ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมฆ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
 
== เมฆชั้นมีโซสเฟียร์แถบขั้วโลก ==
เมฆชั้นมีโซสเฟียร์แถบขั้วโลกจะก่อตัวในระดับความสูงมากๆที่ประมาณ 80-85 กิโลเมตร นักอุตนิยมวิทยามักเรียกว่า'''เมฆเรืองแสงกลางคืน''' เนื่องจากแสงประกายของมันที่ระยิบระยับก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และหลังพระอาทิตย์ตก เมฆชั้นมีโซสเฟียร์แถบขั้วโลกนั้นจะอยู่สูงทึ่สุดในบรรยากาศและก่อตัวใกล้ ๆ ขอบชั้นมีโซสเฟียร์ประมาณ 10 เท่าของความสูงเมฆชั้นโทรโพสเฟียร์
 
== สีของเมฆ ==
สีของเมฆที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศได้ เมฆสีเขียวจาง ๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีสีเขียว นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ หรือพายุทอร์นาโด เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย สีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก เกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆ เป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด เมฆเกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอนำในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝน<ref>
* Hamblyn, Richard ''The Invention of Clouds – How an Amateur Meteorologist Forged the Language of the Skies'' Picador; Reprint edition (August 3, 2002). ISBN 0-312-42001-3
* http://www.ldeo.columbia.edu/news/2006/04_14_06.htm Could Reducing Global Dimming Mean a Hotter, Dryer World?</ref>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เมฆ"