พอดแคสต์ หรือ พอดคาสต์ (อังกฤษ: podcast อเมริกัน /ˈpɑːd.kæst/ บริติช /ˈpɒd.kɑːst/[1]) คือ ชุดตอนของไฟล์ออดิโอดิจิทัลซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต[2][3][4] ในอีกทางหนึ่งคำว่า "พอดแคสต์" ยังสามารถหมายถึงไฟล์ชนิดดังกล่าวแบบเป็นตอน ๆ ซึ่งจะได้รับโดยอัตโนมัติเมื่อเป็นสมาชิกในเครือข่ายนั้น ๆ [5]

โทรศัพท์ไอโฟนที่กำลังเล่นพอดแคสต์ Serial ผ่านแอป Pocket Casts

การทำพอดแคสต์ (อังกฤษ: podcasting) มักเป็นรูปแบบของการสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์ที่เผยแพร่พอดแคสต์นั้น ๆ โดยเมื่อมีพอดแคสต์ตอนใหม่ปล่อยออกมา สมาชิกจะสามารถดาวน์โหลดพอดแคสต์นั้นได้อัตโนมัติผ่านคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน หรือเครื่องเล่นสื่อแบบพกพา[6]

สตูดิโอพอดแคสต์ใน What Cheer Writers Club ในเมืองพรอวิเดนซ์ รัฐโรดไอแลนด์

พอดแคสต์เป็นรูปแบบของไฟล์เสียง แต่บางทีก็อาจเป็นไฟล์รูปแบบอื่นได้ เช่น พีดีเอฟ หรือ อีพับ เป็นต้น ส่วนการเผยแพร่วิดีโอโดยใช้รูปแบบของพอดแคสต์มักเรียกว่า พอดแคสต์วิดีโอ (video podcasts) ว็อดแคสต์ (vodcast) หรือวล็อก (vlog)

ผู้จัดทำพอดแคสต์จะเก็บไฟล์นั้นเป็นรายการไว้ในเซิร์ฟเวอร์ในลักษณะของเว็บฟีดซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้จะต้องใช้ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันไคลเอนต์บนคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นสื่อที่เรียกว่า พอดแคตเชอร์ (podcatcher) เพื่อใช้เข้าถึงเว็บฟีดและดาวน์โหลดไฟล์ใหม่ ๆ ของพอดแคสต์ชุดนั้น กระบวนการนี้จะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ใหม่โดยอัตโนมัติ ฉะนั้นผู้ใช้จะเห็นราวกับว่าผู้จัดทำออกอากาศหรือ "ส่ง" ตอนใหม่ ๆ ไปให้พวกเขา เมื่อดาวน์โหลดไปแล้ว ไฟล์จะถูกจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ของผู้ใช้และเตรียมพร้อมให้ใช้งานในโหมดออฟไลน์ต่อไป[7] มีแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือมากมายที่ให้ผู้คนสามารถสมัครสมาชิกเพื่อที่จะฟังพอดแคสต์ โดยแอปพลิเคชันส่วนใหญ่เหล่านี้จะให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดหรือจัดทำพอดแคสต์ด้วยตัวเขาเองได้

ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 มีการทำพอดแคสต์ไปทั้งหมดอย่างน้อย 2,864,367 อันกับ 135,736,875 ตอน[8]

ที่มาของชื่อ

แก้

"podcast" เป็นคำผสมระหว่าง "iPod" และ "broadcast" (การออกอากาศ)[9] ทั้งนี้คำว่า "พอดแคสต์" เป็นชื่อที่ใช้เรียกเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานั้น ซึ่งถูกเสนอขึ้นโดยคอลัมนิสต์เดอะการ์เดียนและนักข่าวบีบีซี เบน แอมเมอร์สลีย์ (Ben Hammersley)[10] เหตุเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ขณะที่กำลัง "เพิ่มเติมเนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น" ในบทความของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน[11] ทำให้คำนี้ถูกใช้ครั้งแรกในชุมชนบล็อกออดิโอ (audioblogging community) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เมื่อแดนนี กรีกอยร์ (Danny Gregoire) ใช้คำนี้ลงไปในข้อความที่ส่งไปหาผู้พัฒนาไอพอด[12] จากจุดนี้จึงถูกนำไปใช้ต่อโดย อดัม เคอร์รี[13] ถึงแม้ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากไอแพด แต่ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงพอดแคสต์ได้โดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่สามารถเล่นไฟล์สื่อได้ อีกทั้งคำว่า "พอดแคสต์" ยังเคยใช้ทำนายถึงการสนับสนุนพอดแคสต์ของแอปเปิลอย่างจริง ๆ จัง ๆ ลงในไอพอด หรือที่ต่อมารู้จักกันในชื่อไอทูนส์[14]

อีกชื่ออื่นที่ใช้เรียกพอดแคสต์ คือ "เน็ตแคสต์" (net cast) ซึ่งเป็นความตั้งใจที่จะทำให้คำนี้เป็นกลางโดยไม่มีการอ้างถึงไอพอดของแอปเปิล โดยชื่อนี้ถูกใช้ในเครือข่ายของ TWiT.tv[15] นอกจากนี้ยังมีบางแหล่งข้อมูลอื่นอ้างว่า "POD" ย่อมาจากคำว่า "portable on demand" (ความต้องการที่พกพาได้) ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกับกรณีเน็ตแคสต์[16]

อ้างอิง

แก้
  1. Cambridge English Dictionary (สืบค้นคำว่า podcast)
  2. "Podcast". Cambrdige Dictionary (Online ed.). สืบค้นเมื่อ April 21, 2022.
  3. "Definition of PODCAST".
  4. "Podcast Definition & Meaning | Britannica Dictionary". britannica.com.
  5. "podcast". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005. - "podcast [...] [:] A digital audio file of speech, music, broadcast material, etc., made available on the Internet for downloading to a computer or portable media player; a series of such files, new instalments of which can be received by subscribers automatically."
  6. "Definition of Podcast". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017.
  7. "Podcast Production". Harvard Graduate School of Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2012. ... This code enables specially designed software to locate and track new versions or episodes of a particular podcast ...
  8. "Podcast Stats: How many podcasts are there?". Listen Notes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  9. "Definition of podcast in English". OxfordDictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-28. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017.
  10. Hammersley, Ben (February 12, 2004). "Why online radio is booming". The Guardian. สืบค้นเมื่อ November 16, 2017.
  11. Sawyer, Miranda (November 20, 2015). "The man who accidentally invented the word 'podcast'" (MP3). BBC Radio 4. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017.
  12. "ipodder-dev : Message: How to handle getting past episodes?". Yahoo Groups. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-13.
  13. Levy, Steven (2006). The Perfect Thing. Simon & Schuster. p. 239. ISBN 978-0-7432-8522-3.
  14. "Apple brings podcasts into iTunes". BBC News. June 28, 2005. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017.
  15. "FAQ - The Official TWiT Wiki". TWiT.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-20. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017.
  16. "Create your own podcast: What you need to know to be a podcaster". Microsoft Windows. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้