สารตราทอง
สารตราทอง[1] (อังกฤษ: Golden Bull หรือ Golden Baal) หมายถึงสารตราสีทองที่ประทับในพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และต่อมาโดยพระมหากษัตริย์ในยุโรปในระหว่างยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (หรือ “bulla aurea” หรือ “ตราทอง” ในภาษาละติน)
“สารตราทอง” เป็นวลีที่ใช้ในยุโรปตะวันตก ส่วนในจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เรียกว่า “chrysobullos logos” หรือ “chrysobulls” (χρυσός หรือ “chrysos” ในภาษากรีกแปลว่า “ทอง”)
“สารตราทอง” เป็นพระราชบัญญัติที่ประกาศใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกือบแปดร้อยปี และเป็นการออกโดยฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงหน้าที่การรับผิดของฝ่ายที่มีผลต่อ ซึ่งเป็นการทำให้ความมีประสิทธิภาพของอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนลงไปในสายตาของประเทศอื่น ฉะนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 จักรวรรดิไบแซนไทน์จึงพยายามแสวงหาความตกลงจากฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะออกมาเป็นพระราชบัญญัติ[ต้องการอ้างอิง]
พระมหากษัตริย์อื่น ๆ ในยุโรปก็นำความคิดนี้ไปใช้แต่ในบางโอกาสเท่านั้น สารตราทองที่ไม่ได้ออกโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์ทำให้พระราชบัญญัติมีน้ำหนักมากกว่าพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่ออกตามปกติ
สารตราทองที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- สารตราทอง ค.ศ. 1136 ออกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2 ที่รู้จักกันในชื่อ “พระบัญญัติกนิเอซโน” (Bull of Gniezno)
- สารตราทองแห่งซิซิลี (Golden Bull of Sicily) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1212
- สารตราทอง ค.ศ. 1213 (Golden Bull of 1213) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1213
- สารตราทอง ค.ศ. 1214 (Golden Bull of 1213) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1214 ยกดินแดนเยอรมันตอนเหนือของแม่น้ำเอลเบ และเอลเดให้แก่สมเด็จพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
- สารตราทอง ค.ศ. 1222 (Golden Bull of 1222) ออกโดยสมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ที่ยอมรับสิทธิของขุนนาง ซึ่งเป็นการถูกบังคับในทำนองเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษทรงถูกบังคับให้ลงพระนามในมหากฎบัตร
- สารตราทอง ค.ศ. 1224 (Golden Bull of 1224) ออกโดยสมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ในการมอบสิทธิบางอย่างให้แก่ชาวแซ็กซอนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในทรานซิลเวเนีย
- สารตราทองแห่งรีมีนี (Golden Bull of Rimini) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1226
- สารตราทองแห่งแบร์น (Golden Bull of Berne) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1218 แต่ปัจจุบันกล่าวว่าเป็นพระราชบัญญัติปลอม
- สารตราทอง ค.ศ. 1267 (Golden Bull of 1267) ออกโดยสมเด็จพระเจ้าเบลาที่ 4 แห่งฮังการี
- สารตราทอง ค.ศ. 1348 (Golden Bull of 1348) ออกโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งโบฮีเมีย (สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) เพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยชาร์ลส์แห่งปราก
- สารตราทอง ค.ศ. 1356 (Golden Bull of 1356) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[2] ที่อาจจะเป็นพระราชบัญญัติทองฉบับที่สำคัญที่สุดที่ออกในการประชุมสภาแห่งเนิร์นเบิร์ก (Diet of Nuremberg) ที่วางโครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้กันต่อมาถึงกว่าสี่ร้อยปี
- สารตราทอง ค.ศ. 1702 (Golden Bull of 1702) ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในการก่อตั้ง “สถาบันเลโอโปลด์” ในเบรสเลาเมืองหลวงของไซลิเซีย ที่ต่อมาคือมหาวิทยาลัยเบรสเลา