ตำบลนครหลวง
ตำบลนครหลวง เป็นตำบลหนึ่งใน 12 ตำบลของอำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อักษรไทย | ตำบลนครหลวง |
---|---|
อักษรโรมัน | Tambon Nakhon Luang |
จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา |
อำเภอ | อำเภอนครหลวง |
ประชากร (2552) | |
• ทั้งหมด | 4,413 คน |
รหัสไปรษณีย์ | 13260 |
![]() |
ประวัติแก้ไข
ตำบลนครหลวง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 ที่มาของชื่อตำบลนครหลวง สันนิษฐานว่าตั้งตามชื่อของปราสาทนครหลวง ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2174 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชาเพื่อเป็นสถานในพระพุทธศาสนา
การปกครองย่อยแก้ไข
ตำบลนครหลวง ตั้งอยู่ใจกลางของอำเภอนครหลวง ซึ่งมีทั้งหมด 12 ตำบล การแบ่งเขตการปกครองของตำบลนครหลวง แบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 ชื่อหมู่บ้าน บ้านมอญ
- หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน นครหลวง
- หมู่ที่ 3 ชื่อหมู่บ้าน นครหลวง
- หมู่ที่ 4 ชื่อหมู่บ้าน นครหลวง
- หมู่ที่ 5 ชื่อหมู่บ้าน บ้านโพธิ์ซ้าย
- หมู่ที่ 6 ชื่อหมู่บ้าน บ้านโพธิ์ซ้าย
- หมู่ที่ 7 ชื่อหมู่บ้าน บ้านม่วงชุม
- หมู่ที่ 8 ชื่อหมู่บ้าน บ้านสวนหลวง
- หมู่ที่ 9 ชื่อหมู่บ้าน บ้านบึงบัว
ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข
ตำบลนครหลวงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแม่ลา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านชุ้ง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปากจั่น
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางระกำ
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
ท้องที่ตำบลนครหลวงประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลนครหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครหลวงทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบางระกำ และบางส่วนของตำบลบางพระครู
สถานที่สำคัญของตำบลแก้ไข
- ปราสาทนครหลวง
- ที่ว่าการอำเภอนครหลวง สำนักงานเทศบาลตำบลนครหลวง
- ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนครหลวง
- สำนักงานเกษตรอำเภอนครหลวง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนครหลวง
- บึงบัว-บึงฝรั่ง
- วัดนครหลวง
- วัดพร้าว
- วัดห่ม
- วัดกลาง
- วัดเทพจันทร์ลอย
- วัดโตนด
บุคคลสำคัญจากตำบลนครหลวงแก้ไข
พระพรหมดิลก ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจวิธาน ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [1] (นามสกุลเดิม กลิ่นสาลี) น.ธ.เอก, ป.ธ.9 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๑๔ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 6 ตำบลนครหลวง
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 9 ข, เล่ม 128, วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554, หน้า 13