พระยาพลพรรคภิบาล (น้อม ศาตะมาน)

พลตำรวจตรี พระยาพลพรรคภิบาล (น้อม ศาตะมาน) (30 มิถุนายน 2419 – 23 พฤษภาคม 2473)[1] เป็นอดีตนายตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนที่ 2 ระหว่างปี 2472 – 2473 และเป็นต้นตระกูลศาตะมาน โดยเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 2489 ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2458[2]

พระยาพลพรรคภิบาล
เกิด30 มิถุนายน พ.ศ. 2419
เสียชีวิต23 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 (53 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตเส้นประสาทพิการ
ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

ประวัติ แก้

พลตำรวจตรี พระยาพลพรรคภิบาล เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2419 เป็นบุตรชายของ ขุนมรัสตานุการ (สาตร์ ศาตะมาน) กับนางปริก ศาตะมาน ปู่ชื่อ พระประธานเพ็ชร์ (มี ศาตะมาน) มีพี่ชายที่รับราชการเช่นกันคือ นายพันตำรวจตรี หลวงอารีราษฎร์ (ชม ศาตะมาน)[3]

รับราชการ แก้

พระยาพลพรรคภิบาลเริ่มต้นรับราชการในตำแหน่ง เสมียนกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ เมื่อปี 2435 ก่อนโอนย้ายมารับราชการเป็นเสมียนประจำที่ว่าการกรมกองตระเวน เมื่อปี 2437 กระทั่งปี 2447 จึงได้ขึ้นเป็นสารวัตรใหญ่[4] จากนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2448 ท่านได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพลพรรคภิบาล ถือศักดินา 600[5] ต่อมาในปี 2450 ได้ย้ายไปรับราชการเป็นปลัดกรมที่กองตระเวนสรรพากร แผนกกองอากร[6]

จากนั้นในปี 2452 ท่านจึงได้กลับมารับราชการที่กรมกองตระเวน แผนกกองตระเวนชั้นใน ในตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจสายลำน้ำ (ต่อมาคือตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายลำน้ำ)[7] ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2457 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม ถือศักดินา 800[8] ในวันที่ 3 มิถุนายน 2458 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ท่านเป็น อำมาตย์เอก พระพลพรรคภิบาล[9] และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2458[10]

ต่อมาในวันที่ 17 มกราคม 2458 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมกองตระเวนเป็นกรมตำรวจพระนครบาล พร้อมกับเปลี่ยนยศขุนนางข้าราชการในกรมตำรวจพระนครบาลจากยศฝ่ายพลเรือนเป็นยศตำรวจตามยศเดิมคือ รองอำมาตย์ เป็น นายร้อยตำรวจ, อำมาตย์ เป็น นายพันตำรวจ และมหาอำมาตย์ เป็น นายพลตำรวจ ทำให้ท่านเปลี่ยนยศกลายเป็น นายพันตำรวจเอก พระพลพรรคภิบาล[11] ในวันที่ 13 ธันวาคม 2459 ท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในนามเดิม ถือศักดินา 1000[12] และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2460[13]

ในวันที่ 22 มกราคม 2466 ท่านได้ย้ายไปรับตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายบางรัก แทน นายพันตำรวจเอก ซีซิล บีเดล ฟอลเล็ต ที่ขยับไปรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[14] ต่อมาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2469 ท่านได้ย้ายไปรับตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายพระนคร[15] จากนั้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2472 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแทนที่นายพลตำรวจตรี พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) ที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร[16] ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจตรี พร้อมกับพระยาอธิกรณ์ประกาศ ที่ได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจโท[17] หลังจากที่ท่านถึงแก่กรรมเมื่อกลางปี 2473 ในช่วงปลายปีได้มีการแต่งตั้งให้ นายพันตำรวจเอก พระยาอาษาพลนิกร (อึ่ง อรรถจินดา) ผู้บังคับการตำรวจนครบาลสายพระนคร[18] (ต่อมาได้รับพระราชทานยศ นายพลตำรวจตรี[19]) ซึ่งรักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[20] เป็น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คนใหม่[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวตาย
  2. นามสกุลพระราชทาน
  3. ข่าวตาย (หน้า 2099–2100)
  4. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล
  5. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  6. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล (หน้า 187)
  7. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล (หน้า 1699)
  8. ตั้งและเลื่อนยศบรรดาศักดิ์
  9. พระราชทานยศ
  10. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  11. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนนามกรมพลตระเวนและเปลี่ยนยศข้าราชการในกรมพลตระเวน
  12. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  13. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  14. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและตั้งผู้บังคับการตำรวจนครบาล
  15. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจ
  16. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลดและตั้งผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร
  17. พระราชทานยศพลเรือน
  18. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ย้าย และตั้งนายตำรวจชั้นผู้บังคับการ
  19. พระราชทานยศ
  20. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและย้ายข้าราชการตำรวจ
  21. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๔, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๙๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๔, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๗๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๕๗