พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซกซ์

กษัตริย์แห่งเวสเซกซ์

เอเธลเร็ดที่ 1 (ภาษาอังกฤษ Aethelred I หรือ Ethelred I, ภาษาแองโกลแซ็กซัน Æþelræd) สืบทอดตำแหน่งของพระเชษฐา เอเธลเบิร์ท รัชสมัยของเอเธลเร็ดคือหนึ่งในสงครามกับพวกเดนท์ที่ยาวนาน อิวาร์ผู้ไร้กระดูกกับน้องชาย แฮล์ฟดัน ที่ยึดดับลินเป็นฐานที่มั่นโจมตีและยึดครองยอร์กในปีค.ศ.866 ที่ซึ่งกลายเป็นอาณาจักรไวกิ้ง (ยอร์วิช) พวกเดนท์เดินทัพลงใต้และยึดครองน็อตติ้งแฮม ในปีค.ศ.869 พวกเขาแล่นเรือสู่อีลต์แองเกลีย ที่ซึ่งพวกเขาได้ปลงพระชนม์กษัตริย์ท้องถิ่น เอ็ดมุนด์ เวสเซ็กซ์ในตอนนั้นถูกข่มขวัญและเอเธลเร็ดกับพระอนุชา อัลเฟรด ได้ต่อสู้ในสมรภูมิที่ยาวนานต่อเนื่องกับชาวเดนท์ อิวาร์, แฮล์ฟดัน และกุธรุน ที่เรดิ้ง, แอชดาวน์ และเบซิ่ง ช่วงปีค.ศ.870-871 พวกเดนท์ชิงทรัพย์และปล้นสะดมตลอดการเดินทางออกนอกเมือง การสู้รบครั้งสำคัญครั้งต่อมาคือที่เมเรทุนในแฮมพ์เชียร์ ซึ่งเป็นสมรภูมิที่ไม่ปรากฏผลชี้ขาด เอเธลเร็ดบาดเจ็บสาหัสในสมรภูมิและสวรรคตเนื่องจากบาดแผลที่วิตแชมพ์ตัน ใกล้กับวิมบอร์น ที่ๆพระองค์ถูกฝัง

เอเธลเร็ด
เอเธลเร็ดในม้วนวงศ์วานของกษัตริย์อังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 14
กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์
ครองราชย์ค.ศ. 866–871
ก่อนหน้าเอเธลเบิร์ท
ถัดไปอัลเฟรด
ประสูติราวค.ศ.834
เวสเซ็กซ์ อังกฤษ
สวรรคต23 เมษายน ค.ศ.871
วิตช์แฮมพ์ตัน ดอร์เซ็ต
ฝังพระศพวิมบอร์น
ชายาวูล์ฟธริธ
พระราชบุตรเอเธลวาลด์
เอเธลเฮล์ม
ราชวงศ์เวสเซ็กซ์
พระราชบิดาเอเธลวูล์ฟ
พระราชมารดาออสเบอร์

พระชนม์ชีพช่วงต้น แก้

เอเธลเร็ดประสูติราวปีค.ศ.834 และเช่นเดียวกับพระราชบิดา เอเธลวูล์ฟ พระองค์เป็นชายที่ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า และถูกเลี้ยงดูมาอย่างเคารพศรัทธาในศาสนามากโดยพระราชมารดา ราชินีออสเบอร์

การขึ้นครองราชย์ แก้

เอเธลเร็ดสืบทอดแผ่นดินที่ถูกปล้นสะดมอย่างโหดเหี้ยมโดยการโจมตีของพวกไวกิ้งป่าเถื่อนที่เต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวต่อจากพระเชษฐา เอเธลเบิร์ท ในปีค.ศ.866 พวกเดนท์เริ่มลงหลักปักฐานในอังกฤษและในปีค.ศ.870 ได้ยึดเอาอำนาจควบคุมยอร์กไป เอเธลเร็ดทำการต่อสู้กับพวกเขาด้วยกองกำลังที่สร้างขึ้นมาใหม่

ครอบครัว แก้

สายสัมพันธ์ฉันท์พันธมิตรทางราชวงศ์ที่ตระกูลเวสเซ็กซ์มีกับเมอร์เซียถูกทำให้แข็งแกร่งขึ้น เบิร์กเร็ด กษัตริย์แห่งเมอร์เซียได้อภิเษกสมรสกับเอเธลสวิธ ธิดาของเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซ็กซ์ พระอนุชาของเอเธลเร็ด อัลเฟรด สร้างสายสัมพันธ์แห่งพันธมิตรขึ้นมาใหม่อีกครั้งเมื่อทรงรับญาติลำดับแรกของพระองค์ เอลสวิธ มาเป็นพระชายา ตัวเอเธลเร็ดเองอภิเษกสมรสกับวูล์ฟริด้าช่วงราวสองปีหลังจากการขึ้นเสวยราชสมบัติในบัลลังก์แห่งเวสเซ็กซ์ พวกพระองค์ให้กำเนิดโอรสสองคน เอเธลวาลด์ ที่เกิดราวปีค.ศ.868 กับเอเธลเฮล์ม ที่ไม่รู้วันเกิด

การรุกรานของไวกิ้ง แก้

ในปีก่อนการขึ้นเสวยราชสมบัติของเอเธลเร็ด กองทัพไวกิ้งขนาดใหญ่ได้ขึ้นฝั่งในอีสต์แองเกลีย ภายใต้การนำของแฮล์ฟดัน รักน่าร์สันและอิวาร์ผู้ไร้กระดูก หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็เดินทัพขึ้นนอร์ธัมเบรีย ยึดเมืองยอร์ก ตำนานวีรชนของชาวนอร์สเชื่อมโยงว่าพวกไวกิ้งต้องการเอาคืนเอลล์ ผู้นำของนอร์ธัมเบรียที่สวรรคตอย่างสยองขวัญด้วยน้ำมือของพวกเขา เพื่อแก้แค้นที่ทรงมีพระบัญชาให้โยนหัวหน้าของชนเผ่าไวกิ้ง รักน่าร์ ล็อดบร็อค ลงไปในบ่องูพิษเมื่อยี่สิบปีก่อน

ลูกชายของรักน่าร์ อิวาร์, แฮล์ฟดัน และฮิงก้า ทำการประหารเอลล์ด้วยวิธีของไวกิ้งที่รู้จักกันในชื่ออินทรีกระพือปีกหรืออินทรีเลือด ซึ่งเป็นวิธีที่เหยื่อจะถูกกดหน้าลงกับพื้นและซี่โครงจะถูกแยกออกจากกระดูกสันหลัง ซี่โครงจะถูกดึงออกมาทำให้เป็นปีกสองข้าง

พวกเดนท์ตั้งผู้ปกครองของตนเองในนอร์ธัมเบรียก่อนจะข้ามชายแดนเข้าสู่เมอร์เซีย มุ่งหน้าสู่มณฑลและยึดเมืองน็อตติ้งแฮม พระเจ้าเบิร์กเร็ดแห่งเมอร์เซียขอความช่วยเหลือจากพระญาติของพระองค์ เอเธลเร็ดและอัลเฟรด พวกพระองค์ตอบสนองด้วยความกระตือรืนร้น กรีธาทัพเข้าสู่เมอร์เซีย แต่พวกเดนท์ได้เมืองไปอยู่ในครอบครองแล้ว

ในปีค.ศ.869 กองทัพไวกิ้งที่ดูเหมือนว่าจะไม่ยอมหยุดง่ายๆเข้าสู่อีสต์แองเกลีย กษัตริย์ย่อยของมณฑล เอ็ดมุนด์ ต่อต้านพวกเขาอย่างกล้าหาญแต่ชาวอีสแองเกลียก็พ่ายแพ้และกษัตริย์ของพวกเขาถูกจับเป็นเชลยขณะกำลังหนีไปเมืองฮ็อกเซิน ในซัฟฟอล์ก ถูกล่ามโซ่และตีตรวน เอ็ดมุนด์ถูกสังหารอย่างทารุณด้วยวิถีปฏิบัติที่ป่าเถื่อน เชื่อกันว่าเขาถูกสังเวยแด่เทพเจ้าไวกิ้ง โอดิน เขาพบกับจุดจบอย่างทรงเกียรติและกล้าหาญและต่อมาได้รับการยกย่องเป็นนักบุญสำหรับความศรัทธาในคาทอลิกที่แน่วแน่ อารามราบเป็นหน้ากลอง พระถูกสังหารโหด และการปล้นสะดมขยายวงกว้าง

ในปีค.ศ.870 พวกไวกิ้งสานต่อความสำเร็จในนอร์ธัมเบรียของตน เตรียมโจมตีอาณาจักรเวสเซ็กซ์ พวกเขาเผชิญหน้ากับกองทัพของแซ็กซันภายใต้เอเธลเร็ดกับอัลเฟรดที่สมรภูมิแอชดาวน์ กองทัพของแซ็กซันปิดกั้นถนนเก่าแก่ที่ทอดลงใต้ไปบาร์กเชียร์ด้วยป้อมเนินยุคเหล็กบนเนินไวท์ฮอร์ส ตรงจุดที่ชาวแซ็กซันรู้จักในชื่อ Nachededorne หรือหนามที่เปลือยเปล่า พงศาวดารแองโกลแซ็กซัน แหล่งข้อมูลหลักของยุค อ้างว่าจุดนั้นคือแอชดาวน์ ในที่สุดเอเธลเร็ดก็ได้รับชัยชนะเหนือพวกไวกิ้งในสมรภูมิแบบยึดฐานที่มั่นอันขมขื่นและนองเลือดที่ดำเนินยาวนานถึงช่วงพลบค่ำ ทิ้งซากศพของเหล่าผู้นำไวกิ้งมากมายไว้เกลื่อนสนามรบ

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่เข้าใจกันว่าไวท์ฮอร์สความยาว 325 ฟุตถูกตัดไหล่เขาเพื่อฉลองให้กับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของเอเธลเร็ด แต่ปัจจุบันได้รู้แล้วว่ามันเก่าแก่กว่านั้น ทว่าชัยชนะครั้งนี้ไม่ได้นำมาซึ่งข้อได้เปรียบที่ยั่งยืนและความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป

การสวรรคตและการสืบสันติวงศ์ แก้

ผู้รุกรานชาวไวกิ้งจู่โจมอีกครั้ง การกระทบกระทั่งเล็กๆน้อยๆดำเนินต่อไป และสมรภูมิที่ไม่ปรากฏผลชี้ชัดคือการต่อสู้ที่บาซิ่ง เอเธลเร็ดที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจงรักภักดีจากพระอนุชา อัลเฟรด ปฏิเสธที่จะยอมจำนน ธงนกเรเวนของพวกไวกิ้งและมังกรของเวสเซ็กซ์ถูกโบกสะบัดอีกครั้งที่เมเรทุนที่เชื่อกันว่าเป็นได้ทั้งมาร์เด็นใกล้เดวิเซสหรือมาร์ตินในแฮมพ์เชียร์ ในการขัดแย้งที่ดุเดือดที่ตามมา พวกเดนท์เป็นฝ่ายชนะ เอเธลเร็ดสวรรคตหลังจากนั้นไม่นานที่วิมบอร์นจากบาดแผลที่ได้รับในสงคราม ตามที่บันทึกหนึ่งบอกมา พระองค์สวรรคตอย่างทรมาน ทรงมีพระชนมพรรษาไม่เกินสามสิบในตอนที่สวรรคตและถูกฝังใกล้วิมบอร์นมินสเตอร์

เอเธลเร็ดถูกโต้แย้งหลังจากที่ตายไปแล้วว่าไม่ใช่นักบุญ แม้พระองค์จะมีโอรสสองพระองค์แต่ก็ได้รับการสืบสันตติวงศโดยพระอนุชา อัลเฟรด ที่เป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ในฐานะมหาราช ลูกหลานของพระองค์ถูกยึดบัลลังก์ไปอีกครั้งในศตวรรษที่ 11 แฮโรลด์ที่ 2 ที่ขึ้นครองบัลลังก์ในปีค.ศ.1066 และถูกปลงพระชนม์ที่เฮสติ้งส์เป็นหลานชายของวูล์ฟน็อธ ซิลด์ ข้าราชบริพารของซัสเซ็กส์ ที่ตัวเขาเองเป็นลูกของเหลนของโอรสของเอเธลเร็ด เอเธลเฮล์ม

 แหล่งข้อมูล แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรด แห่งเวสเซ็กซ์

ก่อนหน้า พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซกซ์ ถัดไป
พระเจ้าเอเธล์เบิร์ทแห่งเวสเซ็กซ์    
กษัตริย์แห่งเวสเซกซ์
(ราชวงศ์เวสเซกซ์)

(ค.ศ. 866 – ค.ศ. 871)
  พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช