พระองค์เจ้ามาลิกา ยุคันธร

พระองค์เจ้ามาลิกา ยุคันธร[1] (เขมร: ព្រះអង្គម្ចាស់ នរោត្ដម ម៉ាលីកា យុគន្ធរ; ส่วนพระองค์สะกดว่า ยุคุนธร; พ.ศ. 2414 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2494)[2] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ประสูติแต่นักนางพยาม[3] หรือพยู[4] (บางแห่งว่าชื่อ แญก นู)[2] และเป็นพระชายาในพระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธร (หรือ ยุคุนธร) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ประสูติแต่พระนางจอมผลทิพสุดาจันทร์ พระสนมเอก[5] ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา ประสูติพระโอรส-ธิดาด้วยกันสี่พระองค์[6] พระธิดาสองพระองค์ประกอบกิจเป็นครู พระองค์หนึ่งเป็นครูโรงเรียนโรดม และอีกพระองค์หนึ่งเป็นครูโรงเรียนมาลิกา[7] ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์เจ้าปิงเปียง ยุคันธร ซึ่งเป็นพระธิดาพระองค์หนึ่ง ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของกัมพูชาในการประชุมสมัชชาสหภาพฝรั่งเศสในกรุงปารีส ก่อนถูกเลือกให้เป็นรองประธานสมัชชาดังกล่าวใน พ.ศ. 2492[8] ในหนังสือ ถกเขมร ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวถึงพระธิดาอีกองค์ คือ พระองค์เจ้าเป็งป็อก ยุคันธร ทรงดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของกัมพูชา[9]

มาลิกา ยุคันธร
พระองค์เจ้า
ประสูติพ.ศ. 2414
พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล พนมเปญ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์18 มีนาคม พ.ศ. 2494
พระภัสดาพระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธร (พ.ศ. 2434–2477)
พระบุตร4 พระองค์
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
พระมารดานักนางพยาม (หรือ แญก นู)
ศาสนาพุทธ
ลายพระอภิไธย

พระองค์เจ้ามาลิกาสามารถตรัสและเขียนภาษาไทยได้ดีเช่นเดียวกับพระธิดาพระองค์เล็กซึ่งเข้าไปศึกษาในกรุงเทพมหานคร จากเดิมที่ตรัสภาษาไทยไม่ได้ทั้งสองพระองค์[7] ทรงสนิทสนมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาตั้งแต่ครั้งยังประทับอยู่ในกรุงเทพมหานคร[10] พระองค์เจ้ามาลิกาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีกัมพูชายุคใหม่[3] ทรงตั้งโรงเรียนเอกชนสำหรับสตรีภายในพระตำหนักส่วนพระองค์ ใช้ชื่อว่า โรงเรียนมาลิกา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2454[4] มีนักเรียนจำนวน 50 คน เปิดสอนวิชาภาษาเขมร ภาษาฝรั่งเศสขั้นพื้นฐาน และวิชาเย็บปักถักร้อย โดยมีพระธิดาพระองค์หนึ่งเป็นครูสอนในโรงเรียนดังกล่าว[7] ในช่วงปลายพระชนม์ชีพพระองค์เจ้ามาลิกาได้รับการสถาปนาให้มีพระอิสริยยศสูงขึ้น มีพระนามว่า สมเด็จสว่างวัฒนา[11]

พระองค์เจ้ามาลิกา ยุคันธร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2494[2]

อ้างอิง แก้

  1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ. กัมพุชบรรณ เล่ม 1 แบบเรียนภาษาเขมร. พระองค์เจ้ามาลิกา ยุคันธร แจกในการพระศพ พระองค์เจ้ายุคันธรแห่งกรุงกัมพูชาธิบดี ณ วัดมงกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2477. พระนคร : จิตรวัฒนา, 2477, หน้า ข
  2. 2.0 2.1 2.2 "The Varman Dynasty Genealogy (12)". Royal Lark. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 Tham Seong Chee. Essay on Literature and Society in Southeast Asia. Singapore : Singapore University Press, 1981, p. 74
  4. 4.0 4.1 Trudy Jacobson (2008). Lost goddesses : the denial of female power in Cambodian history (PDF). Copenhagen: NIAS Press. p. 165.
  5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ. กัมพุชบรรณ เล่ม 1 แบบเรียนภาษาเขมร. พระองค์เจ้ามาลิกา ยุคันธร แจกในการพระศพ พระองค์เจ้ายุคันธรแห่งกรุงกัมพูชาธิบดี ณ วัดมงกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2477. พระนคร : จิตรวัฒนา, 2477, หน้า ก
  6. "The Varman Dynasty Genealogy (9)". Royal Lark. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "นิราสนครวัด (๘ อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งหลัง)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Paul Preston and Michael Partridge. British document on foreign affair–reports and papers from the Foreign Office confidential print. Part IV, From 1946 through 1950 Series E, Asia, 1950. University Publications of America, 2003, p. 66
  9. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ถกเขมร (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : ดอกหญ้า 2000. 2556, หน้า 157
  10. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "นิราสนครวัด (๓ อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งแรก)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ถกเขมร (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : ดอกหญ้า 2000. 2556, หน้า 156