":0" /> #ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม<ref>มหา'ลัยทั่วประเทศ แห่ตั้งชื่อแฮชแท็กต้านรัฐบาล ปมยุบพรรคอนาคตใหม่. เมเนเจอร์ออนไลน์. 25 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000018810</ref> #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ<ref> #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ จากประท้วงที่ม.เกษตร สู่การประท้วงของนิสิตนักศึกษากว่า 10 สถาบัน. เดอะโมเมนตัม. 24 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://themomentum.co/flash-mob-kasetsart-university/</ref> รวมถึงมีเพลงล้อชื่อ "ดูสลิ่ม" ออกมาในช่วงเดียวกัน โดยท่อนแรกของเนื้อเพลงคือ "ชอบกฎหมายที่สั่งตัดมาพิเศษ"<ref>แชร์สนั่น เพลงสุดฮา! ‘ดูสลิ่ม’ แปลงจากวงดนตรีดัง แนะวิธีพิจารณา ‘สลิ่ม’ ในความหมายทางการเมือง. มติชนออนไลน์. 29 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://www.matichon.co.th/politics/news_2016163 โดยเพลงดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 29 ก.พ. 2563 ในช่อง SalimVEVO ที่ https://www.youtube.com/watch?v=jDsgdsSZktM มีผู้เข้าชม 119,605 ครั้งในเวลาประมาณ 2 วัน ก่อนวิดีโอจะดูไม่ได้เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ และได้เผยแพร่ซ้ำอีกครั้งเมื่อ 2 มี.ค. 2563 https://www.youtube.com/watch?v=wo7VewW2EWk</ref>
 
คำนี้เกิดขึ้นในช่วง[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553]] ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนการเมืองกลุ่มต่าง ๆ ใช้สีเสื้อในการระบุอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น [[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]ที่ใส่เสื้อสีเหลืองและ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]ที่ใส่เสื้อสีแดง กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซึ่งรวมตัวครั้งแรกเมื่อ 13 เมษายน 2553 เพื่อคัดค้านการที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] ยุบสภา<ref>มาลีรัตน์. "กลุ่มพิทักษ์สถาบัน ฯ ชุมนุมอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ." พลังหญิง. 13 เม.ย. 2553. (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) http://oknation.nationtv.tv/blog/maleerat/2010/04/13/entry-1</ref> จึงเรียกตัวเองอย่างลำลองว่า "กลุ่มเสื้อหลากสี" เพื่อแยกตัวเองออกมาจากกลุ่มการเมืองก่อนหน้า โดย [[ตุลย์ สิทธิสมวงศ์]] หรือ "หมอตุลย์" แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี เคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร Positioning ว่า “ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องเปลี่ยนจากพลังเงียบให้กลายมาเป็นพลังที่เคยเงียบเสียที” “ผมเลยชวนพวกเขามาอยู่เวทีเดียวกัน ทำให้เป็นกลุ่มเสื้อหลากสีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพลังมากขึ้น”<ref>Positioning. “เสื้อหลากสี” แทรกสงครามการเมือง." 13 พ.ค. 2553 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://positioningmag.com/12747</ref> ต่อมาผู้ติดตามการเมืองได้เอาชื่อสลิ่มหรือ[[ซ่าหริ่ม]]ซึ่งเป็นขนมที่มีหลายสีมาเรียกกลุ่มดังกล่าว โดยเชื่อว่าเริ่มเรียกเป็นครั้งแรกในเว็บบอร์ด[[พันทิป.คอม]]<ref>ใบตองแห้ง. "สลิ่ม" ไม่ใช่เป็นได้ง่ายๆ นะ." 22 ก.พ. 2561 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://www.khaosod.co.th/politics/news_766939</ref> [[สมบัติ บุญงามอนงค์]] นักกิจกรรมทางสังคมที่เคยเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดงเคยกล่าวบนสื่อสังคม[[ทวิตเตอร์]]ว่า "มีคนใช้คำนี้เรียกกลุ่มคนเสื้อหลากสีใน Pantip แล้วผมเอามาใช้ต่อ และปัจจุบันผมเลิกเรียกคนว่าสลิ่ม ตามที่ [[วาด รวี]] เขารณรงค์"<ref>บก.ลายจุด @nuling "ผมไม่ใช่คนที่เริ่มใช้คำว่า "สลิ่ม" มีคนใช้คำนี้เรียกกลุ่มคนเสื้อหลากสีใน Pantip แล้วผมเอามาใช้ต่อ และปัจจุบันผมเลิกเรียกคนว่าสลิ่ม ตามที่ วาด รวี เขารณรงค์." 25 มิ.ย. 2562 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) https://twitter.com/nuling/status/1143326171154661376</ref>
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สลิ่ม"