ชนเดนส์ (อังกฤษ: Danes) เป็นชนเจอร์มานิคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ของสวีเดนในปัจจุบันและเกาะของเดนมาร์กและต่อมาในคาบสมุทรจัตแลนด์ และกล่าวถึงโดยจอร์แดนนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในหนังสือ “Getica”, โดยนักปราชญ์โพรโคเพียส (Procopius) และโดยนักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์ส

ในการบรรยายถึงกลุ่มชนสแกนด์ซา (Scandza) ในสแกนดิเนเวียจอร์แดนกล่าวถึงชน “Dani” ว่าเป็นกลุ่มเดียวกับ “Suetidi” (ชนสวีด (สวีเดน) หรือ “Svitjod”?) และเป็นกลุ่มชนที่ขับไล่และยึดที่ดินของชน “Heruli”[1]

เสวน แอกเกเสน (Svend Aggesen) นักประพันธ์จากคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์แดนผู้ที่เป็นที่มาของชื่อชนกลุ่มนี้ “เดนส์”

ชนเดนส์ในบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ แก้

ชนเดนส์เริ่มเข้ามารุกรานบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ราว ค.ศ. 800 และตามมาด้วยผู้มาตั้งถิ่นฐานเป็นระลอก ๆ ที่เริ่มราว ค.ศ. 865 โดยพี่น้องฮาล์ฟดัน รากนาร์สสัน (Halfdan Ragnarsson) และไอวาร์เดอะโบนเลสส์ (Ivar the Boneless) ที่มาพำนักในช่วงฤดูหนาวที่ในบริเวณอีสต์แองเกลีย จากนั้นฮาล์ฟดันและไอวาร์ก็เดินทางขึ้นไปทางเหนือและยึดนอร์ทธัมเบรียได้ในปี ค.ศ. 867 และต่อมายอร์ค[2] ชนเดนส์รุกรานไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 853 ตามด้วยผู้ไปตั้งถิ่นฐานผู้กลืนไปกับผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมและกลายเป็นคริสต์ศาสนิกชน

กลุ่มไวกิงที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่กลุ่มทิลสเต็ด (Tilsted Clan) ผู้นำของกลุ่มนี้คือ “The Grey” เป็นหัวหน้าเผ่าคนโปรดคนหนึ่งของสเวน ฟอร์คเบียร์ด[3] กลุ่มทิลสเต็ดเป็นกลุ่มที่ในปี ค.ศ. 991 เป็นผู้นำในการการโจมตีของเดนส์ในเอสเซ็กซ์ในยุทธการมาลดอน (Battle of Maldon) ผู้หว่านล้อมให้อัครบาทหลวงซิเจอริคแห่งแคนเตอร์บรีให้ถวายคำแนะนำให้พระเจ้าเอเธลเรดจ่ายเงินให้เดนส์เป็นจำนวนหมื่นปอนด์เพื่อให้หยุดยั้งการรุกราน[ต้องการอ้างอิง].

สามปีต่อมาในปี ค.ศ. 994 สเวน ฟอร์คเบียร์ดและโอลาฟ ทริกวาสัน (Trygvason) กลับไปล้อมลอนดอนและพยายามเข้าปล้นแต่ไม่สำเร็จ ตำนานกล่าวว่าเพียงแต่เห็นเงาของทิลสเต็ดท่ามกลางกองทัพไวกิงเท่านั้นฝ่ายแองโกล-แซ็กซอนก็จ่ายค่าป้องกันไม่ให้รุกรานแก่เดนส์อีก จำนวนเงินที่ได้รับทำให้ฝ่ายเดนส์เห็นว่าการหาเงินวิธีนี้สะดวกกว่าการรุกรานให้เสียเลือดเสียเนื้อ

ทิลสเต็ดยังคงจงรักภักดีต่อสเวน ฟอร์คเบียร์ด ทิลสเต็ดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1013 หลังจากที่ล่องเรือขึ้นไปบนลำน้ำฮัมเบอร์และเทร้นท์กับสเวน ฟอร์คเบียร์ดและพระราชโอรสคนูทเพื่อเป็นการยอมรับสเวนเป็นประมุขของบริเวณเดนลอว์

อ้างอิง แก้

  1. Jordanes. Mierow (1908) (บ.ก.). Getica III (23).
  2. Flores Historiarum: Rogeri de Wendover, Chronica sive flores historiarum, p. 298-9. ed. H. Coxe, Rolls Series, 84 (4 vols, 1841-42)
  3. Chronica Sialandie

ดูเพิ่ม แก้