เอเธล์เบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์
เอเธลเบิร์ท [ภาษาอังกฤษ Aethelbert หรือ Ethelbert, ภาษาแองโกลแซ็กซัน Æþelberht] กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สามจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่ตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของชาวเวสเซ็กซ์ ช่วงสั้นๆก่อนที่เอเธลวูล์ฟจะเสด็จไปโรมในปีค.ศ. 855 เอเธลเบิร์ทได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ (จริงๆคือเคนต์, เอสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และซัสเซ็กซ์) ตำแหน่งที่พระองค์ดำรงอยู่จนถึงปี ค.ศ. 860
เอเธลเบิร์ท | |
---|---|
เอเธลเบิร์ทในม้วนวงศ์วานของกษัตริย์อังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 14 | |
กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 860–866 |
ก่อนหน้า | เอเธลบาลด์ |
ถัดไป | เอเธลเร็ด |
ประสูติ | ค.ศ. 835 เวสเซ็กซ์ อังกฤษ |
สวรรคต | ค.ศ. 866 |
ฝังพระศพ | เชอร์บอร์น |
ราชวงศ์ | เวสเซ็กซ์ |
พระราชบิดา | เอเธลวูล์ฟ |
พระราชมารดา | ออสเบอร์ |
เอเธลเบิร์ทขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์หลังการสวรรคตของพระเชษฐา เอเธลบาลด์ ช่วงรัชสมัยของพระองค์พวกเดนท์กลับมาอีกครั้ง และหลังการเสวยราชสมบัติไม่นานกองทัพชาวเดนท์ขึ้นฝั่งทั้งทางเธมส์และบนชายฝั่งทางใต้และมุ่งหน้าเข้าใกล้วินเชสเตอร์ก่อนที่กองทหารสองกองของแซ็กซันจะปราบได้ ใกล้ปลายรัชสมัยกองทัพที่ใหญ่กว่าเดิมมาถึงภายใต้การบัญชาของรักน่าร์ ล็อดบร็อค กองทัพเรือของเขาได้โจมตีชายฝั่งตะวันออกของอังกฤษ โดยเฉพาะนอร์ธัมเบรีย และในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 864 หรือ 865 พวกเขาตั้งรกรานที่ธาเน็ต แม้พวกแซ็กซันจะทำข้อตกลงกับพวกเขา แต่พวกเดนท์ก็ปล้นสะดมเคนต์ตะวันออก ก่อนจะมุ่งหน้ากลับชายฝั่งตะวันออก เอเธลเบิร์ทสวรรคตในปี ค.ศ. 866
การขึ้นครองราชย์
แก้เอเธลเบิร์ทเป็นโอรสองค์ที่สามของเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ผู้สืบเชื้อสายชาวจุ๊ท เกิดในปีค.ศ.835 เป็นพระราชนัดดาของเอ็กเบิร์ต กษัตริย์พระองค์แรกของอังกฤษ พระนามเอเธลเบิร์ทในภาษาแองโกลแซ็กซันหมายถึงขุนนางผู้สง่างาม
ในปีค.ศ.855 เอเธลเบิร์ทได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ตำแหน่งที่ตามธรรมเนียมแล้วจะมอบให้กับรัชทายาทอันดับต้นๆของบัลลังก์แห่งเวสเซ็กซ์ พระองค์อยู่ในตำแหน่งนี้ในตอนที่พระราชบิดา เอเธลวูล์ฟ ไปเยือนโรมเพื่อจาริกแสวงบุญ พระเชษฐาของพระองค์ เอเธลบาลด์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลเวสเซ็กซ์ เอเธลวูล์ฟดูเหมือนตั้งใจจะให้เอเธลเบิร์ทสร้างกิ่งก้านสาขาของกษัตริย์เวสเซ็กซ์ในเคนต์ ทว่าเมื่อเอเธลบาลด์สวรรคตในปีค.ศ.860 ความเป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ถูกส่งต่อให้กับเอเธลเบิร์ท อาจจะเพราะเอเธลเร็ดกับอัลเฟรดยังเด็กเกินไปที่จะนำประเทศเผชิญหน้ากับการโจมตีของไวกิ้ง (อัลเฟรดพระชนมายุเพียง 11 ชันษา)
พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎที่คิงสตันเหนือเธมส์ในเซอร์รีย์ ภายใต้เอเธลเบิร์ท เวสเซ็กซ์และฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งพิชิตได้กลายเป็นอาณาจักรที่เป็นเอกภาพ ไม่เหมือนกับบรรพบุรุษของพระองค์ เอเธลเบิร์ทไม่ได้แต่งตั้งสมาชิกคนอื่นในครอบครัวของพระองค์เป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนท์ นอกจากนี้กฎบัตรที่ออกในปีแรกของรัชสมัยของเอเธลเบิร์ทสะท้อนให้เห็นการรวมตัวรูปแบบใหม่ที่แปลกไปจากเดิม มันเป็นกฎบัตรฉบับแรกของกษัตริย์เวสเซ็กซ์ที่มีทั้งพยานที่เป็นชาวเวสเซ็กซ์และชาวเคนต์
พงศาวดารแองโกลแซ็กซันบรรยายรัชสมยัของเอเธลเบิร์ทไว้ว่าเป็นหนึ่งในยุคที่มีความปรองดองและสงบสุขมาก แม้ในความเป็นจริงจะมีเรื่องอื้อฉาวภายใน พวกไวกิ้งยังคงคุกคาม ไม่ประสบความสำเร็จในการโจมตีวินเชสเตอร์และปล้นสะดมไปทั่วฝั่งตะวันออกของเคนต์
การรุกรานของไวกิ้ง
แก้หลังราชาภิเษกกษัตริย์พระองค์ใหม่ การรุกรานเวสเซ็กซ์ของพวกเดนท์ที่ป่าเถื่อนเริ่มต้นอีกครั้งในแทบจะทันที การรุกรานนอร์ธัมเบรียนำทัพโดยรักน่าร์ ล็อดบร็อค พวกไวกิ้งที่โหดร้ายรุกรานปล้นชิงทรัพย์ สังหารโหด และข่มขืน กระทำการต่ำช้าสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวแซ็กซัน ทิ้งการทำลาย ความว่างเปล่า และซากปรักหักพังที่คุกรุ่นไว้ เป็นเหตุประชาชนเปล่งเสียงสวดมนต์ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามากมายหลายครั้ง "จากความเกรี้ยวกราดของชาวนอร์ธ พระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ส่งมาให้ข้า" พวกไวกิ้งที่ทำลายเวสเซ็กซ์ในตอนนั้นคือชาวเดนมาร์ก
กองทัพไวกิ้งขนาดใหญ่ขึ้นฝั่งในอีสต์แองเกลียในปีค.ศ.865 บัญชาการโดยแฮล์ฟดันและอิวาร์ผู้ไร้กระดูกที่ครั้งหนึ่งเคยขับเคลื่อนกองทัพที่อยู่เบื้องหลังการรุกรานอังกฤษของพวกไวกิ้ง
กองทัพของอิวาร์ยังคงอยู่ในอีสต์แองเกลียอยู่ระยะหนึ่ง เก็บเกี่ยวทรัพยากรจากการรุกรานครั้งสำคัญ เมืองวินเชสเตอร์ เมืองหลวงเก่าของเวสเซ็กซ์ ถูกเผาราบเป็นหน้ากลอง ในปีค.ศ.866 พวกไวกิ้งยึดยอร์ก ก่อตั้งอาณาจักรไวกิ้งของยอร์วิชในตอนเหนือของอังกฤษ แฮล์ฟดัน ลูกชายของผู้นำของไวกิ้ง รักน่าร์ ล็อดบร็อคกับแอสลัก ที่เป็นผู้บัญชาการกองทัพของไวกิ้งขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของยอร์ก
หนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญที่สุดของการรุกรานเหล่านี้คือการผนวกเวสเซ็กซ์กับเมืองขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้เข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน กฎบัตรที่ออกในช่วงปีแรกของรัชสมัยของเอเธลเบิร์ทประกอบด้วยการลงนามของทั้งฝ่ายแซ็กซันและฝ่ายเคนต์
ชัยชนะยิบย่อยเหนือไวกิ้งผู้รุกรานมาจากฝีมือของชาวแซ็กซันแห่งแฮมพ์เชียร์และบาร์กเชียร์ภายใต้ผู้นำท้องถิ่นเอเธลวูล์ฟและออสริค พวกไวกิ้งยึดครองเกาะธาเน็ตที่พวกเขาใช้เวลาในช่วงฤดูหนาวที่นั่น พวกเขาได้รับเงินเพื่อสงบศึกจากชาวเคนต์ แต่ก็ไม่รักษาข้อตกลงตามนิสัยและเริ่มปล้นสะดมอังกฤษด้วยกองกำลังที่สร้างขึ้นมาใหม่หลังจากนั้นไม่นาน
แม้พงศาวดารจะกล่าวถึงชื่อเสียงด้านความไร้พระราชอำนาจทางการทหารของเอเธลเบิร์ท แต่ไม่มีเหตุการณ์ใดในรัชสมัยสั้นๆของพระองค์ที่ถูกบันทึกไว้
การตายและการสืบทอดบัลลังก์
แก้เอเธลเบิร์ทสวรรคตในปีค.ศ.866 ตอนอายุประมาณ 35 ปี แม้พระองค์จะมีโอรส เอเธลวาลด์ และโอรสคนอื่นๆอีก แต่พระองค์ได้รับการสันตติวงศ์บัลลังก์แห่งเวสเซ็กซ์โดยพระอนุชา เอเธลเร็ด พระองค์ครองราชย์ได้เพียงห้าปี
พระศพของเอเธลเบิร์ทถูกฝังไว้ที่เชอร์บอร์นแอบบีย์ในดอร์เซ็ตเคียงข้างพระเชษฐา เอเธลบาลด์
แหล่งข้อมูล
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเจ้าเอเธล์เบิร์ทแห่งเวสเซ็กซ์
ก่อนหน้า | เอเธล์เบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์ | กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ (ราชวงศ์เวสเซ็กซ์) (ค.ศ. 860 – ค.ศ. 866) |
พระเจ้าเอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์ |