พระราชกฤษฎีกาน็องต์

พระราชกฤษฎีกาน็องต์ (ฝรั่งเศส: Édit de Nantes) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทรงตราขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1598 เพื่อให้ชาวโปรเตสแตนต์แบบคาลวิน (หรือที่เรียก อูว์เกอโน) มีสิทธิสำคัญบางประการในประเทศที่โดยเนื้อแท้แล้วยังถือเป็นคาทอลิกอยู่ ในพระราชกฤษฎีกานี้ พระเจ้าอ็องรีมีพระราชประสงค์เบื้องต้นที่จะทรงส่งเสริมความสามัคคีของชนในชาติ[1] โดยพระราชกฤษฎีกาได้แยกฝ่ายอาณาจักรออกจากศาสนจักร และให้ปฏิบัติกับชาวโปรเตสแตนต์อย่างมีสถานะมากกว่าพวกเดียรถีย์และมิจฉาทิฐิเป็นครั้งแรก กับทั้งส่งเสริมให้ลัทธิฆราวาสนิยมมีที่ในสังคมและส่งเสริมความอดทนอดกลั้นมากขึ้น และเพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพในการคิด พระราชกฤษฎีกาจึงมีการผ่อนปรนหลายประการต่อชาวโปรเตสแตนต์ เป็นต้นว่า ประทานอภัยโทษ และคืนสิทธิพลเมืองให้ ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะทำงานในที่ดินใด ๆ หรือที่จะทำงานราชการ ตลอดทั้งสิทธิที่จะถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง เป็นเหตุให้สิ้นสงครามศาสนาที่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศฝรั่งเศสมาตลอดช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16

พระราชกฤษฎีกาน็องต์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1598

อย่างไรก็ดี พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระราชนัดดาพระเจ้าอ็องรีที่ 4 ได้ทรงยกเลิกพระราชกฤษฎีกาน็องต์เสียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1685 ส่งผลให้ชาวโปรเตสแตนต์ต้องอพยพลี้ภัย และทวีความเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศโปรเตสแตนต์ทั้งหลายที่อยู่รายรอบฝรั่งเศสด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. In 1898 the tricentennial celebrated the Edict as the foundation of the coming Age of Toleration; the 1998 anniversary, by contrast, was commemorated with a book of essays under the evocatively ambivalent title, Coexister dans l'intolérance (Michel Grandjean and Bernard Roussel, editors, Geneva, 1998).

ดูเพิ่ม

แก้