พระยาคำแหงพระราม
พระยาคำแหงพระราม ทรงเป็นเจ้าเมืองสรลวงสองแคว ซึ่งในจารึกวัดศรีชุมยืนยันได้ว่า ทรงมีการสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเครือญาติ และเป็นพระบิดาใน พระมหาเถรศรีศรัทธา[1]
พระยาคำแหงพระราม | |
---|---|
เจ้าเมืองสรลวงสองแคว | |
รัชกาลก่อนหน้า | ไม่ทราบ |
รัชกาลถัดไป | ไม่ทราบ |
พระราชบุตร | พระมหาเถรศรีศรัทธา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม |
พระราชบิดา | พ่อขุนผาเมือง |
พระยาคำแหงพระรามเป็นพระโอรสของพ่อขุนผาเมือง[2][3][4] เจ้าเมืองราด และเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพ่อขุนศรีนาวนำถม[5][6]
ศึกกับล้านนา
แก้ประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๓ พระยาคำฟูแห่งอาณาจักรล้านนาได้พยายานยกทัพมาตีเมืองแพร่และเมืองตาก ซึ่งเป็นของสุโขทัย ซึ่งแม่ทัพในศึกคราวนี้ก็คือ ขุนจัง ขุนจังได้มาท้าชนช้างกับพระยาคำแหงพระราม แต่เนื่องจากพระยาคำแหงพระรามทรงชราภาพมากแล้ว จึงขอแลกหมอนแพรแทนการชนช้าง (เป็นสัญลักษณ์ของการยอมแพ้) ปรากฎในศิลาจารึกซึ่งมีอักษรชำรุดได้ความไม่ติดต่อกัน ความว่า[7]
"...ขุนจัง- -ทายพระยาคำแหง- - - - - - - -พระยาคำแหงพระราม- - - -จัดแลกหมอนแพรแทน- - - - - - -ดังอั้น เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามุนีนั้นเจ็บใจต่างพ่อตนหนักหนาเสมอดังเอาค้อน ตีหางนาคราชนั้น..."
ท่านศรีศรัทธา(ต่อมาคือพระมหาเถรศรีศรัทธา) จึงได้ขอออกไปชนช้างกับขุนจังแทน และสามารถเอาชนะขุนจังได้
พระราชโอรส
แก้พระยาคำแหงพระรามมีพระราชโอรสพระองค์เดียวคือ[8]
- พระมหาเถรศรีศรัทธา (พระนามเดิม: เจ้าศรีศรัทธา หรือ เจ้าราชกุมาร)[9] ประสูติประมาณพ.ศ. ๑๘๕๘ ที่เมืองสรลวงสองแคว (เมืองพิษณุโลก)[10]
-
ภาพวาดตัวละครพระยาคำแหงพระราม จากหนังสือการ์ตูนเรื่อง พระมหาเถรศรีศรัทธา
อ้างอิง
แก้- ↑ "จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ ๑". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 17 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2019.
- ↑ วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. (2530). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 775 หน้า. หน้า 77. ISBN 978-974-5989-65-8
- ↑ ประเสริฐ ณ นคร, ศุภวัฒย์ เกษมศรี, ม.ร.ว., และพิริยะ ไกรฤกษ์. (2533). คําอภิปรายเรื่อง ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1. กรุงเทพฯ : สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. 91 หน้า. หน้า 19. ISBN 978-974-8298-21-4
- ↑ บังอร ปิยะพันธุ์. (2538). ประวัติศาสตร์ไทย: การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์กับต่างประเทศก่อนสมัยสุโขทัยจนถึง พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. 313 หน้า. หน้า. 77. ISBN 978-974-2772-28
- ↑ ศิลาจารึกหลักที่ 2.
- ↑ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารประวัติศาสตร์. (2004), 38.
- ↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (กรมศิลปากร) และคณะ. (2545). หาพระหาเจ้า : รวมบทความทางวิชากรเกี่ยวกับความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมของโบราณวัตถุและโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : มติชน. 200 หน้า. หน้า 171. ISBN 978-974-3226-13-7
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ. ศิลปวัฒนธรรม. 10 (7-10, 2532), ไม่ปรากฎเลขหน้า.
- ↑ สารานุกรมสุโขทัยศึกษา เล่มที่ 2. จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลสมัย ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี. นนทบุรี : โครงการศูนย์สุโขทัยศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539. หน้า 49. ISBN 978-974-6149-37-2
- ↑ สมพงษ์ เชาวน์แหลม. ( 2530). กู..ศรีศรัทธา. สมุทรสาคร : สวนอักษร สาครบุรี. 106 หน้า. หน้า 32.