ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดไชยวัฒนาราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9004301 สร้างโดย 125.27.224.245 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน
| full_name = วัดไชยวัฒนาราม
| common_name = วัดไชยวัฒนาราม
| image_temple = Wat Chaiwatthanaram 01.jpg
| short_describtion = มุมทั้งหมด วัดไชยวัฒนาราม
| type_of_place =
| branch =
| special_things = โบราณสถาน
| principal_buddha =
| important_buddha =
| address = ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง
| open_time = เปิดทุกวัน เวลา 08.30–16.30
| shouldnt_miss = พระปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม
| activities =
| do_not_do =
| photography =
| footnote =
}}
 
'''วัดไชยวัฒนาราม''' หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลายใน[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง<ref>[https://watboran.wordpress.com/2007/02/06/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1/ วัดไชยวัฒนาราม | วัดโบราณในพระนครศรีอยุธยา]</ref>
 
วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดสร้างขึ้นในสมัย[[พระเจ้าปราสาททอง]] พ.ศ. 2173<ref>http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/358/116/</ref>โดยเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระราชมารดาที่ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ พระองค์จึงได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งวัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือ[[เขมร]]ด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจากปราสาท[[นครวัด]]<ref>http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/358/116/</ref>
 
== ประวัติ ==
วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดย[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาท[[นครวัด]]
 
วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]สิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้
 
ก่อนกรุงแตก พ.ศ. 2310 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] วัดไชยวัฒนารามได้ถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเรื่อยมา บางครั้งมีผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. 2530 [[กรมศิลปากร]]จึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535
 
== สถาปัตยกรรม ==
[[ไฟล์:วัดไชยวัฒนาราม Wat Chaiwattanaram (2).jpg|thumb|ปรางค์ประธาน]]
=== ฐานภายใน ===
วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของ[[พระปรางค์]]สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐาน[[พระเจดีย์]]ขนาดเล็ก สื่อถึง[[พระเจดีย์จุฬามณี]]บนยอด[[เขาพระสุเมรุ]] รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม (เจดีย์รอบ ๆ พระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐาน[[พระพุทธรูป]] ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝาเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน
 
=== พระอุโบสถ ===
'''พระอุโบสถ''' สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้าง ๆ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง 3 ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพิ่มในภายหลัง
 
=== เมรุทิศเมรุราย ===
'''เมรุทิศเมรุราย''' ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น 8 องค์ โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบ[[กนก]] ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน 12 ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติ[[เขาพระสุเมรุ]]อีกต่อหนึ่ง พระพุทธรูปปูนปั้นที่ประดิษฐานอยู่ภายในเมรุทิศเมรุมุม ของระเบียงคตวัดไชยวัฒนาราม มีลักษณะคล้ายคลึงกับ[[พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ]] (หรือพระพุทธนิมิต) ซึ่งเป็น[[พระพุทธรูป]]ทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่[[วัดหน้าพระเมรุ]] ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จ[[พระเจ้าปราสาททอง]] เช่นเดียวกัน
 
== อุทกภัย พ.ศ. 2554 ==
{{บทความหลัก|อุทกภัยและดินถล่มในประเทศไทย พ.ศ. 2554}}
[[ไฟล์:Wat chaiwatthanaram.jpg|thumb|วัดไชยวัฒนารามเมื่อครั้ง[[อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554|อุทกภัยปี 2554]]]]
จากเหตุอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรหลังวัดไชยวัฒนาราม ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ซึ่งจากการตรวจสอบเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พบว่า โบราณสถานในเขตเกาะเมืองได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมดแล้ว ด้านกรมศิลปากรเตรียมบูรณะ คาดใช้งบไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท<ref>[http://www.thairath.co.th/today/view/206823 อยุธยาอาการหนักน้ำ 2 เมตรท่วมวัดไชยวัฒนาฯ]</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Wat Chaiwatthanaram}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* วิไลรัตน์. 2546. กรุงศรีอยุธยา. อมรินทร์พริ้นติ้ง
{{จบอ้างอิง}}
 
{{อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา}}
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา|ชไยวัฒนาราม]]
[[หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา]]