ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 136:
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Satellite image of China.jpg|thumbnail|321px|ภาพถ่ายดาวเทียมของสาธารณรัฐประชาชนจีน]]
ไม่บอกหรอก
ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออก บนฝั่งตะวันตกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] มีพื้นที่ดินประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่บนบกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก<ref name="listofcountriesoftheworld.com"/> และถูกพิจารณาว่ามีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก<ref name="Ref_aq">[http://www.fco.gov.uk/servlet/Front?pagename=OpenMarket/Xcelerate/ShowPage&c=Page&cid=1007029394365&a=KCountryProfile&aid=1018965313021 "The People's Republic of China"] (7 September 2005). Foreign & Commonwealth Office</ref> ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อมูลขนาดนี้เกี่ยวข้องกับ (ก) ความถูกต้องของการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของจีน อย่างเช่น [[อัคสัยจิน]]และดินแดนทรานส์คอราคอรัม (ซึ่งอินเดียอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งสองด้วยเช่นกัน)<ref name="CIA">[https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2070.html Field Listing – Disputes – international], [[CIA World Factbook]]</ref> และ (ข) วิธีการคำนวณขนาดทั้งหมดโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งหนังสือความจริงของโลกระบุไว้ที่ 9,826,630 กม.<sup>2</sup><ref name="Ref_ar">{{cite web
|url=http://unstats.un.org/unsd/demographic/products/dyb/DYB2005/Table03.pdf
|format=PDF
|title=Population by Sex, Rate of Population Increase, Surface Area and Density
|publisher=UN Statistics Division
|work=Demographic Yearbook 2005
|accessdate=25 March 2008}}</ref> และ[[สารานุกรมบริตานิกา]]ระบุไว้ที่ 9,522,055 กม.<sup>2</sup><ref name="Ref_as">{{cite web
|url=http://archive.is/20120729115512/http://www.britannica.com/eb/article-9111233/United-States
|title=United States
|publisher=Encyclopedia Britannica
|accessdate=25 March 2008}}</ref> สถิติพื้นที่นี้ยังไม่นับรวมดินแดน 1,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งผนวกเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยรัฐสภา[[ทาจิกิสถาน]]เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งยุติข้อพิพาทด้านดินแดนที่ยาวนานนับศตวรรษ<ref>[http://www.jpost.com/Headlines/Article.aspx?id=203416 China, Tajikistan sign border agreement]</ref>
 
ประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อกับ 14 ประเทศ มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก (เท่ากับรัสเซีย) เรียงตามเข็มนาฬิกาได้แก่ [[ประเทศเวียดนาม]] [[ลาว]] [[พม่า]] [[อินเดีย]] [[ภูฏาน]] [[เนปาล]] [[ปากีสถาน]] [[อัฟกานิสถาน]] [[ทาจิกิสถาน]] [[คีร์กีซสถาน]] [[คาซัคสถาน]] [[รัสเซีย]] [[มองโกเลีย]] และ[[เกาหลีเหนือ]] นอกเหนือจากนี้ พรมแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐจีนตั้งอยู่ใน[[น่านน้ำอาณาเขต]] ประเทศจีนมีพรมแดนทางบกยาว 22,117 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก
{{Multiple image
| align = left
| direction = vertical
| width = 180
| image1 = Everest North Face toward Base Camp Tibet Luca Galuzzi 2006 edit 1.jpg
| caption1 = [[ยอดเขาเอเวอร์เรสต์]]ใน[[เขตปกครองตนเองทิเบต|ทิเบต]]
| image2 = Sanya Sun Photo by Dale Preston.jpg
| caption2 = ชายฝั่ง[[ทะเลจีนใต้]]ใน[[ไหหนาน]]
| image3 = 漓江山水.jpg
| caption3 = [[แม่น้ำหลีเจียง]]ใน[[มณฑลกวางสี]]
}}
 
ดินแดนจีนตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 18° และ 54° เหนือ และลองติจูด 73° และ 135° ตะวันออก ประกอบด้วยลักษณะภูมิภาพหลายแบบ ทางตะวันออก ตามแนวชายฝั่งที่ติดกับ[[ทะเลเหลือง]]และ[[ทะเลจีนตะวันออก]] เป็นที่ราบลุ่มตะกอนน้ำพาซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นและกว้างขวาง ขณะที่ตามชายขอบของที่ราบสูงมองโกเลียในทางตอนเหนือนั้นเป็นทุ่งหญ้า ตอนใต้ของจีนนั้นเป็นดินแดนหุบเขาและแนวเทือกเขาระดับต่ำเป็นจำนวนมาก ทางตอนกลาง-ตะวันตกนั้นเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของแม่น้ำสองสายหลักของจีน ได้แก่ [[แม่น้ำหวง]]และ[[แม่น้ำแยงซี]] ส่วนแม่น้ำอื่นที่สำคัญของจีนได้แก่ แม่น้ำซี [[แม่น้ำโขง]] [[แม่น้ำพรหมบุตร]] และแม่น้ำอามูร์ ทางตะวันตกนั้น เป็นเทือกเขาสำคัญ ที่โดดเด่นคือ [[เทือกเขาหิมาลัย]] ซึ่งมีจุดสูงสุดของจีนอยู่ทางครึ่งตะวันออกของ[[ยอดเขาเอเวอร์เรสต์]] และที่ราบสูงอยู่ท่ามกลางภูมิภาพแห้งแล้ง อย่างเช่น [[ทะเลทรายทาคลามากัน]]และ[[ทะเลทรายโกบี]]
 
ประเด็นปัญหาใหญ่ประการหนึ่งคือการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของทะเลทราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลทรายโกบี<ref name="Ref_au">[http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/4915690.stm "Beijing hit by eighth sandstorm"]. BBC news. Retrieved 17 April 2006.</ref> ถึงแม้ว่าแนวต้นไม้กำบั้งซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จะช่วยลดความถี่ของการเกิด[[พายุทราย]]ขึ้นได้ แต่[[ภัยแล้ง]]ที่ยาวนานขึ้นและวิธีการทางเกษตรกรรมที่เลวส่งผลทำให้เกิดพายุฝุ่นขึ้นทางตอนเหนือของจีนทุกฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นจึงแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นของเอเชียตะวันออก รวมทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น ตามข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมจีน (SEPA) ประเทศจีนกำลังกลายสภาพเป็นทะเลทรายราว 4,000 กม.<sup>2</sup> ต่อปี<ref name="Ref_av">"[http://www.independent.co.uk/news/world/asia/the-gathering-sandstorm-encroaching-desert-missing-water-399653.html The gathering sandstorm: Encroaching desert, missing water]". The Independent. 9 November 2007.</ref> น้ำ การกัดเซาะ และการควบคุมมลพิษได้กลายมาเป็นประเด็นที่สำคัญในความสัมพันธ์ของจีนกับต่างประเทศ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลายในเทือกเขาหิมาลัยยังได้นำไปสู่การขาดแคลนน้ำในประชากรจีนนับหลายร้อยล้านคน<ref name="Ref_aw">"[http://www.msnbc.msn.com/id/27894721/ Himalaya glaciers melting much faster]". Msnbc.msn.com. 24 November 2008.</ref>
 
ประเทศจีนมีสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่เป็น[[ฤดูแล้ง]]และ[[ฤดูมรสุม]]ชื้น ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิในฤดูหนาวและฤดูร้อน ในฤดูหนาว ลมทางเหนือซึ่งพัดลงมาจากละติจูดสูงทำให้เกิดความหนาวเย็นและแห้งแล้ง ขณะที่ในฤดูร้อน ลมทางใต้ซึ่งพัดมาจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ละติจูดต่ำจะอบอุ่นและชุ่มชื้น ลักษณะภูมิอากาศในจีนแตกต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากภูมิลักษณ์อันกว้างขวางและซับซ้อนของประเทศ
 
=== ความหลากหลายทางชีวภาพ ===