สมเด็จพระราชินีเอลสวิธแห่งกินิ (อังกฤษ: Ealhswith; อังกฤษเก่า: Ealhswið) หรือ เอลวิธา (อังกฤษ: Ealswitha) ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 852 เป็นพระราชธิดาในเอลเธรด และแอลดรอแมนแห่งกินิ ทรงอภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 868 ขณะมีพระชนมายุเพียง 16 ปี มีพระราชโอรส ธิดาหลายพระองค์หนึ่งในนั้นคือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส หลังจากการสวรรคตของพระราชสวามี ทรงบวชเป็นชีอย่างที่หญิงม่ายควรกระทำในช่วงยุโรปโบราณ ขณะมีชนมายุ 47 ปี

เอลสวิธ
สมเด็จพระราชินีแห่งเวสเซ็กส์
ครองราชย์23 เมษายน ค.ศ. 87126 ตุลาคม ค.ศ. 899
ประสูติประมาณ ค.ศ. 852
เมอร์เซีย
สวรรคต5 ธันวาคม ค.ศ. 905
พระราชสวามีสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช
พระราชบิดาอัลเทเรด มิวซิล
พระราชมารดาเอ็ดบูร์

พระองค์สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุได้ 53 ปี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 905 และฝังในเซนต์แมรี แอบเบย์,วินเชสเตอร์

ประวัติ แก้

อีลสวิธเป็นธิดาของเอเธล์เรด มูซิล ขุนนางเมอร์เซียตะวันออกซึ่งอัซเซอร์ ผู้เขียนอัตชีวประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดเล่าว่าเป็นอีลดอร์แมนแห่งไกนีซึ่งตั้งอยู่แถวเมืองเกนส์โบโรในมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ชาวไกนีอาจเป็นชนเผ่าเมอร์เซียโบราณ มารดาของอีลสวิธเป็นนักปราชญ์ชื่ออีดเบอร์ซึ่งเป็นที่รู้จักในราชสำนัก

ในปี ค.ศ. 868 ขณะเจ้าชายอัลเฟรดกับพระเชษฐา คือ พระเจ้าเอเธล์เรด ออกทำศึกขับไล่ชาวไวกิงออกจากอังกฤษ พระเจ้าเบอร์เรดแห่งเมอร์เซียถูก "มหากองทัพ" ของชาวสแกนดิเนเวียรุกราน กองทัพดังกล่าวได้ตั้งค่ายที่พักบริเวณใกล้เมืองนอตทิงแฮม พระเจ้าเบอร์เรดส่งสาส์นถึงเจ้าชายอัลเฟรดและพระเจ้าเอเธล์เรดเพื่อขอให้มาช่วยต่อสู้ เจ้าชายอัลเฟรดกับพระเจ้าเอเธล์เรดจึงนำทัพออกเดินทางมานอตทิงแฮมเพื่อปิดล้อมค่ายของชาวไวกิง การเดินทางมาในครั้งนี้ทำให้เจ้าชายอัลเฟรดได้เจอกับอีลสวิธ ทั้งคู่ได้สมรสกันเพื่อผนึกความเป็นพันธมิตรระหว่างเวสเซ็กซ์กับเมอร์เซีย

พิธีสมรสของอีลสวิธกับเจ้าชายอัลเฟรดถูกจัดขึ้นในเมืองเกนส์โบโร งานเฉลิมฉลองชะงักกลางคันเมื่อเจ้าชายอัลเฟรดมีอาการป่วย สันนิษฐานว่าพระองค์น่าจะป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารซึ่งจะกลายเป็นโรคประจำตัวของพระองค์

ในปี ค.ศ. 871 เจ้าชายอัลเฟรดได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ต่อจากพระเจ้าเอเธล์เรดผู้เป็นพระเชษฐา อีลสวิธกับพระเจ้าอัลเฟรดมีพระราชบุตรที่รอดชีวิต 5 คน ทั้งคู่อาจมีพระราชบุตรมากกว่านั้นแต่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ยังเป็นทารก พระราชบุตรทุกคนของทั้งคู่ได้รับการศึกษาเนื่องจากพระเจ้าอัลเฟรดทรงสนับสนุนการศึกษาอย่างมาก พระราชบุตรของทั้งสองพระองค์ ได้แก่

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 878 กุนทรัมได้นำกองทัพไวกิงเข้าโจมตีพระราชวังของพระเจ้าอัลเฟรดในเมืองชิปเปอแนมอย่างไม่มีใครคาดคิด พระเจ้าอัลเฟรดพาอีลสวิธและครอบครัวหนีไปอยู่ที่เกาะร้างอาเธล์นีย์ในมณฑลซัมเมอร์เซตและอาศัยอยู่ที่นั่นสี่เดือน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 878 พระเจ้าอัลเฟรดคว้าชัยชนะเหนือชาวไวกิงในยุทธการที่เอดิงตัน พระองค์บีบให้กุนทรัมเข้ารับการทำพิธีศีลล้างบาปเป็นคริสตศาสนิกชนและได้ตกลงสนธิสัญญาสันติภาพร่วมกัน คือ สนธิสัญญาเวดมอร์ซึ่งได้ลากเส้นแบ่งเขตราชอาณาจักรของพระเจ้าอัลเฟรดและดินแดนในการยึดครองของกุนทรัมทางตอนเหนือของอังกฤษหรือเดนลอว์

พระเจ้าอัลเฟรดสวรรคตในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 899 ในพินัยกรรมพระองค์ได้แบ่งสรรเงินสดจำนวน 40 ปอนด์กับที่ดินขนาดใหญ่สองแห่งในมณฑลบาร์กเชอร์ คือ หมู่บ้านแลมบอร์น และเมืองวานทิจซึ่งเป็นเมืองเกิดของพระองค์ รวมถึงที่ดินส่วนพระองค์ในเอดิงตันที่ทรงคว้าชัยเหนือกุนทรัมให้แก่อีลสวิธ ร่างของพระเจ้าอัลเฟรดถูกฝังไว้ที่วิหารเก่าในเมืองวินเชสเตอร์

อีลวิธถึงแก่กรรมหลังพระเจ้าอัลเฟรดสามปี พระนางถึงแก่กรรมในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 902 ร่างของพระนางถูกฝังเคียงข้างพระเจ้าอัลเฟรดที่วิหารเก่าในเมืองวินเชสเตอร์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระราชโอรสผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าอัลเฟรดได้สานต่อโครงการก่อสร้างวิหารใหม่ในเมืองวินเชสเตอร์ของพระราชบิดาจนสำเร็จ พระองค์ได้นำกระดูกที่เหลือของพระราชบิดาและพระมารดาไปฝังที่วิหารใหม่ดังกล่าว

ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ อีลสวิธมุ่งมั่นกับการก่อตั้งสำนักชี (วิหารเซนต์แมรี) ในเมืองวินเชสเตอร์ พระนางอาจบริจาคที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งและมีส่วนร่วมในสี่ขั้นตอน ได้แก่ การก่อสร้างตัวอาคาร, การจัดหาแม่ชีมาประจำวิหาร, การทำพิธีแต่งตั้งพระอธิการิณีคนแรกชื่อเอเธล์ธริธ และการจัดหาทุนทรัพย์ แต่พระนางถึงแก่กรรมก่อนที่โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส โอรสของพระนางสานต่อการก่อตั้งอารามจนสำเร็จและอุทิศเจ้าหญิงอีดเบอร์ พระราชธิดาให้เป็นแม่ชีประจำวิหาร


อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้