ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคพิษสุนัขบ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
ช่วงระหว่างการติดเชื้อและอาการคล้ายหวัดครั้งแรกตรงแบบคือ 2 ถึง 12 สัปดาห์ในมนุษย์ มีบันทึก[[ระยะฟัก]]สั้นเพียงสี่วันและนานกว่าหกปี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของแผลที่มีการปนเปื้อนและปริมาณไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่นานอาการและอาการอาจเพิ่มเป็น[[อัมพาต]]เล็กน้อยหรือบางส่วน [[ความวิตกกังวล|วิตกกังวล]] [[การนอนไม่หลับ|นอนไม่หลับ]] สับสน กระสับกระส่าย มีพฤติกรรมผิดปกติ [[โรคจิตหวาดระแวง]]และ[[ประสาทหลอน]] ดำเนินเป็น[[อาการเพ้อ]]<ref name=Robbins/><ref>{{cite web | author=Schoenstadt A | date=2008-07-21 | accessdate=2010-01-30 | url= http://rabies.emedtv.com/rabies/rabies-symptoms.html | title=Rabies Symptoms | publisher=eMedTV}}</ref>
 
การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิด 2 ถึง 10 วันหลังมีอาการแรก การรอดชีวิตพบน้อยเมื่อเกิดอาการแล้ว แม้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและเข้มแล้วก็ตาม<ref name="Expert Review of Anti-infective Therapy">{{cite journal | author = Rupprecht CE, Willoughby R, Slate D | title = Current and future trends in the prevention, treatment and control of rabies | journal = Expert Review of Anti-infective Therapy | volume = 4 | issue = 6 | pages = 1021–38 | year = 2006 | pmid = 17181418 | doi = 10.1586/14787210.4.6.1021 }}</ref> Jeanna Giese ซึ่งเป็นผู้ป่วยคนแรกที่ได้รับการรักษาด้วย[[มิลวอกีโพรโทคอล]]ในปี 2547<ref name="Lite2009">{{cite magazine | url=http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=jeanna-giese-rabies-survivor | title=Medical Mystery: Only One Person Has Survived Rabies without Vaccine—But How? |magazine= [[Scientific American]] | author = Jordan Lite | date = 2008-10-08 | accessdate = 2010-01-30 }}</ref> เป็นบุคคลแรกเท่าที่มีบันทึกที่รอดชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าโดยไม่ได้รับการป้องกันโรคหลังสัมผัสสำเร็จ การวิเคราะห์เจตนารักษา (intention-to-treat analysis) นับแต่นั้นพบว่าโพรโทคอลนี้มีอัตรารอดชีวิตประมาณ 8%<ref name="doi10.2217/fvl.09.52" />
 
=== กลัวน้ำ ===
[[ไฟล์:Rabid dog.jpg|thumb|หมาที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า]]
โรคกลัวน้ำ (hydrophobia) เป็นชื่อเดิมของโรคพิษสุนัขบ้า<ref>{{cite book|last1=Smallman-Raynor|first1=Andrew Cliff, Peter Haggett, Matthew|title=World atlas of epidemic diseases|date=2004|publisher=Arnold|location=London|isbn=9780340761717|page=51|url=https://books.google.com/books?id=yNVCiNnGVvsC&pg=PA51}}</ref> หมายถึง กลุ่มอาการในระยะท้าย ๆ ของการติดเชื้อที่บุคคลกลืนลำบาก แสดงอาการตื่นตระหนกเมื่อเสนอของเหลวให้ดื่ม และไม่สามารถดับความกระหายของผู้นั้นได้ [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ทุกชนิดที่ติดเชื้อไวรัสนี้อาจแสดงอาการกลัวน้ำทั้งนั้น<ref name=NHS/>
 
การผลิตน้ำลายเพิ่มขึ้นมาก และความพยายามดื่ม หรือแม้แต่เจตนาหรือการแนะนำให้ดื่ม อาจทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในลำคอและ[[กล่องเสียง]]ที่เจ็บอย่างยิ่ง อาการนี้สามารถอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าไวรัสเพิ่มจำนวนและอยู่ในต่อมน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อโดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งผ่านเพิ่มผ่านการกัด ความสามารถส่งผ่านไวรัสของสัตว์ที่ติดเชื้อจะลดลงอย่างสำคัญหากสัตว์นั้นสามารถกลืนน้ำลายและน้ำได้<ref>{{cite web|url=http://www.animalswecare.com/home_section/rabies/|website=AnimalsWeCare.com|title=Rabies}}</ref>
 
โรคกลัวน้ำโดยทั่วไปสัมพันธ์กับโรคพิษสุนัขบ้าดุร้าย (furious rabies) ซึ่งเกิดใน 80% ของผู้ที่ติดเชื้อ อีก 20% ที่เหลืออาจประสบโรคพิษสุนัขบ้าแบบอัมพาตซึ่งมีลักษณะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการรู้สึกและอัมพาต โรคพิษสุนัขบ้าแบบนี้ปกติไม่ทำให้เกิดความกลัวน้ำ<ref name=NHS>{{cite web|title=Symptoms of rabies|url=http://www.nhs.uk/Conditions/Rabies/Pages/Symptoms.aspx|website=NHS.uk|accessdate=3 September 2014|date=June 12, 2012}}</ref>
 
== สาเหตุ ==