พระเทพวรเวที (วิน โฆสิโต)

ดร. พระเทพวรเวที (วิน โฆสิโต)

พระเทพวรเวที

(วิน ศัตรูคร้าม โฆสิโต)
ส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2487 (15 มกราคม พ.ศ. 2487 (80 ปี) ปี)
มรณภาพ28 พฤศจิกายน2553
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร พระนครศรีอยุธยา
อุปสมบท19 มีนาคม พ.ศ. 2508
พรรษา59
ตำแหน่งอดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ,อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร

( พระเทพวรเวที ชินสีห์ ธรรมโสภณ โกศลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี )

อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตเจ้าอาวาส วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ประวัติ แก้

พระเทพวรเวที มีนามเดิม วิน นามสกุล ศัตรูคร้าม เกิดเมื่อวันที่15 มกราคมพ.ศ. 2487 ปีวอก ณ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2500 ณ วัดหนองกลาง ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูอดุล วิริยกิจ (ผัน) วัดมเหยงค์ ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพระอุปัชฌาย์ และมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตะโหนด ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อุปสมบท แก้

อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2508 ณ วัดหนองกลาง ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูอุดมนครกกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระครูอดุลวิริยกิจ วัดมเหยงค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดสำรวย ปาสาทิโก วัดตะโก อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตะโหนด ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังเดิม

วิทยฐานะ แก้

จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดหนองกลาง ต.ไผ่ล้อม อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา

และเข้ารับการอบรมครูฝ่ายศาสนศึกษา

งานปกครอง แก้

ท่านได้ชื่อว่าเป็นพระนักปกครองและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา จัดระเบียบ การบริหารงานของคณะสงฆ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา พระเทพวรเวทียังเป็นผู้ริเริ่มส่งเสริมงานทางด้านศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในแต่ละปี พระภิกษุ-สามเณรของสำนักเรียนจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สามารถสอบได้นักธรรม-บาลี เป็นจำนวนมาก ท่านยังเป็นผู้เทศนาและบรรยายธรรมให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งได้บรรยายอบรมข้าราชการ พลเรือนและข้าราชการที่จะเกษียณอายุ ตลอดจนเป็นผู้บรรยายธรรมในเทศกาลสำคัญๆ อยู่ตลอดเวลา คำสอนที่ท่านได้กล่าวเน้นย้ำกับสาธุชน คือเรื่องของความกตัญญู ให้รู้จักบุญคุณคนและให้ประชาชนรู้จักการปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรม นอกจากนี้ ยังเน้นในเรื่องของสามัคคีธรรม ก่อนจะมรณภาพลงในปี พ.ศ. 2553

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2523 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูศรีนครอุดมกิจ
  • พ.ศ. 2528 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2529 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสชั้นเอก ในราชทินนาม พระครูอุดมนครคณารักษ์
  • พ.ศ. 2532 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสชั้นเอก ในราชทินนามพระครูบรมวงศาภิรักษ์[1]
  • พ.ศ. 2536 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระญาณไตรโลก[2]
  • พ.ศ. 2543 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชธรรมคณี โบราณราชธานีกิจจาธร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2549 รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพวรเวที ชินสีห์ ธรรมโสภณ โกศลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]


อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๒๑๗, ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ , เล่ม ๑๑๗ , ตอน ๒๘ ข, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓, หน้า ๘๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ๖๘ รูป, เล่ม ๑๒๓, ตอน ๑๕ ข ฉบับพิเศษ, ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๔