พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 — 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เป็นต้นราชสกุล อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา พระองค์เป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์ที่สองต่อจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร และเป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 3
เจ้าฟ้าชั้นตรี
ประสูติ23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363
สิ้นพระชนม์29 ตุลาคม พ.ศ. 2404 (40 ปี)
พระบุตร26 องค์
ราชสกุลอิศรศักดิ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พระมารดาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 12 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เมื่อแรกประสูติมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระองค์เจ้า ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์เจ้าอิศราพงศ์ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ เกวลวงษวิสุทธิ์ สุรสีหุตมศักดิ์ อภิลักษณ์ปวโรภยชาติ บริสัษยนารถนราธิบดี[1] เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถือเป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์ที่สองต่อจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร ซึ่งเจ้าฟ้าอิศราพงศ์เป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี[2] และทรงเป็นเจ้านายพระองค์เดียวที่เป็นพระราชนัดดาของทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลานปู่) และ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (หลานตา)

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404 พระชันษา 40 ปี[3] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายถึงพระอาการประชวรของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ในพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ความว่า "...เจ้าฟ้าอิศราพงศ์เมื่อณวันจันทร์แรมสองค่ำเดือนสิบเอ็ด ได้ไปตามกระหม่อมฉันทอดกระฐินวัดบวรนิเวศ ที่แก้มของเธอข้างขวาเปนเมล็ดขึ้นมาแต่เมื่อไรไม่ทราบ เธอสำคัญว่าเปนสิว เธอบีบดังอาการเธอบีบสิว ก็ให้ปวดอักเสบบวมตั้งแต่หน้าตลอดลงมาถึงหน้าท้อง กรมนรานุชิตเสดจไปประทานยารักษา ครั้นอาการไม่ถอย ใช้ยาหมอบ้าง พระสงฆ์บ้าง กินแลทาแก้ไขไปหลายหมอ ที่บวมนั้นค่อยย่อมลง ครั้นณวันอาทิตย์แรมแปดค่ำเดือนสิบเอ็ดเวลากลางคืน พิศม์วรรณโรคนั้นกลับเข้าทำข้างใน ให้จุกเสียดบิ์ดอุจจาระปัสสาวะ มาจนวันอังคารแรมสิบค่ำเดือนสิบเอ็ดเวลาสี่โมงเช้าก็สิ้นชีวิตร กระหม่อมฉันได้ขึ้นไปอาบน้ำศพแล้วได้รับประทานจัดไว้ศพในโกษฐ์ตั้งไว้ที่บ้านของเธอ..."[4] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุผ้าขาว วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404[5]

พระโอรสธิดา

แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ มีพระโอรสธิดารวม 26 องค์ มีรายพระนามดังต่อไปนี้

  1. หม่อมเจ้าหญิงตะเภา
  2. หม่อมเจ้าหญิงจ้อย (สิ้นชีพิตักษัย 11 สิงหาคม พ.ศ. 2440 พระราชทานเพลิง ณ วัดชนะสงคราม เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
  3. หม่อมเจ้าหญิงแดง
  4. หม่อมเจ้าหญิงจริต
  5. หม่อมเจ้าชายกบ (สิ้นชีพิตักษัย 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2443)[6]
  6. หม่อมเจ้าหญิงอึ่ง
  7. หม่อมเจ้าหญิงดำ
  8. หม่อมเจ้าหญิงปุก เป็นพระชายาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าอรรคนารี
  9. หม่อมเจ้าหญิงนกกระจาบ
  10. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก
  11. หม่อมเจ้าชายทั่ง (พ.ศ. 2381 — 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ ปี พ.ศ. 2465)
  12. หม่อมเจ้าชายถึก
  13. หม่อมเจ้าชายเข็ม (พ.ศ. 2387 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2431) มีโอรส คือ
    1. พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
    2. หม่อมนิวัทธอิศรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์พยอม อิศรศักดิ์)
  14. หม่อมเจ้าชายพุก
  15. หม่อมเจ้าชายหอบ (พระราชทานเพลิง ณ วัดดุสิดาราม พ.ศ. 2411)
  16. หม่อมเจ้าชายตุ้ย
  17. หม่อมเจ้าชายเปียก (พ.ศ. 2390 — 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2435) มีโอรส คือ
    1. หม่อมอนุวงศ์วรพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์สำเริง อิศรศักดิ์)
  18. หม่อมเจ้าหญิงปนปรุง บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงปุ้ย (พ.ศ. 2391 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2459 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2460)
  19. หม่อมเจ้าชายโศภณ
  20. หม่อมเจ้าหญิงกาษร (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2401 — 27 ตุลาคม พ.ศ. 2467 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2468)
  21. หม่อมเจ้าชายราเชนทร์ (พ.ศ. 2402 — 7 มกราคม พ.ศ. 2470)
  22. หม่อมเจ้าชายบันลังก์ (พ.ศ. 2402 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2428 พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2434)
  23. หม่อมเจ้าชายต่อม
  24. หม่อมเจ้าหญิงเลื่อน[7] (พ.ศ. 2404 — 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428)
  25. หม่อมเจ้าหญิงเจียน (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458)
  26. หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง (พระราชทานเพลิงพร้อมหม่อมเจ้าหญิงเจียน)

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 — พ.ศ. 2367 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศราพงศ์
  • พ.ศ. 2367 — พ.ศ. 2394 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศราพงศ์ [8][9]
  • พ.ศ. 2394 — 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
  • สมัยรัชกาลที่ 5 : พระเจ้าบวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
  • สมัยรัชกาลที่ 6 : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ฯ, หน้า 123
  2. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 226. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
  3. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ กรมศิลปากร ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์ครั้งที่ 4; กรุงเทพฯ, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์: 2554
  4. เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 31-32.[ลิงก์เสีย]
  5. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4, หน้า 220.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 เล่ม 17 หน้า 46
  7. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (49): 435. 22 ธันวาคม พ.ศ. 2427. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  9. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 229