พายุไต้ฝุ่นบบพา (พ.ศ. 2555)

(เปลี่ยนทางจาก พายุไต้ฝุ่นโบพา (พ.ศ. 2555))

พายุไต้ฝุ่นบบพาหรือพายุไต้ฝุ่นบุปผา (ชื่อสากล: 1224, ชื่อของ JTWC : 26W, ชื่อของ PAGASA: ปาโบล; Pablo) เป็นพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวขึ้นอย่างผิดปกติใกล้กับเส้นศูนย์สูตร จัดเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่เคยโจมตีภาคใต้ของฟิลิปปินส์ในบริเวณเกาะมินดาเนาโดยมีความแรงในระดับ 5 ซูเปอร์ไต้ฝุ่น มีความเร็วลม 160 mph (260 km/h)[1] พายุไต้ฝุ่นโบเป็นพายุที่เกิดค่อนไปทางใต้สุดเป็นอันดับสอง และเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 โดยเกิดที่ละติจูด 7.4° N เมื่อ 3 ธันวาคม โดยมีเฉพาะซูเปอร์ไต้ฝุ่นหลุยส์ใน พ.ศ. 2507 ที่เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 ที่เกิดใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ที่ 7.3° N[2]

พายุไต้ฝุ่นบบพา (ปาโบล)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นบบพาขณะมีกำลังสูงสุดใกล้กับฟิลิปปินส์ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่นบบพาขณะมีกำลังสูงสุดใกล้กับฟิลิปปินส์ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่นบบพาขณะมีกำลังสูงสุดใกล้กับฟิลิปปินส์ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ก่อตัว 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สลายตัว 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต ทั้งหมด 1,146 คน, สูญหาย 834 คน
ความเสียหาย 1.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2012)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ไมโครนีเชีย, ปาเลา, ฟิลิปปินส์
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

หลังจากที่โจมตีปาเลา โดยได้ทำลายบ้านเรือน ตัดขาดการสื่อสาร กระแสไฟฟ้าขัดข้อง และถอนรากถอนโคนต้นไม้ พายุไต้ฝุ่นโบพาได้ขึ้นสู่แผ่นดินที่เกาะมินดาเนาที่เคยถูกทำลายด้วย พายุโซนร้อนวาชิเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554[3][4] พายุได้สร้างความเสียหายให้กับเกาะมินดาเนาอย่างมาก ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย และเสียชีวิตจำนวนมาก[5]

หลังจากโจมตี จังหวัดดาเวาตะวันออก และ หุบเขาโกมโปสเตลา พายุไต้ฝุ่นโบพาได้ข้ามทางใต้และตอนกลางของเกาะมินดาเนา พายุได้เคลื่อนสู่ทะเลจีนใต้ ทางตะวันตกของเกาะปาลาวัน นักอุตุนิยมวิทยาของรัฐคาดการณ์ว่าพายุนี้จะเข้าสู่ เวียดนาม หรือจีนตอนใต้[6]

การเตรียมรับสถานการณ์ แก้

 
ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นโบพาเมื่อ 1 ธันวาคม
 
ภาพพายุไต้ฝุ่นโบพาจาก ISS เมื่อ 2 ธีนวาคม ขณะมีความรุนแรงระดับ 4 ใกล้ปาเลา

สหพันธรัฐไมโครนีเชียและปาเลา แก้

เมื่อพายุโบพาก่อตัวขึ้น National Weather Service (NWS) ใน กวม ได้ประกาศเตือนภัยสำหรับสหพันธรัฐไมโครนีเชีย ที่เกาะนุกุโอโรและลุกุนอร์ [7] และได้เพิ่มระดับการเตือนในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยได้รวมโลซับและคุกลากูนด้วย[8] เมื่อพายุโบพาเคลื่อนไปทางตะวันตก ได้มีการประกาศให้จับตาในโปลูวัต,[9] และ ซาตาวัล[10] ทั้งสองแห่งได้ยกระดับเป็นการเตือนภัย และการจับตาไต้ฝุ่นได้ถูกประกาศเพิ่มในโวเลไอ[11]

Palau National Emergency Management Office (NEMO) ได้ออกประกาศเมื่อ 29 พฤศจิกายน ให้ประชาชนเตรียมรับมือกัยสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเฉพาะอาหารและน้ำสำหรับสามวัน วิทยุเคลื่อนที่พร้อมแบตเตอรี ไฟฉายและชุดปฐมพยาบาล และออกจากสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยเมื่อเกิดพายุ เติมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับพาหนะให้พร้อม[12] ในวันที่ 30 พฤศจิกายนเจ้าหน้าที่ของปาเลาได้เตรียมพร้อมสำหรับพายุไต้ฝุ่นระดับสาม ที่คาดว่าจะขึ้นฝั่งเมื่อ 2 ธันวาคม

อิทธิพลของพายุ แก้

สหพันธรัฐไมโครนีเชียและปาเลา แก้

เมื่อพายุโบพาผ่านทางใต้ของเกาะ เกิดไฟฟ้าดับทั่วเกาะ[13] เครือข่ายการสื่อสารหยุดชะงัก และเกิดความเสียหายในบริเวณที่พายุผ่าน ในโกรอร์เกิดต้นไม้โค่นล้มและไฟฟ้าดับ ด้านนอกของโกรอร์ หมู่บ้านตามแนวชายฝั่งได้รับผลกระทบจากลมแรงและฝน ทำให้เกิดน้ำท่วม[14] ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในปาเลลิวและบ้านในบาเบลดาโอบถูกทำลาย[15]

ประเทศฟิลิปปินส์ แก้

พายุไต้ฝุ่นโบพา ซึ่งพัดเข้าชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ สภาการจัดการและบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติแห่งชาติฟิลิปปินส์ รายงานว่าส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 902 ราย[16] สูญหายอีกจำนวนกว่า 934 คน บาดเจ็บจำนวน 2,661 ราย

ในขณะที่เที่ยวบิน 146 เที่ยว ในจังหวัดมินดาเนาและเกาะใกล้เคียงหยุดให้บริการ เช่นเดียวกับเรือโดยสารเฟอร์รี่ ที่ระงับให้บริการและทำให้ผู้โดยสาร 3 พันคน ต้องติดอยู่ตามท่าเรือ โรงเรียนและธุรกิจในประเทศได้ทำการปิดการปิดโรงเรียนและการทำธุรกิจชั่วคราว

โดยสภาดังกล่าวได้ประเมินว่าไต้ฝุ่นโบพาจะสร้างความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภคของฟิลิปปินส์ราว 14.3 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 348.95 ล้านดอลลาห์สหรัฐ ส่วนพื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหายราว 9 พัน 7 ร้อยล้านเปโซ หรือ ราว 2 ร้อย 36.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[17]

โดย ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น โบพา ขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลม 210 ก.ม. ต่อ ช.ม. ทำให้ฝนตกหนักที่เกาะมินดาเนาโดยเฉพาะพื้นที่ทางตะวันออก ซึ่งเกาะมินดาเนามีประชาชนอาศัยอยู่มากถึง 10 ล้านคน นอกจากนี้ยังทำให้ไฟฟ้าดับ ถนนหลายเส้นถูกตัดขาด และทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยง เกิดดินสไลด์ถล่มลงมา

โฆษกของกองทัพฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า เกิดน้ำท่วมฉับพลันไหลผ่านค่ายทหารแห่งหนึ่งบนเกาะมินดาเนา ทำให้มีผู้สูญหายกว่า 20 คน รวมถึงทหารอีก 6 นาย ด้านรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งระดับ 3 ใน 7 จังหวัด เตรียมอุปกรณ์กู้ภัย และย้ายประชาชนราว 2000 ครอบครัว[18]

อ้างอิง แก้

  1. Super Typhoon Bopha hits Phillipines; Death Toll likely > 300, 5 December 2012, Daily Kos. Retrieved 6 December 2012.
  2. "Dr. Jeff Masters' WunderBlog: Typhoon Bopha hits the Philippines at Cat 5 strength; at least 40 killed | Weather Underground". Wunderground.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-12-05.
  3. Jeff Masters (December 3, 2012). "Category 5 Super Typhoon Bopha bearing down on the Philippines". Weather Underground. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ December 3, 2012.
  4. Amita Legaspi (December 4, 2012). "Typhoon Pablo is strongest storm to hit Mindanao in two decades". GMA News. สืบค้นเมื่อ December 4, 2012.
  5. http://www.chron.com/news/world/article/Death-toll-from-Philippine-typhoon-climbs-past-500-4098553.php[ลิงก์เสีย]
  6. Typhoon Bopha: Philippines death toll climbs, 5 December 2012, The Guardian. Accessed 6 December 2012.
  7. Middlebrooke (2012-11-26). Tropical Depression 26W Advisory Number 1 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  8. Middlebrooke (2012-11-26). Tropical Depression 26W Advisory Number 2 (Report). Guam National Weather Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  9. Middlebrooke (2012-11-26). Tropical Storm Bopha (26W) Advisory Number 6 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  10. Williams (2012-11-27). Tropical Storm Bopha (26W) Advisory Number 9 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  11. Guard; Stanko (2012-11-28). Tropical Storm Bopha (26W) Advisory Number 11 (Report). Guam National Weather Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  12. UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (2012-11-30). "Tropical Storm Bopha (26W) Update 4 | ReliefWeb". Reliefweb.int. สืบค้นเมื่อ 2012-12-05.
  13. "Palau power went out as typhoon passed last night, damage unknown". Pacific Daily News. December 3, 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.[ลิงก์เสีย]
  14. "Palau assesses Typhoon Bopha's damage". Pacific Daily News. December 4, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 4 December 2012.
  15. "Palau spared from direct storm hit". KUAM-TV. December 3, 2012. สืบค้นเมื่อ 3 December 2012.
  16. http://www.globaltimes.cn/content/749985.shtml
  17. http://www.globaltimes.cn/content/749985.shtml
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.