ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอลกอฮอล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่เนื้อหาด้วย "thumb|left|โครงสร้างของแอลกอฮอล์ == อ้างอิง == *..."
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Alcohol general.svg|thumb|left|โครงสร้างของแอลกอฮอล์]]
{{เคมีอินทรีย์}}
ในทาง[[เคมี]] '''แอลกอฮอล์''' ({{lang-en|alcohol}}) คือ[[สารประกอบอินทรีย์]] ที่มี[[หมู่ฟังก์ชัน|หมู่]][[ไฮดรอกซิล]] (''-[[ออกซิเจน|O]][[ไฮโดรเจน|H]]'') ต่อกับอะตอม[[คาร์บอน]]ของหมู่[[แอลคิล]]หรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบ[[อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน]] (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ '''C<sub>n</sub>H<sub>2n+1</sub>OH'''
 
โดยทั่วไป '''แอลกอฮอล์''' มักจะอ้างถึง[[เอทานอล]]เกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า
'''grain alcohol''' ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึง[[เครื่องดื่มแอลกอฮอล์]] เป็นที่มาของคำว่า[[โรคพิษสุรา]] (alcoholism)
 
เอทานอลเป็น[[ยาเสพติด]]ที่มีฤทธิ์[[ยากดประสาท|กดประสาท]] ที่ลดการตอบสนองของ[[ระบบประสาทส่วนกลาง]] แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น ''isopropyl alcohol'' ([[ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์]]) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า ''-ol'' เช่น ''isopropanol'' (ไอโซโพรพานอล)
 
== อันตรายจากแอลกอฮอล์ ==
* ตามท้องตลาดในขณะนี้ มีการขายแอลกอฮอล์กันทั้งเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซึ้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเช็ดแผลได้เหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก คือ
* เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น
* เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย
* จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มาใช้แทนกัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้
* ถึงแม้ว่าทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะควบคุม และตักเตือนผู้ผลิตและผู้ขายให้ระมัดระวังการนำเมทิลแอลกอฮอล์มาใช้ไม่ให้ผิดจากคุณลักษณะประจำของตัวมันแล้ว แต่ยังมีการใช้หรือขายผิดประเภทอยู่บ้าง
* ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงใคร่ขอเตือนผู้ผลิตและผู้ขาย ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการขายเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และขอให้แนะนำผู้บริโภคว่าก่อนซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลทุกครั้งควรตรวจดูฉลากให้ละเอียดและเลือกชนิดที่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้นและทางที่ดีถ้าท่านไม่แน่ใจก็ควรซื้อแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองหรือซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว
 
== อ้างอิง ==
* Metcalf, Allan A. (1999), The World in So Many Words, Houghton Mifflin, ISBN 0-395-95920-9